++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ทำอย่างไรกับเจ้าหนูทำไม/สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน

ทำอย่างไรกับเจ้าหนูทำไม/สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน
โดย สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน


ผู้ ที่ผ่านการเป็นพ่อแม่มาแล้ว คงจำกันได้ดีว่า
ลูกของเราเคยเป็นเจ้าหนูทำไม และมีคำถามมากมายที่ถามเราได้ทุกวัน
บางวันก็หลายเวลา แล้วคำถามที่ว่าก็ประเภทผู้ใหญ่อย่างเราตอบได้บ้าง
ตอบไม่ได้บ้าง หรือตอบไม่ถูกบ้าง ฯลฯ
จนกลายเป็นหัวข้อฮอตฮิตที่สุดของคนเป็นพ่อแม่ที่นำมาเมาท์เรื่องลูกระหว่าง
กัน

แล้วคุณเคยรู้สึกตอบไม่ถูกเวลาถูกลูกถามหรือเปล่า
แล้วเคยสงสัยไหมว่าทำไมลูกเราถึงสงสัยอะไรได้ทุกเรื่องขนาดนี้ ทั้งๆ ที่
บางครั้งเราก็เพิ่งตอบไป แต่ลูกก็ยังถามต่อได้อีก

แล้วเมื่อลูกถามบ่อยๆ เข้า คุณพ่อคุณแม่ตอบลูกอย่างไร ?

"เลิกถามได้แล้วลูก" "พ่อแม่ก็ไม่รู้เหมือนกัน" "ทำไมลูกถามเยอะจัง"

หรือ ทำเป็นเฉยๆ ไม่ตอบซะงั้น หรือ ตอบแบบตั้งใจทุกครั้ง
และยังชวนลูกคิดต่อจากคำถามที่ว่าด้วยฯลฯ คุณรู้หรือไม่ว่า
การถามของเด็กและการตอบของพ่อแม่ จะส่งผลยิ่งใหญ่แค่ไหนกับลูก

ก่อนอื่นมารู้จักธรรมชาติของเจ้าหนูทำไมกันก่อนเจ้าหนูทำไมส่วนใหญ่
จะอยู่ระหว่างวัย 2-6 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เด็กอยากรู้อยากเห็น
เพราะเป็นวัยที่เริ่มมีคำคลังในสมองมากพอสมควร พูดเป็นประโยคได้คล่อง
และต้องการเรียนรู้ทำความรู้จักสิ่งใหม่ต่างๆ รอบตัวอยู่ตลอดเวลา

การถามในสิ่งที่อยากรู้ จึงเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กวัยนี้
สิ่งที่พ่อแม่ควรจะใส่ใจ คือ การตอบคำถาม ซึ่งสามารถไขข้อข้องใจ
และสามารถต่อยอดสิ่งที่ลูกอยากรู้ต่อไปได้ด้วย สิ่งสำคัญคือ
พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กอย่าแสดงพฤติกรรมในการตอบคำถามแบบขอไปที
หรือมีท่าทีในการตำหนิเด็กเวลาเด็กถาม เพราะจะทำให้เขาหมดความมั่นใจ
ไม่อยากตั้งคำถามอีก เท่ากับเป็นตัดโอกาสในการเรียนรู้ของเด็ก

จริงอยู่ว่าการถามของเด็กวัยนี้
หลายคำถามอาจทำให้ผู้ใหญ่หลายคนรำคาญใจ เพราะบางทีก็ไม่รู้จะตอบอย่างไร
หรือบางครั้งก็รู้สึกว่าทำไมลูกถามอะไรซ้ำๆ ทั้งๆ ที่ตอบไปแล้ว จริงๆ
มีสาเหตุค่ะ

