Page 1
ข่าวสารญาณเวศก์ จดหมายข่าวงานพระพุทธศาสนาของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) เวียนเทียนวันวิสาขบูชา วัดญาณเวศกวัน กำาหนดพิธีเวียนเทียนในวันวิสาขบูชา วันจันทร์ที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ มีกำาหนดการดังนี้๑๗.๐๐ น. บุพภาคแห่งพิธี - พุทธบริษัทพร้อมกันที่อุโบสถวัดญาณเวศกวัน - ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย - อาราธนาศีล รับศีล - ตัวแทนสงฆ์แสดงธรรมกถา๑๘.๐๐ น. พิธีเวียนเทียน - เจ้าหน้าที่ ถวายดอกไม้ธูปเทียนแก่พระสงฆ์ - ประธานสงฆ์นำากล่าวคำาบูชาเครื่องสักการะ - พระสงฆ์ตั้งแถว เดินนำาเวียนเทียนรอบอุโบสถเสร็จแล้วเป็นจบพิธี บวชพระนอกพรรษา ๒๕๕๕ รุ่นที่ ๒-๓ เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๑๔.๐๐ น.วัดญาณเวศกวัน จัดให้มีพิธีอุปสมบทนาคเป็นภิกษุใหม่ ๘ รูป คือ ๑. นายธีรวัฒน์ อุดมยิ่งเจริญ ๒. นายนาทวัฒน์ แก้วเทพ ๓. นายพิศุทธิ์ ศรีวรรณวิทย์ ๔. นายจุนพงศ์ เหล่าศิริรัตน์ ๕. นายเดชามนต์ แก้วเกตุ ๖. นายกฤช พรหมสุทธิ ๗. นายนนทัช ขันธรูป ๘. นายกรณ์ สุขุมเจริญภัณฑ์ เนื่องจากสภาพร่างกายของพระพรหมคุณาภรณ์ ไม่เอื้อต่อการทำาหน้าที่อุปัชฌาย์ จึงได้ตกลงโดยความพร้อมใจของผู้ขอบวช ให้ทางวัดนิมนต์ พระราชรัตนมุนี (ปญฺญาสิริ) เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม วัดพระปฐมเจดีย์ เป็นอุปัชฌาย์ และในวันเสาร์ที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ทางวัดจะจัดให้มีพิธีอุปสมบทนาคเป็นภิกษุใหม่อีก ๑ รุ่นก่อนเข้าพรรษา จำานวน ๙ รูป คือ ๑. นายสรรค์พัชญ เต็มบุญเกียรติ ๒. นายวสุ พัฒนกิจจารักษ์ ๓. นายธนิสร์ ธนสมบัติสกุล ๔. นายนพพร อัญญธนากร ๕. นายดนัยณัฐ ปัทมวรคุณ ๖. นายกฤชสร จารุพศิน ๗. นายเสกสรร วศิโนภาส ๘. นายสหัชยศ รัศมินทราทิพย์ ๙. นายไตรวัฒน์ จันทร์วิทยานุชิต สำาหรับภิกษุใหม่รุ่นนี้ ได้นิมนต์พระพิมลสมณคุณ (อินฺทวำโส) วัดไร่ขิง เป็นอุปัชฌาย์ และจะบวชเรียนอยู่ที่วัดเป็นเวลา ๑ เดือน ศอน. ถวายเกียรติบัตรและพัดรองสดุดี สมาคมศูนย์ประสานงานองค์การเอกชนจังหวัดนครปฐม (ศอน.) ได้จัดงานประจำาปี “ชื่นชมอุดมการณ์ ครั้งที่ ๑๐” เพื่อเชิดชู ชื่นชม และขอบคุณกลุ่มองค์กรภาคเอกชน ที่ทำางานเพื่อส่วนรวมโดยมิได้รับสิ่งตอบแทน เป็นการให้กำาลังใจและส่งเสริมให้คนทำาความดีเพื่อส่วนรวมต่อไป โดยในปีนี้ คณะกรรมการสมาคม มีมติถวายประกาศเกียรติคุณพร้อมพัดรองแด่ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ในฐานะพระสงฆ์ดีเด่น ผู้เป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมและความดีงามในสังคม ในการนี้ ดร.