++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สื่อในยามวิกฤติของประเทศ

โดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง 24 สิงหาคม 2552 10:31 น.
ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต


นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เคยแสดงความเข้าใจไว้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ถึงสถานการณ์และปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้ว่าไม่ใช่สถานการณ์ปกติ
แต่เป็นสถานการณ์วิกฤติ

นายกรัฐมนตรีบอกเองด้วยซ้ำไปว่า เปรียบเสมือนไฟกำลังไหม้บ้าน!

สิ่งที่จะต้องทำ คือ ต้องดับไฟที่กำลังไหม้
เพื่อช่วยชีวิตคนของเราที่ติดอยู่ภายในบ้านก่อน

ในความเป็นจริง ไฟที่กำลังลุกไหม้บ้านอยู่ในขณะนี้ ไม่ใช่มีเฉพาะ
"ไฟวิกฤติเศรษฐกิจ" ที่ต้นเพลิงลุกลามมาจากนอกประเทศเท่านั้น แต่ยังมี
"ไฟวิกฤติการเมือง"
จากการที่ประชาชนในประเทศมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างระดับกัน
ทำให้มีคนฉวยโอกาสใช้ความแตกต่างทางความคิด
และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารความรู้ต่างระดับกันนั้น
นำมาเป็นเครื่องมือปลุกระดมเคลื่อนไหวทางการเมือง
สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายในบ้านเมืองไม่รู้จบ บ่อนทำลายอำนาจตุลาการ
อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจรัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหารประเทศ

มิ หนำซ้ำ ตลอดช่วงรัชสมัยที่ผ่านมา
ไม่เคยมีช่วงเวลาใดที่จะมีขบวนการบังอาจ จาบจ้วงล่วงละเมิด
เหิมเกริมลบหลู่ดูหมิ่น หรือบ่อนทำลายสถาบันเบื้องสูงมากเท่ากับปัจจุบัน

อัคคีภัยที่ผู้เสียผลประโยชน์ส่วนตัวจงใจลอบวางเพลิงประเทศไทยอยู่ใน
ขณะนี้ เกิดผลกระทบกระเทือนต่อการแก้ปัญหาส่วนรวมของประเทศชาติในแทบทุกด้าน

การบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาล มีลักษณะเป็น
"การบริหารเศรษฐกิจในภาวะวิกฤติ" เช่น การจัดทำงบประมาณในโครงการต่างๆ
แบบมียุทธศาสตร์ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว หรือแผนไทยเข้มแข็ง
หรือแม้แต่มาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ
ตลอดจนการสร้างเสริมหลักประกันในชีวิตให้แก่ประชาชนในระยะยาว เป็นต้น
เป็นการแสดงออกถึงความตระหนักในภาวะวิกฤติ
สะท้อนถึงความรู้ร้อนรู้หนาวของรัฐบาล คือ รู้ว่าไฟไหม้กำลังบ้าน
จึงพยายามช่วยให้ประชาชนไม่ขาดใจตายในกองเพลิง

แต่ การบริหารงานด้านสื่อสารมวลชนของรัฐบาล
โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์และวิทยุ
ซึ่งเป็นช่องทางที่เข้าถึงประชาชนคนไทยมากที่สุดนั้น
กลับไม่แสดงออกถึงความตระหนักถึงปัญหาวิกฤติยามนี้

ไฟ การเมืองกำลังลุกไหม้บ้าน
มหาโจรนอกประเทศกำลังฉีดน้ำมันสุมเข้ากองเพลิง
ลูกน้องโจรในประเทศช่วยกันโหมกระพือ
บ้างที่อยู่ในกลไกของรัฐแทนที่จะช่วยดับไฟ กลับคอยขัดแข้งขัดขา ใส่ไฟ
หรือทำลายกลไกในการดับเพลิงของประเทศ

ในสถานการณ์ไฟกำลังลุกไหม้บ้าน สื่อสารมวลชน
โดยเฉพาะโทรทัศน์และวิทยุ
เปรียบเสมือนอุปกรณ์ดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพสูงมากในยุคปัจจุบัน
เพราะสามารถกระจายข่าวสาร ข้อมูล
และความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องออกไปสู่สาธารณชน
เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
ช่วยกันดับไฟที่กำลังไหม้บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

แต่ว่า...

