++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พลาดด้านพม่า จะเสียท่าด้านเขมร

โดย สิริอัญญา
กระทรวงการต่างประเทศจีนได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการ
ละเมิดอธิปไตยและยุติการแทรกแซงกิจการภายในของพม่า
ภายหลังจากที่จีนได้ร่วมกับรัสเซียออกเสียงคัดค้านในคณะมนตรีความมั่นคงของ
สหประชาชาติ ไม่ให้สหประชาชาติออกแถลงการณ์ประณามพม่า

เป็นการออกแถลงการณ์ในเวลาไล่เลี่ยกับการแสดงท่าทีของนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย

และ หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมง
เขมรก็ได้แสดงท่าทีต่อสื่อต่างประเทศในทำนองเดียวกับแถลงการณ์ของจีน
โดยเป็นที่น่าสังเกตว่ารัสเซียก็ดี ประเทศในโลกอิสลามก็ดี
และอีกหลายประเทศในอาเชียนก็ดี
ยังแสดงท่าทีเงียบเฉยไม่กระตือรือร้นไปกับการรุกเร้าของชาติตะวันตกที่ให้กด
ดันพม่า

สำหรับในประเทศไทย สื่อสำนักต่างๆ
ได้รายงานข่าวโดยอ้างอิงฐานข้อมูลจากสื่อตะวันตกก่อเกิดเป็นกระแสใหญ่ให้
เห็นดีเห็นงามไปกับการแสดงท่าทีกดดันพม่าตามหลังชาติมหาอำนาจตะวันตก

จนกระทั่งเกิดความรู้สึกว่าใครใดก็ตามที่เห็นอกเห็นใจพม่า
หรือเรียกร้องให้ยุติการแทรกแซงพม่ากลายเป็นคนตกยุคหรือเป็นพวกสนับสนุนการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนไปแล้ว

ทว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่หลวงของประเทศไทย
และอาจมีผลกระทบใหญ่ถึงขนาดที่อาจจะสูญเสียดินแดนหลายหมื่นตารางกิโลเมตร
รวมทั้งผลประโยชน์แห่งชาติจำนวนมหาศาลให้แก่เขมร
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องออกความคิดความเห็นอีกด้านหนึ่ง

เพื่อ หวังสะกิดเตือนรัฐบาลและเพื่อนผองพี่น้องไทยให้มองเห็นและเข้าใจสถานการณ์ใน
ภาพรวมว่าหากพลาดท่าทางด้านพม่า ไทยก็จะเสียท่าทางด้านเขมร
และจะเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่หลวงในประวัติศาสตร์ของชาติไทยอีกครั้งหนึ่ง

เรื่องกระแสกดดันพม่ารอบใหม่นี้
เกิดขึ้นเนื่องจากศาลพม่าตัดสินจำคุกนาง อองซานซูจีเป็นเวลา 3 ปี
และทนายของนางอองซานซูจีได้แถลงว่าจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูงต่อไป

แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่านางอองซานซูจีแม้อยู่ภายใต้อำนาจศาลของ
รัฐบาลพม่า แต่เขาก็ยังคงยอมรับกระบวนการยุติธรรม
ไม่ได้ปฏิเสธกระบวนการยุติธรรมนั้น
และยังดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมอยู่
โดยจะยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของศาลต่อศาลสูงซึ่งเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
ทั้งหลาย

ก็ เจ้าตัวแท้ๆ เขายังยอมรับกระบวนการยุติธรรมนั้น
แล้วเรื่องอะไรที่ประเทศไทยจะต้องไปแสดงความผิดหวังต่อคำตัดสินของศาลพม่า
เรามีสิทธิอะไรที่จะทำเช่นนั้น และถ้าหากพม่ากระทำอย่างเดียวกับไทยบ้าง
เช่น แสดงความผิดหวังต่อคำตัดสินของศาลไทยไม่ว่าในคดีใดๆ
แล้วประเทศไทยจะรู้สึกอย่างไร?