วิสุทธิ วิทยฐานกรณ์ นายกสมาคมฯ และคณะ เป็นผู้แทนนำาเกียรติบัตรและพัดรอง มาถวายที่วัดญาณเวศกวันเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๕ แต่เนื่องจาก พระพรหมคุณาภรณ์ ยังพักรักษาอาการอาพาธอยู่ในชนบท พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ รองเจ้าอาวาส จึงเป็นผู้รับฝากไว้ สำ�นักง�น: วัดญ�ณเวศกวัน ต.บ�งกระทึก อ.ส�มพร�น จ.นครปฐม 73210 โทรศัพท์ 02-889-4396, 02-482-7365, 02-482-7375 โทรส�ร กด 103 www.watnyanaves.net . พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ .พระชัยยศ พุทฺธิวโร .พระปณต คุณวฑฺโฒ .พระวีรภัทร ถิร�โณ .ก�นด� อ�รย�งกูร (081-757-0768) มีกิจกรรมและเรื่องที่ควรทราบ ดังนี้ ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๑ : มิถุนายน ๒๕๕๕ วิสาขบูชา ๒๕๕๕
Page 2
พระพรหมคุณาภรณ์ อาพาธโรคอะไร? เมื่อมีผู้ถาม ควรตอบ/ให้อ่าน อย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา ไม่พึงปิดบัง/สงวนท่าที๑. โรคปอด ไออย่างรุนแรงมากว่า ๑๐ ปี แล้ววันหนึ่งหายไอฉับพลัน แต่เปลี่ยนจากผู้ไม่รู้จักง่วง กลายเป็นผู้ที่ซึมง่วงทั้งวัน แพทย์ว่าหยุดไอ เพราะหมดกำาลังที่จะไอ (หลอดลมและ กะบังลมถูกแรงอัดกระแทกมานาน) และ ง่วงซึม เพราะหายใจได้น้อย สมองจึงขาดออกซิเจน๒. โรคหัวใจ จากการทำา MRI และ CT Scan แพทย์พบว่าเป็นโรค ARVD กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาร่อยสลายลงไปเรื่อยๆ มีกำาลังบีบตัวเพียง 40% (+ส่งผลให้สมองขาดออกซิเจน) อาการเด่นของโรคนี้คือ หัวใจหยุดเต้นฉับพลัน๓. โรคตา ตาเอียงอย่างหนักมาแต่กำาเนิด (ชนิดที่ผ่าตัด เช่น LASIK แก้ไม่ได้) ได้เลิกฝืนใช้สายตา ไม่อ่านหนังสือเล่มมาหลายปีแล้ว (อ่านเฉพาะเอกสารที่จำาเป็น ๒-๓ หน้า) จึงขอโปรดงดฝากถวายหนังสือ (เป็นของเสียเปล่า) (ตาเป็นต้อหินทั้งสองข้างมาหลายปีแล้วด้วย)วันอังคารที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ หนังสือพิมพ์ใหม่ ๑. ไตรลักษณ์๒. ปฏิจจสมุปบาท๓. ประโยชน์สูงสุดของชีวิตนี้ หนังสือ ๓ เล่ม สามเรื่องนี้ ก็คือ บทที่ ๓ บทที่ ๔ และบทที่ ๖ ของหนังสือ พุทธธรรม เล่มใหญ่ คุณนพพร บุณยประสิทธิ์ ขออนุญาตพิมพ์แจกเนื่องในมงคลวาร อายุครบ ๖๐ ปี ในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๕ วัดญาณเวศกวัน ได้สมทบพิมพ์ไว้ส่วนหนึ่งด้วย๔. