++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อึ้ง! ผลวิจัยการศึกษาไทยปี 51 ใช้งบสูง ผลสัมฤทธิ์ต่ำ ออกกลางคันอื้อ ป.ตรีล้นตลาด

เผย ผลวิจัยสภาวะการศึกษาไทยปี 51-52 พบเด็กปฐมวัย 60%
ไม่ได้เรียน ขณะที่ ม.ปลาย 64% ได้เรียนต่ำ เหตุออกกลางคัน ยากจน
งบประมาณด้านการศึกษาสูงแต่ไม่มีประสิทธิภาพ
ระบุภาคแรงงานเกินครึ่งมีระดับการศึกษาแค่ชั้นประถม คนว่างงานเกือบล้าน
เป็นผู้จบ ป.ตรี มากสุดถึง 2 แสนคน แสดงถึงการผลิตคนไม่ตรงกับงาน
เผยคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกระดับ เฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
ภาษาไทยยังน่าห่วง ติงควรประเมินการสอนครูได้เพิ่มเงินวิทยฐานะ
แนะประชาชนตั้งพันธมิตรเพื่อการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง


วันนี้(11 ส.ค.) ที่โรงแรมปรินซ์ พาเลช
สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)
จัดการสัมมนาเรื่อง สภาวะการศึกษาไทย ปี 2551-2552
"การศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม" โดย รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดี
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
กล่าวในการนำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์และวิจัยเรื่องสภาวะการศึกษาไทยปี
2551-2552 "การศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม" ว่า
บทบาทของการศึกษาต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม
จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาการเมืองไทยมีความขัดแย้งแบบ 2 ขั้ว
และมีความไม่มั่นคงสูง สังคมมีปัญหาความขัดแย้ง เอาเปรียบ ฉ้อฉลเพิ่มขึ้น
คุณภาพชีวิตตกต่ำ เด็กและเยาวชนมีปัญหา ทำให้การด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจ
การเมือง และการศึกษาต่างมีอิทธิพลต่อกันแบบงูกินหาง ใน การจัดการศึกษา
งบประมาณ และระดับการศึกษาของแรงงาน
จะเห็นว่าสัดส่วนของผู้เรียนต่อประชากรในทุกระดับการศึกษาในปี 2552
เพิ่มขึ้นจากปี 2550 - 2551 เล็กน้อย
โดยระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพิ่มจาก 79.89% เป็น 81.29%
ของประชากรวัยเรียน ซึ่งยังมีประชากรวัย 3 - 17
ปีที่ไม่ได้เรียนอีกประมาณ 2.76 ล้านคน หรือคิดเป็น 18.71%
ของประชากรในวัยเดียวกัน ที่มีราว 14.79 ล้านคน โดยมีจุดที่น่าสังเกต คือ
เด็กที่เข้าเรียนชั้น ป.1 ในปี 2540 ได้เรียนถึงชั้น ม.6 และ ปวช.3 ในปี
2551 เพียง 47.2% ส่วนที่เหลือกว่าครึ่งหรือประมาณ 5.2 แสนคน ออกกลางคัน
ขณะที่เด็กอายุ 3-5 ปี ก็มีโอกาสได้เรียนน้อยและมีสัดส่วนที่ลดลงในรอบ 5
ปี


"นอก จากนี้ปัญหาอื่นๆ อยู่ที่การจัดการศึกษา
โดยสถานศึกษาภาครัฐมีมากว่าภาคเอกชน ถึง 80.9 : 19.1 ชั้นมัธยมสายสามัญ
สูงกว่าอาชีวะ 61 : 39 และอุดมศึกษาสายสังคมสูงกว่าสายวิทย์ 70 : 30
ตรงนี้สะท้อนว่าการที่จะจัดการศึกษาให้เท่าเทียมกันในการปฏิรูปการศึกษายัง
ทำอย่างไม่จริงจัง" รศ.วิทยากร กล่าว


