++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2550

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพคล่องดัชนีหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีกลุ่มดัชนี SET 50

FACTOR FOR INFULENCE LIQUIDITY STOCK OF SET INDEX; IN CASE SET 50 INDEX

ชัยยศ อมรบุญปีติ
นักศึกษาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ก ารซื้อขายหลักทรัพย์มีการเปลี่ยนมือระหว่างนักลงทุนตลอดเวลา ในกลุ่มดัชนีหลักทรัพย์ SET 50 มีการจัดลำดับกลุ่มดัชนีหลักทรัพย์ที่มีการหมุนเวียนหลักทรัพย์มากสุดในตลาด สภาพคล่องถูกวัดจากการหมุนเวียนหลักทรัพย์กลุ่มที่มีการจัดอันดับ ได้แก่ กลุ่มธนาคาร กลุ่มพลังงาน กลุ่มสถาบันการเงิน กลุ่มอุตสาหกรรมสื่อสาร กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์

วัตถุประสงค์ เพื่อหาแนวทางให้บริษัทนำปัจจัยดังกล่าวใช้เพิ่มสภาพคล่องดัชนีหลักทรัพย์ SET 50 การศึกษาโดยใช้ Run regression ใช้แบบจำลอง Pool Cross Section ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 ถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ตัวแปรต้นที่ใช้ คือ การแตกหุ้น ราคาหลักทรัพย์ ขนาดหลักทรัพย์ ผลประกอบการ การประกาศจ่ายเงินปันผล สินทรัพย์รวม ความผันผวนราคา ตัวแปรตาม ได้แก่ การหมุนเวียนหลักทรัพย์ แสดงถึงสภาพคล่องหลักทรัพย์หมายความว่า เมื่อหลักทรัพย์มีการเปลี่ยนมือจากนักลงทุนกลุ่มหนึ่งไปอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งนั กลงทุนนั้นได้รับหลักทรัพย์ตามที่ต้องการ

ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรต้นที่มีอิทธิพลต่อสัดส่วนการหมุนเวียนหลักทรัพย์ คือ การแตกหุ้น กับความผันผวนของราคา ในขณะที่การแตกหุ้นในกลุ่ม SET 50 มีเพียง 15 บริษัท สามารถอธิบายสภาพคล่องหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET 50 ที่ระดับนัยสำคัญ 1% การทดสอบตรงกับการศึกษาในอดีตของ Dennis and Strickland (1998) ในช่วงเวลาแตกหุ้นทำให้ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้น และการหมุนเวียนหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นด้วย เมื่อมีการแตกหุ้นทำให้สัดส่วนการหมุนเวียนหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น

ส่วน ความผันผวนของราคา ผลทดสอบว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาสูงขึ้นทำให้สัดส่วนการหมุนเวียนหลักทรัพย์ เพิ่มขึ้น ที่ระดับนัยสำคัญ 5% สภาพคล่องหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น กล่าวได้ว่า ช่วงเวลาที่ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับราคาดึงดูดนักลงทุนเข้ามาทำการซื้ อขายเนื่องจากผลตอบแทนที่ได้รับจากส่วนเกินของราคาเป็นแรงจูงใจทำให้นักลงทุ นซื้อขายช่วงเวลานั้น และการเปลี่ยนแปลงปัจจัยมหภาคทำให้การซื้อขายและสภาพคล่องหลักทรัพย์สูงขึ้น ผลตอบแทนที่ได้รับสูงขึ้นตรงกับแนวคิดของ Juna, Maratheb and Shawkyc (2002)

ส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านผลประกอบการ ปัจจัยด้านขนาดหลักทรัพย์ ปัจจัยการขึ้นเครื่องหมาย XD พบว่าปัจจัยดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กับสภาพคล่องหรือมีความสัมพันธ์กันเอง

ข ้อสรุปที่ได้จากการศึกษาข้างต้นและผลการวิเคราะห์สภาพคล่องตลาดเป็นแนวทางให ้บริษัททำการแตกหุ้นเมื่อระดับราคาไม่ตอบสนองต่อสัดส่วนการหมุนเวียนหลักทรั พย์หรือมีการตอบสนองต่อสัดส่วนการหมุนเวียยหลักทรัพย์ลดลง

ข้อเสนอแนะ ความสัมพันธ์ในสภาพคล่องและความผันผวนเพียงมีเกณฑ์วัดสภาพคล่องปัจจัยเดียว ซึ่งสามารถขยายตัวแปรที่ใช้วัด จำนวนกลุ่มหลักทรัพย์ การแบ่งกลุ่มหลักทรัพย์ พิจารณาโครงสร้างปัจจัยมหภาค และการทดสอบการคาดการณ์ของปัจจัยกลุ่ม และศึกษาปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์กลุ่ม SET 50 ของนักลงทุนต่างชาติและสร้างดัชนีนักลงทุนต่างประเทศเพื่อชี้วัดได้ถูกต้องแ ละพัฒนากฎเกณฑ์ในการกำหนดนโยบายเพื่อเสริมสภาพคล่องของหลักทรัพย์ จะทำให้การศึกษานี้สมบูรณ์เป็นประโยชน์และชัดเจนมากขึ้น

จาก การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ.2550 ณ อาคารอาทิตย์อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น