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย (๑,๓๖๐ หน้า) พิมพ์ครั้งที่ ๓๕ (การพิมพ์ครั้งที่ ๔ ของฉบับข้อมูลคอมพิวเตอร์) พฤษภาคม ๒๕๕๕ก) แบบแยกภาค ๓ เล่ม ขออนุญาตพิมพ์โดย หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ร่วมด้วยกองทุนเกื้อโลก, นางลัดดา รักตะกนิษฐ, น.ส.อุษา และ พ.อ. น.พ.ชาญชัย ติกขะปัญโญ และคณะผู้ศรัทธา ข) แบบรวม เล่มเดียว ขออนุญาตพิมพ์โดย บริษัท เพ็ญบุญจัดจำาหน่าย จำากัด, โรงพยาบาลจักษุรัตนิน, นายแพทย์สรรพัฒน์-คุณศิริธร รัตนิน และคณะผู้ศรัทธา๕. มองหนังสือ พุทธธรรม ถามหาอนาคต (๕๗ หน้า) เขียนเล่าแทนคำาตอบ แก่หอจดหมายเหตพุทธทาส อินท-ปัญโญ ที่ส่ง “บทสัมภาษณ์วิเศษ” มา เป็นคำาถาม ๑๐ ข้อเกี่ยวกับหนังสือ พุทธธรรม ฉบับปรับขยายอะไรๆ มิใช่ง่ายๆ ไม่ได้ลงตัวอย่างนั้น เราแบ่งเวลาซอยลงไปให้นับได้สะดวกว่า วันหนึ่งมี ๒๔ ชั่วโมง คือโลกหมุนรอบตัวเอง รอบละ ๒๔ ชั่วโมง แต่เมื่อนับให้แม่นตรงจริงๆ โลกหมุนรอบตัวเอง รอบละ ๒๓ ชั่วโมง ๕๖ นาที ๔.๐๙ วินาที คือ ไม่เต็ม ๒๔ ชั่วโมง เราบอกว่า เดือนหนึ่ง คือ พระจันทร์หมุนรอบโลกรอบหนึ่ง ๓๐ วัน แต่เมื่อนับให้แม่นตรงจริงๆ พระจันทร์หมุนรอบโลกรอบหนึ่ง ๒๙ วัน ๑๒ ชั่วโมง ๔๓ นาที คือ ไม่เต็ม ๓๐ วัน นี่เป็นเหตุให้เราหาทางจัดให้ตรง โดยจัดเดือนเรียงเข้าคู่กัน เป็นเดือนเต็ม (เดือนคู่) มี ๓๐ วัน กับเดือนขาด (เดือนคี่) มี ๒๙ วัน รวมสองเดือนคู่หนึ่งเป็น ๕๙ วัน แต่ก็ยังไม่ตรงแท้จริง เพราะเดือนที่แท้ ๒ เดือนมี ๕๙ วัน ๑ ชั่วโมง ๒๖ นาที (ขาดไปเกือบชั่วโมงครึ่ง) นี่คือทิ้งปัญหาไว้ให้หาทางแก้ไขกันต่อไป ทีนี้ เราบอกว่า โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์รอบหนึ่ง เรียกว่าปีจัดวัน-เดือน-ปี อย่างไรๆ ก็ไม่ลงตัวจริง คนเรานับวันเวลาตามธรรมดาแห่งการหมุนเวียนของโลก ของดวงจันทร์ และของดวงอาทิตย์ ที่เห็นกันอยู่เป็นประจำานี่เอง โลกหมุนรอบตัวเอง นับจากพระอาทิตย์ ที่โบราณเรียกว่า “ตะวัน” ขึ้น ถึงตะวันตก ผ่านไปจนดวงตะวันนั้นขึ้นมาใหม่ ครบรอบหนึ่ง ก็ว่า วัน หนึ่ง ดวงจันทร์ ที่โบราณเรียกว่า “เดือน” หมุนรอบโลก นับจากเดือนหายมืดเริ่มข้างขึ้น ถึงเดือนเต็มดวง แล้วดวงเดือนนั้นแรม ลงๆ ผ่านไปจนเดือนแรมลับดับมืดมิดหมดดวงอีก ครบรอบหนึ่ง ได้ ๓๐ วัน ก็ว่า เดือน หนึ่ง โลกหมุนไปวันหนึ่งๆ เห็นตะวันขึ้น-ตะวันตก ผ่านไปทีละวัน แล้วก็ทีละเดือน จนวนรอบพระอาทิตย์นั้น นับได้ ๑๒ เดือน ครบรอบหนึ่ง ก็ว่า ปี หนึ่ง ถ้าพูดรวมๆ คลุมๆ อย่างนี้ ก็ง่าย แต่พอมองให้ละเอียดลงไป อธิกมาส
Page 3