1) สถานีโทรทัศน์ที่รับสัมปทานไปจากรัฐ ได้แก่ ช่อง 3 5 7 9
เป็นต้น ภาครัฐยังคงไม่มีการใช้มาตรการสร้างแรงจูงใจอย่างมีนัยสำคัญ
เพื่อให้เกิดความตระหนักและแสดงบทบาทที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาส่วนรวมใน
สถานการณ์วิกฤติของบ้านเมืองในขณะนี้
แต่ยังคงทำมาหากินกับงบโฆษณากันอย่างไม่รู้ร้อนรู้หนาว

ช่อง 5 เป็นช่องที่น่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงได้เร็วที่สุด
เพราะถือเป็นภารกิจโดยตรงของกองทัพที่มีหน้าที่ปกป้องสถาบันสำคัญของบ้าน
เมือง และสร้างเสริมความมั่นคงของประเทศ แต่ก็ยังคงปล่อยให้ช่อง 5
ทำหน้าที่เป็นเพียง "แคชเชียร์เก็บเงิน" จากธุรกิจโทรทัศน์
เพื่อนำมาเลี้ยงทหารบางกลุ่มบางพวกเท่านั้น

อสมท. ซึ่งดูแลโทรทัศน์ช่อง 9 ช่อง 3 ช่องทรูวิชั่น
(และวิทยุอีกมากกว่า 60 สถานี) เพราะฉะนั้น ถ้า อสมท.
แสดงออกถึงความตระหนักในบทบาทของสื่อในยามวิกฤติเหมือนที่นายกรัฐมนตรี
ตระหนัก ย่อมจะช่วยดับเพลิง ดับไฟที่กำลังไหม้บ้านได้ไม่น้อย

เช่น ทำให้ประชาชนเข้าใจว่า
จะไม่ให้เกิดความสับสนอลหม่านได้อย่างไร ?
จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวออกจากวิกฤติได้อย่างไร ?
จะถอยออกจากการเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการก่อวิกฤติได้อย่างไร?

การ นำข้อมูลความรู้เผยแพร่ให้ประชาชนเข้าใจ
ปกป้องสถาบันตุลาการและสถาบันสูงสุดของประเทศ
สลายความเท็จและตอบโต้การปลุกระดมเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของคนกลุ่มหนึ่ง
ด้วยข้อมูลข้อเท็จจริง ทำอย่างสม่ำเสมอ มีประสิทธิภาพ เข้าถึงประชาชน
ในรูปแบบต่างๆ (แม้แต่ละคร หรือรายการวาไรตี้)
ย่อมไม่ใช่การทำนอกเหนือหน้าที่หรือแม้แต่จิตสำนึกของคนที่เรียกตัวเองว่า
เป็นคนไทยเลยแม้แต่น้อย

ช่อง 3 อยู่ในช่วงที่กำลังเจรจาเพื่อต่อสัญญาของบริษัทเอกชน
ซึ่งเป็นโอกาสและอำนาจต่อรองของฝ่ายรัฐ
ที่จะเจรจาเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
ซึ่งไม่ใช่แต่เฉพาะผลประโยชน์เรื่องเม็ดเงินค่าสัมปทานส่วนแบ่งรายได้เท่า
นั้น แต่ควรจะต้องผนวกรวมถึงประโยชน์ในแง่ของการทำหน้าที่สื่อในสถานการณ์วิกฤติ
ของบ้านเมืองอย่างมีคุณภาพ มีคุณค่า
ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของการปลุกระดมหรือเป็นช่องทางให้นักวางเพลิงฉีกน้ำมัน
เข้าใส่กองเพลิงในประเทศต่อไป

ถ้าจะต่อสัญญาให้เอกชน
โดยปล่อยให้ประเทศชาติส่วนรวมถูกไฟลุกไหม้ต่อไปจนไม่เหลืออะไร
แล้วจะต่อสัญญาไปเพื่ออะไร

ช่อง 7 ก็เคยมีปัญหากรณีต่อสัญญาโดยอาจจะขัดต่อกฎหมาย
รัฐบาลควรเข้าไปดูแลและดำเนินการอย่างจริงจัง มิใช่ปล่อยให้กลายเป็น
"แดนสนธยา" หรือเป็นขุมข่ายอำนาจและผลประโยชน์ของคนกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งอิงแอบแนบชิดกับอำนาจของทหารแค่บางกลุ่ม