ในโลกทุกวันนี้ ไม่ว่ารัฐบาลจะเป็นประการใด
แต่ก็ยังยกย่องนับถืออำนาจของศาลในประเทศนั้นๆ
การที่ชาติใดแสดงการไม่ยอมรับหรือประณามหรือผิดหวังกับคำตัดสินของศาลของ
ชาติอื่น จึงหมิ่นเหม่ที่จะถูกกล่าวหาว่าแทรกแซงอธิปไตยหรือละเมิดอธิปไตยของชาติอื่น

แม้นายกรัฐมนตรีไทยในฐานะประธานอาเซียนจะได้ใช้ความระมัดระวังไม่
แสดงท่าทีประณามพม่า และเปลี่ยนมาใช้ถ้อยคำแสดงความผิดหวังก็ตาม
แต่นั่นก็คือการแสดงความผิดหวังต่อสถาบันศาลของชาติอื่น

ยิ่งการเรียกร้องให้พม่าปล่อยตัวนางอองซานซูจีและนักโทษทางการเมืองก็ยิ่งไปกันใหญ่
เพราะนั่นเป็นกิจการภายในของพม่าโดยแท้

เรื่องราวแบบนี้ก็มีอยู่ในประเทศไทย
พวกที่ต้องคำพิพากษาเพิกถอนสิทธิทางการเมืองทั้ง 111 คน และ 109 คน
ก็มีลักษณะทำนองเดียวกันกับนักโทษการเมืองของพม่า
หากพม่ายื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยลบล้างคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญไม่ว่า
โดยนิรโทษกรรมหรือทำให้คนเหล่านั้นกลับเข้ามาดำเนินงานทางการเมือง
ก่อนที่จะพ้นกำหนดที่ศาลตัดสิน แล้วประเทศไทยจะว่าอย่างไร

ใจ เราเป็นอย่างไร ใจเขาก็เป็นอย่างนั้น
ทำการสิ่งใดจึงไม่พึงคำนึงเอาแต่ใจตน
หรือคล้อยตามกระแสโดยไม่ได้ตั้งอยู่กับความเป็นตัวของตัวเอง
หรือมิได้คำนึงถึงประโยชน์แห่งชาติของตัวเอง

อันพม่านั้นเป็นประเทศที่มีปัญหาตกค้างจากประวัติศาสตร์หนักหนาสาหัส
มาก เพราะเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหลายรัฐ หลายชนชาติ
โดยชนชาติพม่ามีอยู่แค่ 30% ของประชากรเท่านั้น
ชนชาติเหล่านั้นมีปัญหาทำศึกสงครามกันมาแต่ประวัติศาสตร์จนปัจจุบันนี้
และยิ่งได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ
ก็ได้ดำเนินการถึงขั้นที่จะแบ่งแยกแต่ละรัฐออกเป็นอิสระจากพม่า

พม่าเขาจึงจำเป็นที่จะต้องใช้อำนาจของรัฐในการพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนและความเป็นเอกภาพของชาติไว้

จะ ว่าผิดจะว่าถูกก็ว่ากันไป
แต่ใจชาวพม่าซึ่งเป็นรัฏฐาธิปัตย์อยู่ในขณะนี้เขาไม่มีทางคิดหรือทำเป็น
อย่างอื่น นอกจากคำนึงถึงเอกภาพของชาติเป็นสำคัญ

และพม่าเขาก็รู้ดีว่าการที่นักโทษการเมืองคนหนึ่งอย่างนางอองซานซูจี
ได้กลายเป็นประเด็นที่ประเทศตะวันตกจำนวนหนึ่งพยายามผลักดันให้เข้ามามี
อำนาจในพม่านั้น ก็ด้วยวัตถุประสงค์ทางการเมือง
เพื่อผลประโยชน์ของชาติตะวันตกเท่านั้น
ไม่ใช่ผลประโยชน์ของชาวพม่าหรือชาวเอเชีย

จีนซึ่งเป็นชาติใหญ่อยู่ในภูมิภาคนี้
แม้กระทั่งรัสเซียที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับจีนและอาจรวมไปถึงประเทศในโลก
อิสลาม แม้อีกหลายประเทศในอาเชียน ต่างก็รู้สถานการณ์เป็นอย่างดี
ประเทศเหล่านี้จึงไม่เพียงแต่ไม่เออออห่อหมกไปกับชาติตะวันตก
แต่กลับหนุนหลังพม่าอย่างแข็งขัน

ดัง นั้นแม้ว่าชาติตะวันตกจะรวมหัวกันคว่ำบาตรพม่ามาช้านานประการใด
และเพิ่มมาตรการรุนแรงประการใด พม่าก็สามารถยืนยงอยู่ได้
นั่นก็เพราะได้รับการหนุนหลังและช่วยเหลือจากมิตรประเทศของพม่า

แม้ชาติตะวันตกเองก็เถอะ ต่อสาธารณะทำทีประณามและกดดันพม่า
แต่ลับหลังกลับแอบไปทำมาค้าขายอยู่กับพม่าอย่างหน้าตาเฉย