หนึ่ง มี ๑๒ เดือน แต่พอดูให้ละเอียด นับออกมาเป็นจำานวนวัน ก็พบว่า โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์รอบหนึ่ง คือปีหนึ่งนั้น ใช้เวลา ๓๖๕ วัน ๖ ชั่วโมง ๙ นาที ๙.๕๔ วินาที หันกลับไปดูเวลา ๑๒ เดือนที่ว่าเป็น ๑ ปีนั้น เมื่อกี้นับไว้แล้วว่า สองเดือนคู่หนึ่งมี ๕๙ วัน ๑๒ เดือน คือ ๖ คู่ รวมทั้งหมดก็เป็น ๓๕๔ วัน ดังนั้น ที่ว่า ๑๒ เดือนเป็น ๑ ปี ยังไม่ตรงจริง คิดละเอียด ขาดไปถึง ๑๑ วัน ๖ ชั่วโมง ๙ นาที ๙.๕๔ วินาที เป็นอันว่า ไม่ลงตัว ไม่ตรงกันแท้จริงเลย เป็นปัญหามากในระยะยาว เมื่อนับกันเป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่นปี ถ้าไม่จัดวิธีนับให้ดี ก็จะผิดจากความจริงไปแสนไกล แต่ตรงนี้ ทิ้งไว้ก่อน หันไปมองกว้างๆ สำาหรับคนทั่วไปอย่างชาวบ้าน การดูเวลารอบปีหนึ่ง ก็มองที่การหมุนเวียนของฤดูกาล เช่น ฝนมา ผ่านเข้าหนาว แล้วก็ร้อน สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของต้นไม้ ใบหญ้า บรรดาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนตำาแหน่งขึ้น-ลงของดวงอาทิตย์ เมื่อมีวิธีนับ ๑๒ เดือนของพระจันทร์ ว่าเป็นปีหนึ่งนั้น ดูใกล้ สั้นๆ ก็สอดคล้องกันดี แต่พอเวลาผ่านไปนานๆ หลายปี ก็เห็นชัดว่าปีนั้นร่นสั้นเข้าๆ ไม่ตรงกับฤดูกาลที่เป็นจริง เพราะฤดูกาลนั้นเป็นไปตามการโคจรของดวงอาทิตย์ (ที่จริงคือตามการหมุนเวียนของโลกรอบดวงอาทิตย์) เมื่อดูตามการโคจรของดวงอาทิตย์ ก็นับออกมาว่าปีหนึ่งมี ๓๖๕ วัน พอเทียบปีแบบพระจันทร์ กับปีแบบพระอาทิตย์ ปรากฏว่า ปีหนึ่ง คือ ๑๒ เดือนแบบพระจันทร์นั้น ตัวเลขจำานวนวันขาดไปมากมายอย่างที่ว่าแล้ว คราวนี้ คนพวกหนึ่งก็คิดว่าไม่ต้องคำานึงถึงพระจันทร์ละ จัดแบ่ง ๑๒ เดือนใหม่จากจำานวนวันที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์โดยตรงเลย จะได้แน่ลงไปเสียที ก็เอา ๑๒ หารจำานวนวันของปี คือ ๓๖๕ วัน ๖ ชั่วโมง ๙ นาที ๙.๕๔ วินาที ปรากฏว่าหารไม่ลงตัว (แค่วันอย่างเดียว ก็มีเศษ เป็น ๓๐.๔๑๖๖… วัน) จะทำาอย่างไร ไปๆ มาๆ ก็เลยจัดแบ่งเป็นเดือนละ ๓๐ วันบ้าง ๓๑ วันบ้าง ได้เดือนที่มี ๓๐ วัน รวม ๔ เดือน และได้เดือนที่มี ๓๑ วัน รวม ๗ เดือน ก็ยังไม่ลงตัวอีก ยังมีเศษเหลือ ๒๘ วัน ก็เลยจัดเป็นเดือนพิเศษมี ๒๘ วันเสียเดือนหนึ่ง (ที่เรียกเป็นไทยว่า เดือนกุมภาพันธ์) เป็นอันได้ปีหนึ่งที่มี ๑๒ เดือนนั้นครบ ๓๖๕ วัน (นับโดยถือตามพระอาทิตย์ หรือเอาดวงอาทิตย์เป็นหลักอย่างนี้ เรียกว่า “สุริยคติ” ส่วนการนับแบบก่อนที่ถือดวงจันทร์เป็นหลัก เรียกว่า “จันทรคติ”) ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เต็มปีจริง เพราะเศษ ๖ ชั่วโมง ๙ นาที ๙.