แทน ที่จะช่วยกันดับไฟที่กำลังลุกไหม้บ้าน
เพื่อรักษาประเทศชาติส่วนรวมเอาไว้ แต่กลับเอาแต่ขนสมบัติ
กอบโกยผลประโยชน์ รักษาผลประโยชน์ของคนเฉพาะกลุ่มของพวกตัวไว้ต่อไป

ส่วน ช่องไทยพีบีเอส หรือทีวีไทย ก็ยังเป็นอยู่อย่างที่เห็น คือ
แม้จะไม่มีช่องทางให้กอบโกยผลประโยชน์ทางธุรกิจเหมือนช่องอื่นๆ
แต่ก็ทำเสมือนว่าตนเองไม่ได้มีส่วนร่วม หรือมีสถานะหน้าที่ใดๆ
ที่จะต้องช่วยดับไฟที่กำลังลุกไหม้ประเทศ โดยข้ออ้างของ "ความเป็นกลาง"
หรืออย่างน้อยก็เพื่อแสดงว่าตนเองช่างประเสริฐเกินกว่าจะลดตัวลงไปช่วยแบก
เอาภาระในการดับไฟวิกฤติของประเทศชาติ

ถ้า จะช่วยฉีดน้ำ ให้ข้อมูลกับประชาชน
ก็ต้องให้ทุกฝ่ายได้มาออกรายการจำนวนเวลาเท่าๆ กัน หรือใกล้เคียงกัน อ้าง
"ความเป็นกลาง" โดยไม่สนใจว่า ขณะที่ฝ่ายหนึ่งออกมาพูดความจริง
แต่อีกฝ่ายออกมาพูดบิดเบือนใส่ร้ายให้ความเท็จเพื่อสุมไฟให้บ้านเมืองต่อไป
ก็ต้องได้โอกาสเท่ากัน อย่างนั้นหรือ?

แม้แต่ช่วงที่แกนนำเสื้อแดงบุกไปล้มการประชุมอาเซียนที่พัทยา
ช่องทีวีไทยก็อุตส่าห์ถ่ายทอดสดการแถลงของนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง
ซึ่งได้โอกาสกล่าวหาใส่ร้ายนายกรัฐมนตรี
ราดน้ำมันลงบนกองไฟที่กำลังลุกไหม้ประเทศ
ถึงขนาดใส่ร้ายนายกรัฐมนตรีต่อคนดูทั่วประเทศอย่างร้ายแรงว่า นายกฯ
ฆ่าประชาชน หรือใช้ให้ตำรวจทหารไปฆ่าประชาชน ฯลฯ

2) ช่อง 11 หรือสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
รวมถึงสถานีโทรทัศน์และวิทยุในเครือข่ายของกรมประชาสัมพันธ์
และโทรทัศน์ดาวเทียมที่อยู่ระหว่างการบริหารจัดการตามกฎหมายอีกจำนวนมาก
ก็ควรจะถูกตั้งคำถามเช่นกันว่า
รัฐบาลได้บริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤติปัญหาบ้านเมือง
หรือปล่อยไปเรื่อยๆ ?

เสมือนหนึ่งว่า การไม่แทรกแซงสื่อหมายถึงการเปิด "บุฟเฟ่ต์"
ให้แก่วาระส่วนตัวของคนทำสื่อและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อย่างนั้นหรือ?

พิจารณากรณีช่อง 11
แม้จะมีสัดส่วนคนดูไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนประชาชนทั้งประเทศ
แต่ถูกเพ่งเล็งมากที่สุด
เพราะถือเป็นโทรทัศน์ที่อยู่ภายใต้การกำกับควบคุมดูแลของรัฐบาลโดยตรง
อันจะเป็นตัวสะท้อนความตระหนักและท่าทีของรัฐบาลต่อปัญหาได้เป็นอย่างดี

โดย เฉพาะเมื่อตระหนักว่า คนในช่อง 11 จำนวนไม่น้อย
ถูกฟูมฟักด้วยผลประโยชน์ ให้น้ำเลี้ยงและสืบสายพันธุ์ระบอบทักษิณ
ทั้งช่วงที่เปลี่ยนไปเป็นเอ็นบีที
และตลอดช่วงที่ทักษิณมีอำนาจรัฐได้กระชับอำนาจในระบบสื่ออย่างแน่นหนา
จัดวางคนที่จงรักภักดีรับใช้ตนไว้ในจุดสำคัญทั่วถึง แทบจะทุกวงการ
ทุกระดับชั้น

