NEWS EDITOR’S ROLE CONCERNING PUBLIC INTEREST UNDER TAKSIN GOVERNMENT
โสภิต หวังวิวัฒนา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมและสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
ว ัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของบรรณาธิการข่าว 3 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารฝ่ายข่าวจากองค์กรสื่อ 3 แห่ง ในการทำงานเพื่อสังคม ได้แก่ คุณเทพชัย หย่อง อดีตผู้อำนวยการฝ่ายข่าวสถานีโทรทัศน์ไอทีวี คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อดีตบรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจและคุณวีระ ประทีปชัยกูร อดีตบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ภายใต้บริบทของรัฐบาท พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตรว่า มีรูปแบบอย่างไร มีจุดยืนในทางวิชาชีพสื่อสารมวลชนอย่างไร และการมุ่งมั่นทำงานตามวิชาชีพส่งผลกระทบอย่างไรต่อบรรณาธิการทั้ง 3 คนโดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การค้นคว้าเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
ผลการวิจัย พบว่า บรรณาธิการทั้ง 3 คน มีจุดยืนเหมือนกันในด้านอุดมการณ์ทางวิชาชีพ คือ การทำหน้าที่ผู้บริหารฝ่ายข่าวหรือบรรณาธิการข่าว โดยมุ่งเน้นประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ ซึ่งส่งผลให้ปัญหาในสังคมหลายเรื่องถูกตีแผ่ เปิดเผยให้สังคมรับรู้และนำไปสู่การแก้ไขจนลุล่วงในที่สุด ทั้ง 3 คน ยังแสดงบทบาทสื่อมวลชนที่วิพากษ์วิจารณ์และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างตรงไปตรงมา ด้วยความเชื่อมั่นในเรื่องเสรีภาพของการแสดงความคิดเห็นและการทำหน้าที่สื่อ มวลชนที่รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะซึ่งมีบทบัญญัติตามมาตร า 41 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 รองรับเสรีภาพในการทำงานไว้ แต่ภายใต้โครงสร้างของระบอบทุนนิยม ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้นำรัฐบาลที่มีทั้งอำนาจทางการเมืองและอำนาจทุน นอกจากผู้บริหารสื่อจำต้องกำกับทิศทางให้สื่อของตนทำงานรับใช้สาธารณะซึ่งเป ็นบทบาทที่สังคมคาดหวังแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความอยู่รอดขององค์กรด้วย แรงกดดันจากกระแสภายนอกส่งผลให้ผู้บริหารสื่อต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายใน องค์กร และเกิดผลกระทบต่อบรรณาธิการข่าวทั้ง 3 คนต้องถูกโยกย้ายตำแหน่งงาน แต่ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไม่มีผลทำให้เขาเปลี่ยนจุดยืนหรือความเชื่อมั่นในการทำงานตามวิชาชีพด้วยควา มรับผิดชอบต่อสังคมแต่อย่างใด
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า หากต้องการให้สื่อมวลชนได้แสดงบทบาทแลทำหน้าที่ทางอุดมการณ์ทางวิชาชีพได้อย ่างเต็มที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมโดยรวมสิ่งสำคัญคือ ต้องให้กองบรรณาธิการมีอิสระในการทำงานอย่างแท้จริง ต้องแยกโครงสร้างผู้เป็นเจ้าของสื่อกับกองบรรณาธิการออกจากกันเพื่อป้องกันก ารถูกแทรกแซง ในขณะเดียวกันองค์กรวิชาชีพและภาคประชาชนจะต้องสร้างความเข้มแข็งเพื่อช่วยเ หลือสนับสนุนเมื่อสื่อมวลชนประสบปัญหาจากการทำงานตามวิชาชีพ เพราะพลังผลักดันจากภายนอกมีส่วนช่วยให้สื่อมวลชนสามารถสร้างการต่อรองกับผู ้บริหาร ทำให้สื่อมวลชนทำงานรับใช้สังคมได้อย่างเต็มที่
จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น