๕๔ วินาที ยังหายไป จะทำาอย่างไร ในที่สุด ก็จัดแถมขึ้นมาว่า เมื่อปีหนึ่งๆ มี ๓๖๕ วันมาตามปกติ แต่ปีใดหารด้วยเลข ๔ ลงตัว (ต้องใช้เลขปีคริสต์ศักราช) ให้เป็นปีอธิกสุรทิน (leap year) มี ๓๖๖ วัน โดยเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์ที่มี ๒๘ วัน ให้เป็น ๒๙ วัน (เรียกวันที่เพิ่ม คือวันที่ ๒๙ นี้ว่า “อธิกสุรทิน”) แต่ทั้งนี้ยกเว้นว่า ถ้าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย 00 ต้องหารด้วย 400 ลงตัว จึงจะเป็นปีอธิกสุรทิน ที่มี ๓๖๖ วัน ยุติว่าลงตัวเสียที (แต่ก็ยังหยาบอยู่ ถ้าจะให้ละเอียดจริง ก็ยังไม่ตรงพอดีแท้ เอาแค่ว่าใกล้เคียงที่สุดพอที่จะใช้กันไปได้จนถึงประมาณ ค.ศ. 5000 จึงค่อยจัดปรับกันใหม่)จัดตั้ง “อธิกมาส” มาช่วย ให้วันเดือนปีลงตัวไปขั้นหนึ่ง ทีนี้ หันกลับไปดูเดือนแบบพระจันทร์ (จันทรคติ) ที่ว่า ปีหนึ่งมี ๑๒ เดือน ตั้งแต่เดือนอ้าย เดือนยี่ ฯลฯ ไปจนถึงเดือน ๑๑ และเดือน ๑๒ มีเดือนเต็ม เดือนขาด สลับกันไป รวมทั้งหมดได้แค่ ๓๕๔ วัน ซึ่งไม่เต็มปีที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์จริง ขาดไปถึง ๑๑ วัน ๖ ชั่วโมง ๙ นาที ๙.๕๔ วินาที จะทำาอย่างไร ถ้าวันไม่ครบอย่างนี้ เวลาผ่านไปไม่กี่ปี เดือนทั้งหลายก็จะร่นหดเข้ามาๆ เช่น เดือน ๖ ร่นเข้ามาอยู่ตรงที่เคยเป็นเดือน ๕ แล้วก็ร่นต่อมาอยู่ตรงที่ของเดือน ๔ ฯลฯ ซึ่งจะไม่ตรงกับฤดูกาลในปีก่อนๆ เฉพาะอย่างยิ่ง คนในสมัยโบราณมีชีวิตอยู่กับเกษตรกรรม ต้องทำาไร่ทำานาเพาะปลูกไถหว่านเก็บเกี่ยวให้ตรงตามฤดูกาล มีฤดูฝนเป็นจุดสังเกตที่เด่นชัดที่สุด จนกระทั่งชาวชมพูทวีปเอาฤดูฝน คือ วัสสะ (=พรรษา) เป็นตัวแทนของปี เรียกเท่านั้นเท่านี้ปี ว่าเท่านั้นเท่านี้ฝน (คน ๑๖ ฝน หรือ ๑๖ วัสสะ ก็คือมีอายุ ๑๖ ปี) เป็นอันว่า จะต้องให้บรรดาเดือนพระจันทร์ที่ว่ามา อยู่ในปีนั้นๆ ตรงที่เดิมของมัน เฉพาะอย่างยิ่ง เดือน ๘ ให้อยู่ตรงเวลาเริ่มฤดูวัสสะ หรือพรรษา คือเริ่มฤดูฝน เมื่อมันร่นเข้ามาไม่ตรง ก็ต้องหาวิธีจัดให้ลงตัว และก็ได้จัดวางวิธีกันไว้แล้วตั้งแต่โบราณกาล ดังที่คัมภีร์บาลีเล่าว่า “ทุก ๓ ปี (ทุกวัสสะที่ ๓) ราชาทั้งหลาย (=ทางการบ้านเมือง) เลื่อนวัสสะขึ้นไป” (ราชาโน ตติเย ตติเย วสฺเส วสฺสำ อุกฺกฑฺฒนฺติ, วินย.อ.๒/๔๖๒ ) ท่านอธิบายว่า ในปีที่ ๓ เขาสละเวลาทิ้งเปล่าเสียเดือนหนึ่ง โดยจัดให้เป็นเดือนเกิน (อธิกมาส) จึง (เป็นการ) เลื่อนฤดูฝนออกไป เพราะฉะนั้น ปีที่ ๓ จึงมี ๑๓ เดือน (นี่แสดงด้วยว่า การเลื่อนพรรษาไม่ใช่ว่าพระสงฆ์มาเริ่ม แต่ชาวบ้านชาวเมืองเขาอยู่เขาทำากันมาอย่างนั้น เพราะความจำาเป็นในการเป็นอยู่และการทำามาหากินของเขา)