เพราะจนบัดนี้
กรณีสอบสวนเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชนที่ร่วมกันทำสัญญายกเวลาออกอากาศ
ของช่อง 11 ให้เอกชนในยุครัฐบาลสมัคร ก็ยังไม่ได้เอาผิดไปถึงตัวการ
ทั้งที่อยู่ในช่อง 11 และในฟากเอกชน

หรือจะสะท้อนว่า แม้ปัจจุบัน ช่อง 11 จะไม่ใช้ชื่อ NBT
แต่ก็คงเป็น NBT อยู่ ในความหมายว่า "Navin Broadcasting Television"

กรณีที่สะท้อนถึง "ปัญหา" หรือ
บ่งบอกว่าการบริหารสื่อของรัฐในยามวิกฤติ ในช่อง 11 นั้น ยังมี "ตอ" หรือ
"หนอนบ่อนไส้" มีหลายกรณี

เฉพาะกรณีที่เกิดขึ้นกับนายกฯ อภิสิทธิ์โดยตรง เช่น กรณี นายกฯ
ไปประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่กระทรวงมหาดไทย (ในช่วงวิกฤติสงกรานต์)
การถ่ายทอดของช่อง 11 ก็ขัดข้องและล่าช้า
จนเป็นเหตุให้ข่าวรั่วและแกนนำเสื้อแดงได้ขนคนเข้ามารุมทำร้าย
พยายามฆ่านายกฯ

หรือ กรณีนายกฯ ออกรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์
แล้วเกิดเหตุขัดข้อง อ้างว่า "ขัดข้องทางเทคนิค"
ล่าสุดเมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมาไม่ใช่ครั้งแรก เพราะก่อนหน้านั้น
(เมื่อวันที่ 24 พ.ค.52 ซึ่งเป็นการจัดรายการสดครั้งแรกในตึกไทยคู่ฟ้า
ทำเนียบรัฐบาล) ก็เคยเกิดขึ้นกับรายการนายกฯ อภิสิทธิ์มาแล้ว ทั้งๆ ที่
ไม่เคยเกิดขึ้นกับรายการของทักษิณ หรือนายสมัครเลย เป็นต้น

ยัง ไม่ต้องเอ่ยถึงท่าที วิธีคิด
และความเทิดทูนระบอบทักษิณที่ฝังหัวอยู่ในบุคลากรที่กินเงินเดือนหลวงในช่อง
11 อีกจำนวนมาก ซึ่งนำเอาความนิยมชมชอบส่วนตัว
เข้ามายุ่งเหยิงกับการทำหน้าที่ในสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
ทำให้เนื้อหาสาระ
การให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชนเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
มีการปกปิดบางประเด็น เลือกขยายผลบางประเด็น
โดยไม่คำนึงถึงบทบาทของความเป็นสื่อในภาวะวิกฤติของบ้านเมือง

3) นายกฯ อภิสิทธิ์ เคยแสดงวิสัยทัศน์ และจตจำนงแน่นหนัก
ที่จะทำช่อง 11 ให้เป็นสื่อสาระที่มีคุณภาพ รวมถึงการปฏิรูปสื่อ
หลายประเด็นอยู่ในหนังสือ "ร้อยฝันวันฟ้าใหม่" หน้า 212-219 เช่น
ประเด็นเรื่องการปฏิรูปช่อง 11 เป็นทีวีสาธารณะ, การส่งเสริมรายการสาระ
การกำหนดช่วงเวลาให้เป็นรายการสาระ ระบุไว้ว่า "รัฐ
ต้องมีนโยบายในการบริหารและกำกับดูแลสื่อที่จำเป็น เช่น
กำหนดช่วงเวลาที่ต้องมีรายการสำหรับเยาวชน สำหรับเด็ก
หรือรายการที่เป็นสาระ เป็นต้น
โดยการกำหนดช่วงเวลาที่จะต้องออกรายการสาระต้องให้อยู่ในช่วงที่ประชาชน
สะดวกแก่การรับชม หรือไพร์มไทม์ ไม่ใช่ให้อยู่ดึกๆ
หรืออยู่เช้ามืดจนเกินไป" (หน้า 218) หรือ
"ผมเชื่อว่ารายการสาระย่อมจะมีตลาดของตัวเอง
อย่างกรณีรายการของเอเอสทีวีกับเนชั่นก็เห็นชัดเจน"(หน้า 219),
การอุดหนุนข้าม (cross subsidy)
ที่อาจจะต้องมีกลไกทำให้รายการบันเทิงต้องมีส่วนไปอุดหนุนการผลิตรายการที่
มีสาระ "สถานีโทรทัศน์พาณิชย์ที่เน้นบันเทิงมากๆ
ก็ควรจะต้องมีภาระในการเกื้อหนุนรายได้ให้แก่สถานีโทรทัศน์ที่ทำรายการสาระ
อย่างเดียว" เป็นต้น