รศ.วิทยากร กล่าวต่อว่า
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษาได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.57
ล้านคน เป็น 1.87 ล้านคน ส่วนใหญ่คือการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
ส่วนการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกันจาก 3.89 ล้านคน
เป็น 3.92 ล้านคน
ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก็อยู่ในเกณฑ์ต่ำเช่นกัน
ด้านงบการศึกษาในปี 2552 ยังสูงเทียบได้กับ 20% ของงบประมาณทั้งหมด
แต่ประสิทธิภาพการใช้จ่ายอยู่ในเกณฑ์ต่ำ หากเทียบกับจีน เกาหลีใต้
ที่ใช้งบการศึกษาต่ำกว่าไทย แต่เด็กได้เรียนชั้นมัธยมศึกษามากกว่า
และผลสัมฤทธิ์โดยเฉลี่ยก็ดีกว่า ด้านของแรงงานในประเทศไทยที่มี 54.2% ราว
20.11 ล้านคนของแรงงานทั้งหมด 37 ล้านคน
พบมีการศึกษาแค่ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า
เนื่องจากปัญหาการออกเรียนกลางคัน
ทำให้สัดส่วนแรงงานที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ที่ 13.7%
ของแรงงานทั้งหมด สำหรับผู้ว่างงานที่มีกว่า 8.2 แสนคนนั้น
จบปริญญาตรีมากที่สุดถึง 2 แสนคน
แสดงให้เห็นถึงการผลิตคนที่ไม่ตรงตามความต้องการของตลาดงาน

คุณภาพสถานศึกษาต่ำ-ภาษาไทยแย่
ด้าน การประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพ การศึกษาโดย
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และ สกศ.
พบด้วยว่า เด็ก 3-5 ปี ซึ่งเป็นวัยอนุบาล มีโอกาสได้เรียนน้อย
และสถานศึกษาที่มีคุณภาพดีมีน้อย
คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานในทุกระดับมีความแตกต่างกันสูง
ทำให้คะแนนเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เช่น
คะแนนจากการทดสอบในระดับช่วงชั้น ป.6 ม.3 ม.6
วิชาส่วนใหญ่ได้เฉลี่ยต่ำกว่า 50% และตกต่ำลงจาก 5 ปีก่อน ซึ่ง
ที่น่าห่วงคือ วิชาภาษาไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก ทั้งการอ่านออก เขียนได้
ซึ่งวิชานี้เป็นพื้นฐานเพื่อความเข้าใจวิชาอื่นๆ
หากภาษาไทยอ่อนวิชาอื่นก็จะอ่อนตามไปด้วย
และจากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 2 ของ
สมศ.พบสถานศึกษาที่ผ่านการรับรองได้คะแนนดีกว่ารอบแรก
แต่ความสามารถของผู้เรียน การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณญาณ
คิดสร้างสรรค์ ยังคงได้คะแนนต่ำอยู่



"การที่นักเรียนไทยมีผลสัมฤทธิ์ต่ำ
เรามักมองไปที่ปัญหาเรื่องการขาดแคลนครูโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ นั่นคงเป็นความจริงส่วนหนึ่ง แต่สำหรับวิชาภาษาไทย
สังคมศึกษาก็อ่อนตามไปด้วยแสดงว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นต้องมาจากการสอน
และการเรียนที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
และการที่เพิ่มเงินวิทยฐานะให้ครูนั้นแปลว่าไม่มีใครคอยประเมินเลยว่าเพิ่ม
เงินให้แล้วครูมีการพัฒนาคุณภาพการสอนของตัวเองให้ดีขึ้นหรือไม่"
รศ.วิทยากร กล่าว

รศ.วิทยากร กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการเรียนฟรี 15 ปีนั้น
อยากให้เปลี่ยนชื่อเป็นการช่วยออกค่าใช้จ่าย 5 อย่างสำหรับทุกคน
เพราะไม่ได้ช่วยคนจนอย่างแท้จริง
และต้องพัฒนาครูและระบบโรงเรียนให้ช่วยแก้ปัญหาเด็กที่มีแนวโน้มจะออกกลาง
คันให้ได้มากขึ้น ด้านการวางแผนผลิตกำลังคนนั้นยังขาดการสนองทางเศรษฐกิจ
เช่นชั้นมัธยมศึกษาสายสามัญ อุดมศึกษาด้านสังคมศาสตร์
มนุษยศาสตร์มีมากเกินไป บางระดับ บางประเภทเช่น ช่าง อาชีวศึกษา
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ยังขาดแคลนอยู่