Page 4
เป็นอันว่า ๓ ปี จัดให้มีเดือนเกินทิ้งเปล่า (อธิกมาส) เสียเดือนหนึ่ง ดังนั้น เวลา ๓ ปีนั้นจึงมี ๓๗ เดือน คิดเป็นจำานวนวัน (ปีละ ๓๕๔ วัน และเพิ่มอีก ๓๐ วัน) ได้ ๑,๐๙๒ วัน ก็เอามาเทียบกันดู ที่ว่าปีหนึ่งโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์มี ๓๖๕ วัน รวม ๓ ปี ได้ ๑,๐๙๕ วัน ถือว่าใกล้เคียงกันมาก เดือนที่เข้าฤดูฝนคือวัสสะหรือพรรษานั้น ได้แก่ที่คนไทยเรียกว่าเดือน ๘ ภาษาบาลีเรียกว่า “อาสาฬหมาส” เมื่อจัดให้มีอธิกมาสเป็นเดือนเกินอีกเดือนหนึ่ง ก็จึงเป็น ๒ อาสาฬหมาส มีคำาบาลีในคัมภีร์รุ่นฎีกาเรียกว่า ปฐมาสาฬหมาส (คนไทยเรียกว่า เดือนแปดแรก) และ ทุติยาสาฬหมาส (คนไทยเรียกว่า เดือนแปดหลัง) ตามลำาดับ (เช่น วินยาลงฺการฏีกา, ฉบับอักษรพม่า, ๑/๔๑๙)๑ อย่างไรก็ตาม จะเห็นชัดจากที่กล่าวมาแล้วว่า การที่จัดให้ ๓ ปีมีอธิกมาสครั้งหนึ่งนั้น ปีจันทรคติ กับปีสุริยคติก็ยังไม่ลงตัวเท่ากันจริง (นี่ขนาดเอาแค่วัน ยังไม่คิดละเอียดลงไปถึงชั่วโมง นาที และวินาที ก็ยังต่างกัน ๓ วัน คือ ๑,๐๙๒ วัน กับ ๑,๐๙๕ วัน) ดังนั้น การจัดวางให้ ๓ ปีมีอธิกมาสครั้งหนึ่งนี้ จึงเป็นการกำาหนดอย่างหยาบๆ คร่าวๆ ด้วยเหตุนี้ ท่านผู้ชำานาญทางดาราศาสตร์หลายท่านจึงพยายามจัดวางกำาหนดให้ได้เวลาที่แม่นยำาที่สุด (หรือที่จริงก็คือให้แม่นยำากว่าแบบที่ว่าเมื่อกี้) จนกระทั่งได้มีความนิยมจัดวางกำาหนดอธิกมาสว่า ในเวลา ๑๙ ปี มี ๗ อธิกมาส ถึงกับจัดช่วงกำาหนดลงไปด้วย เป็น ๓-๓-๓-๒-๓-๓-๒ (ตามกำาหนดอย่างง่ายของโบราณ ใน ๑๘ ปี มี ๖ อธิกมาส โดยให้ตัวเลขลงตัวเป็นช่วงละ ๓ ปีเท่ากันหมด) ตามกำาหนดนี้ แบบจันทรคติ ๑๙ ปี + ๗ อธิกมาส = ๖,๙๓๖ วัน เทียบแบบ สุริยคติ ๑๙ ปี x ๓๖๕ วัน = ๖,๙๓๕ วัน ใกล้เคียงกันมาก (ต่างกัน ๑ วัน, นี่คิดหยาบๆ แค่วัน ยังไม่ได้นำาเอาจำานวนชั่วโมง นาที และวินาที มารวมด้วย) อัตราการโคจรของดวงดาว ทั้งดาวฤกษ์และดาวบริวารทั้งหลาย ซึ่งล้วนเคลื่อนที่เคลื่อนไหวอยู่ แต่ละดวงนับตัวเลขออกมาละเอียดซับซ้อนมาก ยิ่งนำามาโยงกันเข้าเป็นระบบและมองถึงความสัมพันธ์ในกาลยาวไกล ก็ยิ่งลงตัวกันยาก ท่านผู้เชี่ยวชาญก็ไม่ระย่อ แต่ได้พยายามจัดวางเกณฑ์ต่างๆ เข้ามาช่วยเสริมช่วยแซมให้แม่นยำาลงตัวเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังที่ยังมีเกณฑ์ที่วางเพิ่มขึ้นมาเพื่อเติมส่วนที่ละเอียดอีกว่า เมื่อทางฝ่ายจันทรคติขาดนิดขาดหน่อยสะสมไปนานๆ พอครบวันหนึ่ง ก็เติมด้วยการเพิ่ม “อธิกวาร” เข้าไป โดยให้เดือน ๗ ซึ่งเป็นเดือนคี่ เป็นเดือนขาด สิ้นเดือนแค่แรม ๑๔ ค่ำา แต่คราวนี้ทำาเดือน ๗ นั้นให้เป็นเดือนเต็ม โดยเพิ่มให้มีแรม ๑๕ ค่ำา เป็นอธิกวาร (วันเกิน คือวันที่เพิ่มเข้ามา) เป็นอันได้มาอีก ๑ วัน ส่วนในเรื่องอธิกมาสนั้น บางท่านที่ชำานาญทางดาราศาสตร์ไม่เอาแค่ที่อรรถกถาบอกว่า “ราชาทั้งหลาย (คือทางการบ้านเมือง) เลื่อนวัสสะคือฤดูฝนออกไป” แต่ท่านต้องการให้ได้กำาหนดที่แม่นยำาแท้ จึงคำานวณหาว่าอธิกมาสแต่ละครั้งจะตกในเดือนไหน ฤดูใด คือดูว่าเติมอธิกมาสตอนไหน จึงจะตรงกับเวลาที่สั้นกว่าอันขาดอยู่ของฝ่ายจันทรคติ จะเต็มขึ้นมาเท่ากับฝ่ายสุริยคติ (จุดที่ปีจันทรคติ สั้นกว่าปีสุริยคติ ๑ เดือนเต็มพอดี) ซึ่งเป็นจุดที่ต่างกันไป (บางครั้งตกในเดือนยี่ บางครั้งเดือน ๓ บางครั้งเดือน ๗ บางครั้งเดือน ๑๐ บางครั้งเดือน ๑๒) อันจะต้องบอกแจ้งสำาหรับแต่ละครั้งนั้นๆ บอกเป็นยุติอย่างเดียวไม่ได้ (กับทั้งปรากฏอีกด้วยว่า เกณฑ์การคำานวณที่ตั้งกันไว้ ยังไม่ปลอดโปร่งลงตัวแท้ ยังมีข้อสงสัยหรือการเถียงแย้งกันระหว่างผู้ชำานาญ ตลอดจนการตรวจสอบภายหลังว่าคลาดเคลื่อนบกพร่องอย่างไรๆ ก็เลยไม่เป็นที่ยุติแน่ชัด) (ทางการบ้านเมืองแต่โบราณคงจะให้มีกำาหนดเวลามาตรฐาน เพื่อสะดวกในการปฏิบัติ ท่านเห็นว่า ในปีนั้น จะเติมตรงไหน รวมแล้วก็เต็มขึ้นมาเหมือนกัน และเมื่อถือวัสสะคือคราวฝนเป็นจุดตั้งต้น ก็เติมอธิกมาสให้เสร็จเป็นยุติกันไปที่นั่น) การคำานวณในเรื่องดาวเดือนวันเวลานี้ ถ้าจะเอาอย่างละเอียด ก็คงยุติกันไม่ลง เพราะนอกจากเป็นของไม่นิ่งแล้ว การหมุนเวียนเคลื่อนไหวนั้นเอง ก็มีความเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เช่น ขณะนี้ ระยะทางที่ดวงจันทร์ห่างจากโลกก็ไกลออกไปมากขึ้นๆ เพราะพระจันทร์เคลื่อนตัวหนีโลกห่างออกไปด้วยความเร็วปีละ ๓.๘ ซม. ดังนี้เป็นต้น จึงต้องมีข้อยุติของพวกมนุษย์เองว่า เพื่อให้การเป็นอยู่และกิจการของพวกตนดำาเนินไป จะเอาการคำานวณลงตัวในระดับแค่ไหนอนุวัตตามทางการบ้านเมืองในเรื่องที่ไม่เสียธรรม ที่เขียนเรื่องอธิกมาสนี้ มิใช่เป็นบทความวิชาการอะไร เพียงแต่มีบางท่านที่อยู่ใกล้ๆ เอ่ยถึงเรื่องนี้ ก็เอามาเล่าสู่กันฟัง นึกว่านิดหน่อย ว่าไปๆ กลายเป็นชักจะยืดยาว ควรจบเท่านี้ แต่ก่อนจบน่าจะนำาหลักทางพระวินัย อันเป็นพุทธบัญญัติมากล่าวไว้ จะได้มีสาระเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติมากขึ้น เรื่องมีว่า (วินย.๔/๒๐๙/๒๗๓)๑ ไม่พึงสับสนกับ ปุพฺพาสาฬฺห และ อุตฺตราสาฬฺห ซึ่งเป็นชื่อของนักษัตร คือกลุ่มดาว (ได้แก่ ปุพฺพาสาฬฺหนกฺขตฺต และ อุตฺตราสาฬฺหนกฺขตฺต) ซึ่งดวงจันทร์ผ่านในเดือนอาสาฬหมาสตามปกติ