แต่แนวคิดที่ กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงช่อง 11 ในยุครัฐบาลชุดนี้
ที่บอกว่าจะทำให้เป็นองค์การมหาชน ซึ่งเป็นทิศทางที่ถูกต้อง น่าชื่นชม
และควรสนับสนุนอย่างยิ่งนั้น
จำเป็นต้องตอบคำถามที่ถอดมาจากบทเรียนจริงในกรณีของทีวีไทยให้ได้ว่า

(1) แนวคิดที่อยากจะให้มีคณะกรรมการคอยเป็นเสมือน "กันชน"
ระหว่างฝ่ายการเมืองกับผู้บริหารสถานี
เพื่อป้องกันการล้วงลูกจากฝ่ายการเมืองนั้น
จะป้องกันไม่ให้ตัวกรรมการเข้าล้วงลูกแทรกแซงการทำงานของเจ้าหน้าที่เสียเอง
ได้อย่างไร

(2) ปัญหาเรื่องบัญชีดำ
ที่ระบุห้ามเชิญคนบางคนมาออกโทรทัศน์ของช่องทีวีไทยนั้น
บุคคลากรเป็นคนไอทีวีเดิมกว่า 80%
จึงมีความไม่ชอบฝ่ายตรงข้ามของทักษิณอยู่เป็นทุน
เมื่อแบล็คลิสต์นั้นเป็นคำสั่งถ่ายทอดปากต่อปาก
ก็อาจจะมีการเพิ่มรายชื่อคนไปโดยความไม่ชอบของตน เพิ่มไปเรื่อยๆ เป็นต้น
กรณีปฏิรูปช่อง 11 จะป้องกันและแก้ไขได้อย่างไร

(3) วัฒนธรรมองค์กร ซึ่งสำคัญมาก แต่กรณีช่องทีวีไทย
ทั้งบุคลากรก็เป็นคนของไอทีวีเดิมเป็นส่วนใหญ่ มิหนำซ้ำ
ยังไม่ยอมย้ายที่ทำงานไปจากตึกชินวัตร คนไอทีวีก็ถือเป็นเจ้าถิ่น
ผู้บริหารหรือพนักงานคนอื่นมาใหม่ไม่สน ยังคงทำตัวอย่างเดิม
ไม่มีการเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงาน โลกทัศน์ ทำให้ทีวีไทยถูก
"ยึดอำนาจเงียบ" โดยคนไอทีวีเดิม เป็นต้น

กรณี ปฏิรูปช่อง 11 จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ขึ้นมาได้อย่างไร?
ยังคงจะรับเอาคนของเอ็นบีทีเดิม ไปด้วยมากน้อยแค่ไหน ภายใต้เงื่อนไขอะไร
?

(4) เงินทุน กรณีทีวีไทยได้งบจากภาษีเหล้าและบุหรี่
ปีละเป็นพันล้านบาท แต่การบริหารได้เอาไปลงทุนกับฮาร์ดแวร์ คือ ตึก อาคาร
ที่ดิน สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น
ทำให้น้ำหนักในการลงทุนพัฒนาด้านซอร์ฟแวร์ คือ เนื้อหาสาระ การผลิต
การจัดหารายการคุณภาพลดน้อยลง

กรณี ปฏิรูปช่อง 11 งบประมาณจะนำมาจากไหน?
หากจะพึ่งพางบประมาณแผ่นดินจะทำอย่างไรจึงจะไม่ถูกการเมืองแทรกแซง ?
จะพิจารณาแหล่งอื่นๆ เช่น การเก็บภาษีจากเครื่องรับโทรทัศน์
หรือกำหนดให้รัฐอุดหนุนงบเป็นรายหัวต่อประชาชน
เพราะถือเป็นบริการการศึกษานอกระบบ การศึกษาตลอดชีวิต จะมีทางเลือกอื่นๆ
อีกหรือไม่

รัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ต้องตอบ แต่ต้องเร่งดับไฟ ด้วยเครื่องดับเพลิง
(โทรทัศน์และวิทยุ) ทุกช่องทาง เถอะครับ !

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000096115

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น