++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

การศึกษาพฤติกรรมการรับน้ำหนักของฐานรากตื้นบนดินลมหอบแบบขอนแก่น จากแบบจำลองในห้องปฏิบัติการ

การศึกษาพฤติกรรมการรับน้ำหนักของฐานรากตื้นบนดินลมหอบแบบขอนแก่น จากแบบจำลองในห้องปฏิบัติการ

The Behavior of Shallow Foundation on Loess Subsoil from Physical Modeling

โกศวัต ช่างจัตุรัส (Kosawat Changjutturas) *

ดร.พงศกร พรรณรัตนศิลป์ (Dr.Pongsakorn Punrattanasin) **

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้นำเสนอผลการศึกษาพฤติกรรมและค่ากำลังรับน้ำหนักของฐานรากตื้น บนดินลมหอบแบบขอนแก่น จากการทดสอบกับแบบจำลองในห้องปฏิบัติการ ภายใต้ชุดเครื่องมือทดสอบใหม่ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้วิเคราะห์รูปแบบการวิบัติของดิน ซึ่งเครื่องมือสามารถจำลองการให้แรงกระทำต่อฐานรากชนิดต่างๆได้อีกด้วย จากความสัมพันธ์ของแรงและการเคลื่อนตัว สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่ากำลังแบกทานของดินได้ ในการศึกษาครั้งนี้ได้นำดินลมหอบแบบขอนแก่น ซึ่งมีปัญหาเรื่องการสูญเสียกำลังรับน้ำหนักเมื่อมีความชื้นเพิ่มขึ้นมาทำการศึกษาเป็นครั้งแรก โดยแบ่งตัวอย่างออกเป็น 2 ชุดทดสอบคือ ตัวอย่างแบบคงสภาพในสภาพความชื้นตามธรรมชาติ และในสภาพการเพิ่มความชื้น ผลการทดลองที่ได้แสดงค่ากำลังน้ำหนักของดินซึ่งจะลดลงเมื่อปริมาณความชื้นในดินเพิ่มสูงขึ้น และจากชุดทดสอบแบบโปร่งใสทำให้สามารถมองเห็นการเคลื่อนตัว ซึ่งสามารถวิเคราะห์รูปแบบการวิบัติของมวลดนใต้ฐานรากได้ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ศึกษากับดินลมหอบที่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์อีกด้วย โดยผลการทดสอบแสดงให้ว่าปูนซีเมนต์ได้ช่วยเพิ่มค่ากำลังน้ำหนักให้มากขึ้น

ABSTRACT

This research is to study the behavior and the bearing capacity of shallow foundation on loess subsoil. The study is performed only in the laboratory by using the 1g-physical modeling test. The new equipment was newly designed and developed in order to study the type of soil failure after performing the loading test. The load-settlement relationship from the test can indicate the bearing capacity of the soil. In this study, the Khon Kaen loess was selected as a first project in the use of this new equipment. The undisturbed samples were excavated from the field and to be tested under natural water content and under wet conditions. The results show that the addition water can dramatically reduce the bearing capacity of the loess and the image recorded during the test shows the shape of soil deformation under the shallow footing. The study also performed with the treated loess by adding the cement to the soil. The results show cement can dramatically increase the bearing capacity of the soil.


คำสำคัญ
: ดินลมหอบ การวิบัติของดิน กำลังรับน้ำหนัก

Key words : Loess Soil, Soil Failure, Bearing Capacity

* นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น