พาริณี โลมาอินทร์
โครงการบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา แขนงชีววิทยา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ง าน วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายชนิดของปลาในหนองหาน กุมภวาปี วิถีชีวิต การใช้ประโยชน์จากปลา และภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับปลา โดยการสำรวจความหลากหลายชนิดของปลาในหนองหานกุมภวาปี โดยเก็บตัวอย่างปลาที่ท่าปลาบ้านเดียม และการสัมภาษณ์เชิงลึกประชากร ได้แก่ ผู้นำชุมชน ชาวประมง และประชาชนทั่วไป ในบ้านเชียงแหว บ้านแชแล บ้านดอนแก้ว และบ้านเดียม มีระยะเวลาในการทำวิจัยระหว่างเดือนกรกฏาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2549 ผลการศึกษามีดังนี้
สภาพภูมิศาสตร์และวิถี ชีวิตของประชาชนในหนองหานกุมภวาปี หมู่บ้านที่ทำการศึกษาเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ และติดต่อกับหนองหาน ประชาชนทั้งหมดสัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ภาษาถิ่นคือ ภาษาอีสาน ประชาชนมีอาชีพหลักคือ การรเกษตรกรรม อาชีพรอง คือ การทำประมงน้ำจืด และการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ สัตว์เลี้ยงในหมู่บ้านส่วนมากเป็นไก่ เป็ด วัว ควาย อดีตมีประเพณีตาม “ฮิตสิบสอง” คือการทำบุญทุกเดือนตามประเพณีที่สืบต่อกันมา ปัจจุบันประชาชนงดเว้นการทำบุญบางอย่างเนื่องจากข้อจำกัดของสถานที่ และประชาชนมีความเชื่อและทัศนคติเกี่ยวกับการเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนมีความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายด้านในการใช้ทรัพยากรจากหนองหน กุมภวาปี ประชาชนยังอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มีข้อตกลงและกฏเกณฑ์ของชุมชนเกี่ยวกับการจับปลา
ด้านการประมง ชาวประมงใช้ไส้เดือนเป็นเหยื่อเพื่อจับปลาทุกชนิด และการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายชนิดของปลา พบปลา 8 อันดับ 14 วงศ์ 25 ชนิด ประชาชนนิยมแปรรูปปลาเพื่อการค้า และปรุงอาหารจากปลารับประทานในครัวเรือนมีทั้งหมด 13 ตำรับ ชาวประมงใช้เครื่องมือในการจับปลา คือ เบ็ดลำอ้อ ดาง ลอบ แห เบ้ดลำไม้ไผ่ สะดุ้ง ลัน ไซ เป็ดราวหรือเบ็ดขึง และชนิดของปลาที่จับได้ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องมือจับปลาที่ใช้
จาก การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ครั้งที่ 1
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การศึกษา และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
1-3 พฤศจิกายน 2549
ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
The 1st Conference Science, Technology , Education and Local Wisdom for Sustainable Development
1-3 November 2006
Udonthani Rajabhat University
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น