++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2550

ศาสตร์แห่งชีวิต กินเพื่อชีวิต

สำหรับศาสตร์อายุรเวทแล้ว การกินอาหารถือเป็นเรื่องสำคัญที่มีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์ อาหารถือเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งสำคัญระดับที่ถือว่าเป็นเสาหลักแห่งชีวิต (ตรีสดมภ์) ซึ่งมีด้วยกัน 3 อย่าง คือ อาหาร (ahara) การนอนหลับพักผ่อน (nidra : นิทรา) และการมีเพศสัมพันธ์อย่างเหมาะสม (brahmacarya : พรหมจริยา)
ชีวิตไม่อาจดำรงอยู่ได้ถ้าขาดซึ่งอาหาร พูดง่ายๆ ว่าอาหารมีความสำคัญประมาณนั้น

ส่วน ที่ว่าเป็นโทษมหันต์นั้นก็เนื่องจากว่า ถ้ากินอาหารอย่างไม่เหมาะสม อาหารที่กินเข้าไปแทนที่จะถูกย่อยอย่างสมบูรณ์ จากนั้นก็ถูกดูดซึมไปบำรุงเลี้ยงร่างกายหรือถูกแปรสภาพให้กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของร่างกาย จะกลับกลายเป็นของเสียก็ไม่ใช่จะเป็นของดีก็ไม่เชิง คล้ายๆ กับเป็นของกึ่งดิบกึ่งดี หรือกึ่งดิบกึ่งสุกที่ร่างกายกำลังจำแนกแยกแยะว่าจะจัดการอย่างไรกับมันดี
อายุรเวทเรียก อาหารที่ถูกย่อยไม่สมบูรณ์ว่า "อามะ" (ama) ซึ่งมีผู้ให้ความหมายว่าคือสิ่งที่ยังไม่กลายเป็นหนึ่งเดียวกับเรา ที่สำคัญก็คือว่านอกจากจะไม่กลายเป็นหนึ่งเดียวกับเราแล้ว ถ้ามีอามะสะสมอยู่ในร่างกายก็จะทำให้เกิดการเจ็บไข้ไม่สบายตามมา

เริ่ม ตั้งแต่อาการพื้นๆ อย่างท้องอืดท้องเฟ้อหรือแน่นท้องเพราะอาหารไม่ย่อย หรือรู้สึกหนักเนื้อหนักตัวไม่ค่อยอยากทำอะไรหรือเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนเพราะ อิ่มเต็มกำลัง ไปจนถึงอาการเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างเช่น ท้องเสียเรื้อรังแบบเข้าปุ๊บออกปั๊บ คือกินอาหารเสร็จก็ปวดท้องต้องเข้าห้องน้ำแล้ว แม้แต่อาการปวดตามข้อ ข้อบวม เป็นหวัดเรื้อรัง ภูมิแพ้ โรคผิวหนัง โรคประดามีเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็มีสาเหตุมาจากการมีอามะสะสมในร่างกายเช่น เดียวกัน

อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าสาเหตุหลักๆ ของการเกิดอามะก็มาจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมนั่นเอง ทำให้ระบบย่อยอาหารเสียสมดุลทำงานแย่ลง นานๆ เข้าก็ทำให้สุขภาพไม่ดี
ศาสตร์แห่งชีวิตจึงให้ความสำคัญกับการกินอาหารอย่างเหมาะสมด้วยประการฉะนี้
โดยให้หลักว่ามีสิ่งที่ต้องระมัดระวังหรือคำนึงถึงอยู่ 3 อย่าง คือเวลาในการกิน ประเภทหรือลักษณะของอาหาร และปริมาณอาหารที่ควรกิน

สำหรับ เวลาในการกินนั้นมีหลักว่า ให้กินอาหารต่อเมื่ออาหารมื้อที่ก่อนหน้านั้นถูกย่อยหมดดีแล้ว วิธีสังเกตก็ให้ดูว่าเราหิวแล้วหรือยัง เมื่อไรที่หิว แสดงว่าร่างกายต้องการอาหารแล้ว เพราะอาหารที่กินเข้าไปก่อนหน้านั้นถูกย่อยไปเรียบร้อยแล้ว