หนึ่ง - เขาอยากรู้จริงๆ
เป็น ธรรมดาเมื่อไม่รู้ก็ต้องถาม
และคนที่ลูกไว้วางใจที่สุดและเป็นฮีโร่ของเขามากที่สุดในวัยนี้ก็คือพ่อแม่
หรือผู้ใกล้ชิดเด็ก ฉะนั้น เขาจึงต้องถามพ่อแม่ หรือคนที่เขาไว้วางใจ
และเขาก็ปรารถนาที่จะได้รับคำตอบชนิดที่ไขข้อข้องใจได้
เขาจึงมีคำถามมากหน่อย หรือถามจนกว่าจะเข้าใจหรือหายข้องใจ

สอง - เขาอยากชวนคุย
บาง ครั้งการถามของลูกอาจเป็นเพียงต้องการชวนพ่อแม่
หรือคนที่เขารักพูดคุย ลูกอาจไม่ต้องการคำตอบแบบสมบูรณ์แบบ
แต่ความเคยชินในการพูดคุยมักจะใช้รูปของประโยคคำถาม
เพราะรู้ว่าถ้าพูดประโยคนี้พ่อแม่จะพูดคุยตอบกลับ การคุยด้วยรูปแบบนี้
พ่อแม่ต้องให้ความสำคัญด้วย
เพราะบางครั้งลูกอาจจะทดสอบผู้ใหญ่ด้วยว่าจะพูดตอบกลับว่าอย่างไร
หรือบางครั้งเด็กอาจจะตั้งคำถามว่าพ่อแม่คิดอย่างไรต่อเรื่องนี้
ก่อนที่เขาจะเล่าเรื่องของเขาให้ฟังก็ได้ แต่ถ้าเขาถามออกไปแล้ว
พ่อแม่ตอบกลับว่า "ถามทำไมไม่เห็นรู้เรื่องเลยลูก" หรือ "ถามเยอะเกินไป
แม่ขี้เกียจตอบแล้ว" ก็เท่ากับเป็นการตัดโอกาสในการพูดคุยของลูก

สาม - เขาต้องการตอกย้ำสิ่งที่รู้
การถามคำถามซ้ำๆ ไม่ได้หมายความว่า ลูกกวน หรือความจำสั้นหรอกค่ะ
แต่เจ้าตัวเล็กของเราต้องการตอกย้ำความเข้าใจของตัวเอง
หรืออาจเพราะยังได้รับคำตอบไม่กระจ่าง ก็เลยยังรู้สึกค้างคาใจอยู่
หรือเพราะเรื่องที่ถามเป็นเรื่องที่เขารู้สึกสนุกหรือชื่นชอบ
ทำให้อยากพูดถึงบ่อยๆ

ทีนี้ มาถึงคราวพ่อแม่บ้าง ควรทำอย่างไร
ประการแรก - ฟังคำถามและตอบด้วยความตั้งใจ
ก่อน อื่นต้องแสดงท่าทีตั้งใจฟังคำถามของลูก
และพยายามตอบเรื่องที่ลูกอยากรู้ให้ได้มากที่สุด
บางครั้งอาจจะถามคำถามลูกกลับด้วยคำถามเดียวกันด้วยก็ได้
เพื่อฝึกให้ลูกคิดตาม เป็นการฝึกให้ลูกมีทักษะการคิด
บางคำถามของลูก เราอาจจะไม่รู้
ก็บอกลูกตามตรงว่าพ่อแม่ไม่รู้เหมือนกัน ไม่ต้องกลัวเสียฟอร์ม
เป็นการสอนให้ลูกรู้ว่าคนเราไม่ได้รู้ทุกเรื่อง แต่การจะรู้ได้
ต้องมีการค้นหาคำตอบ
และอาจชวนลูกไปค้นคว้าหาคำตอบร่วมกันด้วยก็จะเป็นการดียิ่ง
ประการที่สอง - อย่ายัดเยียดคำตอบ
เวลา จะตอบคำถามลูกควรจะคำนึงถึงวัยของลูกด้วย
และพยายามตอบเด็กให้เข้าใจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามวัย
ถ้าเด็กเล็กก็เป็นคำตอบสั้นๆ กระชับ ถ้าเด็กโตหน่อยก็อธิบายคำตอบมากหน่อย
และอาจจะยกตัวอย่างด้วย
หรือบางครั้งเราก็สามารถตอบคำถามแบบปลายเปิดเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกไปคิดต่อก็
ได้
อย่าพยายามยัดเยียดคำตอบว่าผู้ใหญ่ต้องถูก
พ่อแม่พูดต้องเป็นเรื่องถูกเสมอ แต่ควรอธิบายเหตุผล
บางคำตอบไม่มีถูกผิดที่ชัดเจน บางคำถามก็มีคำตอบได้หลายทาง
ก็จะทำให้ลูกนำไปคิดต่อยอดได้