แนะตั้งพันธมิตรเพื่อพัฒนาการศึกษา
รศ.วิทยากร กล่าวด้วยว่า
สำหรับแนวทางแก้ปัญหาที่เป็นคอขวดของการปฏิรูปการศึกษานั้น
ต้องเปลี่ยนการศึกษาแบบแพ้คัดออก เป็นการจัดการศึกษาแบบยืดหยุ่น ทั่วถึง
มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาคนทั้งประเทศอย่างเต็มที่
และปรับโครงสร้างอำนาจการบริหารแบบรวมที่ศูนย์กลางเป็นสำนักงานคณะกรรมการ
ประกันคุณภาพการศึกษาที่มีภาคี 3 ฝ่ายคือ ศธ. ภาคประชาชน
ครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในฐานนะผู้ปฏิบัติงาน
เพื่อลดอำนาจผูกขาดและวิธีบริหารแบบสั่งการจากบนลงล่าง
พร้อมทั้งปฏิรูปครูอาจารย์ให้เป็นครูแนวใหม่ รักการอ่านและการวิจัย
สอนให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็น
สำหรับการจัดหางบประมาณทางการศึกษาเพิ่มนั้นอยากให้มีการเก็บภาษีอัตราก้าว
หน้า เพิ่มสัมปทานคลื่นความถี่ ภาษีบาป โดยจัดสรรอย่างเป็นธรรม โปร่งใส
เช่น เพิ่มให้โรงเรียนระดับปฐมวัย โรงเรียนชนบท และชุนแออัด

"ที่ ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย
อย่างการรวมตัวของภาคประชาชนของกลุ่มพันธมิตรฯ
ก็สามารถสร้างการเปลี่ยนทางการเมืองได้
บางครั้งกลุ่มคนด้านการศึกษาอาจต้องมีการรวมตัวกันในนามของพันธมิตรเพื่อการ
พัฒนาการศึกษาก็เป็นได้
เพื่อการศึกษาจะได้มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น"คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม
ม.รังสิต กล่าว

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000091203


สมัยผมเป็นเด็ก 2507 ครูสมัยนั้นจบ แค่ ป.กศ. หรือ ป.กศ.สูง
ก็สอนพวกผมได้ดิบได้ดีกัน

เพราะสมัยนั้นมหาวิทยาลัยมีน้อย คนเก่ง ๆ ในจังหวัดได้ทุนเรียนโรงเรียนฝึกหัดครูกัน

สมัยนี้มหาวิทยาลัยมีเกือบ 200 แห่งเข้าไปแล้ว ใครอยากเรียนอะไรได้เรียน
คนเก่งก็เลย

เลือกเรียนที่จบมาแล้วได้เงินเยอะ ๆ เช่น หมอ วิศวะ
หรือตำรวจ-ทหารที่ใหญ่โตขึ้นบางคน

จะได้เป็นนายกหรือรัฐมนตรี บางคนก็โกงกินจนรำ่รวย
คนที่เรียนครูแม้จะยกจากโรงเรียนฝึกหัดครู

มาเป็นมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ไม่มีคนที่เก่ง ๆ เลือกมาเรียนเหมือนอดีตเมื่อ
50 กว่าปีที่แล้ว เมื่อครู

ไม่เก่งแต่แรกเข้าแล้ว จะสอนเด็กให้เก่งได้อย่างไร
ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ก็เอาใจเจ้านาย

และนักการเมือง เพื่อความก้าวหน้า แปลกแต่จริง บ้านเมืองเรา
ครูจบปริญญาโท ปริญญาเอก

สอนสู้ครูจบ ป.กศ.เตี้ยและ ป.กศ.สูง ซึ่งต่ำกว่าปริญญาตรี ในอดีตไม่ได้ ขำจริง ๆ
ข้าราชการเกษียณ
--

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น