ฉะนั้นเวลา ที่เหมาะสมในการกินอาหารในมุมมองของอายุรเวทจึงดูที่ปฏิกิริยาหรือสภาวะของ ร่างกายมากกว่าดูจากนาฬิกาว่าได้เวลาอาหารหรือยัง หรือกินเพราะใจมันอยาก
ลอง สังเกตดูก็ได้ในวิถีชีวิตทุกวันนี้บ่อยครั้งที่เรากินกลางวันเพราะถึงเวลา พักเที่ยงแล้ว ทั้งๆ ที่ยังไม่หิวเลย โดยเฉพาะวันไหนที่คุณกินข้าวเช้าสายหน่อย หรือคืนไหนที่มีงานเลี้ยงรุ่นงานเลี้ยงฉลองแต่งงาน มื้อค่ำวันนั้นคุณอาจกินจนต้องเดินเอนไปด้านหลังเพราะท้องกาง สังเกตว่าวันรุ่งขึ้นจะรู้สึกอึดอัดหนักเนื้อหนักตัว ไม่รู้สึกหิวข้าว แสดง ว่าอาหารมื้อก่อนยังย่อยไม่หมดดี ยังไม่ถึงเวลาที่จะกินมื้อใหม่ ขืนกินเข้าไปมื้อใหม่มื้อเก่าปนกันมั่วหมด กระเพาะลำไส้ต้องทำงานหนักขึ้น ทางที่ดีปล่อยให้กระเพาะค่อยๆ ย่อยอาหารมื้อก่อนให้สมบูรณ์ดีก่อนแล้วค่อยเติมของใหม่เข้าไป

บางคนกินก็เพราะอยากมากกว่าหิว อย่างนี้ก็ถือว่าไม่ใช่เวลาที่ควรกิน ควรจะกินเพราะหิวมากกว่า
ส่วน ประเภทหรือลักษณะของอาหารนั้น มีหลักกว้างๆ ว่า ให้กินอาหารที่ร้อนหรือปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ควรกินอาหารที่เก็บค้างคืน กินอาหารที่ย่อยง่าย ในขณะเดียวกันก็ควรเป็นประโยชน์ต่อร่างกายด้วย ขนบขบเคี้ยวประเภทกรอบแห้งทั้งหลายไม่ควรกินเพราะไม่ค่อยบำรุงร่างกายเท่าไร อย่างดีก็ทำให้หายอยาก ไม่ควรกินอาหารที่เราไม่คุ้นเคยหรืออาหารที่ร่างกายเราไม่ยอมรับ เช่น ใครที่แพ้อาหารทะเลหรือแพ้อาหารง่ายก็ต้องระวังเป็นพิเศษ

ส่วนปริมาณ อาหารที่ควรกินนั้น เขาไม่ได้มีหลักตายตัวว่าควรต้องกินข้าวกี่จาน กินโปรตีนหรือเนื้อสัตว์กี่กรัมกี่ก้อน แต่มีหลักว่าขึ้นอยู่กับลักษณะของอาหารที่กินด้วย ถ้าเป็นอาหารที่ย่อยง่ายก็สามารถกินได้มากขึ้น แต่ถ้าเป็นอาหารที่ย่อยยากก็ควรลดปริมาณลงให้สมน้ำสมเนื้อกับกระเพาะอาหาร ของเราแต่ละคน
ข้อแนะนำโดยทั่วไปก็คือให้กินอาหารที่เป็นของแข็งสัก ครึ่งหนึ่งของกระเพาะ เป็นของเหลวสักหนึ่งในสี่ ที่เหลืออีกหนึ่งในสี่ของกระเพาะเอาไว้ให้เป็นที่ว่างเพื่อให้กระเพาะคลุก เคล้าอาหารได้สะดวกในขณะที่กำลังย่อยอาหาร

นอกจากนี้ยังมีวัตรปฏิบัติ อื่นๆ อีกที่จะช่วยให้คุณกินอาหารได้เอร็ดอร่อยและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจ ด้วย ได้แก่ควรกินอาหารในที่ที่มีบรรยากาศดีน่ารื่นรมย์ สำรวมจิตใจในการกินไม่ควรกินอาหารในที่ที่มีบรรยากาศดีน่ารื่นรมย์ สำรวมจิตใจในการกินไม่ควรกินด้วยความเร่งรีบ อย่าเดินกินและหลังกินอาหารเสร็จใหม่ๆ ไม่ควรออกกำลังกาย และควรกินอาหารโดยตระหนักและคำนึงถึงสรรพชีวิตอื่นๆ ด้วย
ทำได้ดังนี้ถือเป็นการกินดีเพื่อชีวีมีสุขทั้งเราและสรรพชีวิตทั้งมวล

ข้อมูลโดย :
มูลนิธิสุขภาพไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น