ประการต่อมา - ต้องระวังเรื่องการใช้ภาษา
การใช้ภาษาอธิบายคำตอบที่สื่อความหมายให้ลูกฟังเป็นเรื่องสำคัญมาก
พยายามใช้ภาษาง่ายๆ กระชับและเข้าใจง่าย
ที่สำคัญควรใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสม
ก็เท่ากับเป็นการสอดแทรกเรื่องภาษาให้กับลูกด้วย

ประการสุดท้าย - ตั้งคำถามให้ลูกตอบ
ไม่ จำเป็นต้องเป็นฝ่ายตั้งรับ
ในเมื่อเรารู้อยู่แล้วว่าเด็กวัยนี้มักจะเป็นเจ้าหนูทำไม
แทนที่เราจะปล่อยให้ลูกตั้งคำถามเราอย่างเดียว
พ่อแม่ก็เป็นฝ่ายตั้งคำถามลูกด้วยก็ได้ ชวนลูกพูดคุยเรื่องราวต่างๆ
หรืออาจจะตั้งคำถามจากเรื่องราวของสถานที่ที่เราจะไปเที่ยวด้วยกัน
หรือสถานที่ที่ทำกิจกรรมร่วมกัน เมื่อลูกต้องตอบคำถามพ่อแม่บ่อยๆ
อาจจะติดใจก็ได้

สิ่ง ที่สำคัญที่สุด เวลาลูกถาม แล้วเราตอบไม่ได้ พยายามอย่าลืม
หรือปล่อยผ่านไป เพราะคิดว่าเดี๋ยวลูกก็ลืม ถึงแม้ลูกจะลืมไปจริงๆ
แต่เมื่อเขานึกถึงเมื่อไรก็จะถามเมื่อนั้น
และถ้าเราปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง
ก็เท่ากับฝึกนิสัยในเรื่องการตั้งคำถาม ค้นหาคำตอบ
และการคิดวิเคราะห์อีกด้วย

และการตอบคำถามลูก อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก ตอบอะไรไปก็ได้
เพราะคำตอบที่ลูกได้ฟัง เข้าไปสู่สมองของลูกแล้ว
ฉะนั้นเมื่อลูกถึงวัยเป็นเจ้าหนูทำไม ก็นับเป็นโอกาสที่พ่อแม่
จะปลูกฝังให้ลูกเป็นเด็กช่างคิด ช่างสงสัย และค้นหาคำตอบ
เพื่อให้ลูกรักการเรียนรู้ ไปตลอดชีวิต

แต่ เดี๋ยวนี้เจ้าหนูทำไมก็ฉลาดขึ้นทุกวัน
วิวัฒนาการของโลกที่เปลี่ยนไป
ทำให้คำถามของเจ้าตัวเล็กก็วิวัฒนาการตามไปด้วย
หลายคำถามของลูกบางทีก็สะอึกเหมือนกัน
บางทีมันตอบไม่ได้อ่ะ...โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเมืองในบ้านเราที่อธิบาย
ไม่ถูกจริงๆ เพื่อนพ่อแม่ท่านอื่นเป็นไหมคะ...!!!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น