ต่างชาติต่างก็คิดถึงผลประโยชน์ของชาติตัว
และทำทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติตัวเอง แม้เขมรก็เช่นเดียวกัน
การแสดงท่าทีล่าสุดของเขมรที่คล้อยตามจีนก็คือท่าทีของหนึ่งในสมาชิกอาเซียน
ที่สวนทางกับรัฐบาลไทย

การอ้างฐานะประธานอาเซียน
ในขณะที่บางประเทศในอาเซียนมิได้เออออห่อหมกด้วย
จึงมีลักษณะเป็นการล้ำเส้นและล้ำหน้าไปสักหน่อยหนึ่ง
และยิ่งเผชิญกับท่าทีของจีน รัสเซีย
และอีกหลายประเทศที่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการละเมิดอธิปไตยและยุติการแทรก
แซงกิจการภายในของพม่าแล้วก็ย่อมกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง

กระทบ เรื่องเล็กเรื่องน้อยนั้นพอประมาณ
แต่มันอาจกระทบไปถึงปัญหาเขตแดนซึ่งพิพาทอยู่ระหว่างไทยกับกัมพูชา
ตั้งแต่จุดปราสาทพระวิหารตลอดแนวชายแดนลงไปถึงในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่หลายหมื่นตารางกิโลเมตร
และยังมีผลประโยชน์ในเรื่องก๊าซและน้ำมันจำนวนมหาศาลเกี่ยวข้องด้วย

เขมรจ่อที่จะเสนอข้อพิพาทบางส่วนเฉพาะจุดบริเวณปราสาทพระวิหารเข้า
สู่การพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อ
ปลายปีก่อน เพราะมั่นใจว่าสหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศสจะหนุนหลังเขมร
เพราะมีส่วนเอี่ยวเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์เรื่องน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทย

แต่เพียงแค่จ่อจะเสนอเรื่อง
เขมรก็ต้องถอยกรูดเพราะได้พบว่าจีนและรัสเซียมีท่าทีที่จะไม่เอาด้วย
จึงได้หยุดยั้งเรื่องนั้นไป
แต่ความพยายามก็ยังคงเดินหน้าหมายจะอาศัยคำชี้ขาดของคณะมนตรีความมั่นคงของ
สหประชาชาติ มายึดเอาดินแดนและผลประโยชน์จากประเทศไทย

นั่นคือเขมรมุ่งที่จะแสวงหาการสนับสนุนจากจีนและรัสเซีย
ซึ่งต่างก็เป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติด้วย
และเขมรก็รู้ดีว่าโอกาสกำลังเปิดช่อง
เนื่องจากการดำเนินวิเทโศบายของไทยเริ่มส่อให้เห็นว่าหมายจะดึงเอาสหรัฐฯ
กลับเข้ามามีอิทธิพลในเอเชียเหมือนอดีตอีกครั้งหนึ่ง
ซึ่งย่อมขัดแย้งอย่างรุนแรงกับผลประโยชน์ของจีนและมิตรประเทศของรัสเซีย

และนี่ก็คือเหตุผลเบื้องลึกเบื้องลับที่เขมรแสดงท่าทีต่อปัญหาพม่าไป
ทางเดียวกับจีน และรัสเซีย
โดยไม่แยแสว่าจะสวนหรือแย้งกับท่าทีของไทยซึ่งเป็นประธานอาเซียนเลย

ดัง นั้นในวันนี้เมื่อโลกเปลี่ยนไปแล้ว ดุลกำลังต่างๆ
ในโลกก็เปลี่ยนไปแล้ว หากไทยยังทำตัวเป็น Good Boy ของมหาอำนาจบางชาติ
เมื่อนั้นเราก็จะเสี่ยงต่อการเผชิญหน้ากับมหาอำนาจอีกบางชาติ

เมื่อ นั้นเราก็เสี่ยงอย่างใหญ่หลวงต่อการสูญเสียดินแดนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติ
ศาสตร์ตั้งแต่บริเวณปราสาทพระวิหาร เรื่อยลงมาจนถึงอ่าวไทย
รัฐบาลไทยจึงพึงต้องระมัดระวัง รอบคอบ
และทบทวนท่าทีในเรื่องนี้ให้ถูกต้อง และยืนอยู่กับผลประโยชน์ของประเทศไทย
ยิ่งกว่าที่จะคล้อยตามชาติตะวันตก.


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000092038

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น