Page 5
โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสาร จอมเสนาราชาชาว มคธ มีพระราชประสงค์จะทรงเลื่อนกาลฝน (วัสสะ) ออกไป จึงทรงส่งทูตไปในสำานักภิกษุทั้งหลายว่า ถ้ากระไร ขอพระคุณ เจ้าทั้งหลายพึงจำาพรรษาในข้างขึ้นที่จะมาถึง (อรรถกถา ไขความว่า คือเดือนหน้า โดยไม่ให้เป็นเดือน ๙ แต่ให้ เป็นเดือน ๘ อีกหน). ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อนุวัตตามราชาทั้งหลาย (อนุชานามิ ภิกฺขเว ราชูน อนุวตฺติตุ). สาระในกรณีนี้ ไม่ใช่เรื่องอธิกมาสตามปกติอย่างที่ได้เล่ามา (การเติมอธิกมาสคงมีอยู่แล้วก่อนนั้น แต่คราวนั้นอาจจะเลื่อนพรรษาเป็นกรณีพิเศษ) ข้อสังเกตสำาคัญคือการที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้อนุวัตตามพระราชา (ในเรื่องอย่างนี้) พึงสังเกตตั้งแต่เริ่มแรกที่ว่า ต้นเรื่องคือพระเจ้าพิมพิสารทรงขอ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาต ไม่ได้ตรัสว่าทรงอนุญาตให้อนุวัตตามพระเจ้าพิมพิสาร ไม่ได้ตรัสโดยใช้คำาเอกพจน์ว่าทรงอนุญาตให้อนุวัตตามพระราชา ซึ่งก็จะหมายถึงพระเจ้าพิมพิสารนั่นเอง แต่ทรงใช้คำาพหูพจน์ว่า “ราชาทั้งหลาย” คือเป็นการทรงวางหลักการกว้างๆ อย่างที่เคยบอกแล้วว่า หมายถึงอนุวัตตามทางการบ้านเมือง เรื่องที่ทรงอนุญาตให้อนุวัตตาม ก็คือเรื่องกิจการบ้านเมืองในการที่เขามีการปกครองเพื่อให้เหล่าชนในแว่นแคว้นอยู่ด้วยกันได้ดี ดำาเนินชีวิตและกิจการทั้งหลายไปโดยสอดคล้องเรียบร้อยราบรื่น เช่นในเรื่องปฏิทิน หรือการนับวันเดือนปี ถ้าคนในบ้านเมืองเดียวกันต่างคนต่างถือแยกกันไป ก็พูดกันไม่รู้เรื่อง กิจการต่างๆ ก็จะสับสนวุ่นวาย ไม่ประสานกลมกลืน จึงต้องมีความร่วมกันในข้อยุติสำาหรับส่วนรวมของบ้านเมือง กิจการบ้านเมืองหรือระบบจัดตั้งทั้งหลายในสังคมนั้น เป็นเรื่องของมนุษย์ที่ตกลงกันตราขึ้นวางกำาหนดไว้ คือเมื่อสมมติมีมติร่วมกันอย่างไรแล้ว ก็บัญญัติจัดตั้งกำาหนดขึ้นให้เป็นแบบแผนไว้ แต่สมมติของมนุษย์นั้น ในที่สุดก็มีเนื้อตัวจริงแท้อยู่ที่ดิน น้ำา ลม ไฟ และความเป็นไปสอดคล้องตามเหตุปัจจัย เป็นต้น ที่เป็นสภาวะของธรรมชาติ ถ้าสมมติไม่มีสภาวะรองรับ การบัญญัติจัดการของมนุษย์ก็เป็นเรื่องเหลวไหล เลื่อนลอย ไร้สาระ ไม่อาจเป็นจริงไปได้ ดังนั้น มนุษย์จะทำาการสำาเร็จดีได้ จึงต้องมีปัญญารู้เข้าใจฉลาดทั้ง ๒ ชั้น คือ ทั้งรู้แจ้งเข้าถึงความจริงของสภาวะ และรู้จักจัดการสภาพของสภาวะนั้นให้เป็นประโยชน์สูงสุดแก่หมู่มนุษย์ ถ้าสามารถปฏิบัติจัดการต่างๆ ให้ตรงกับหรือสมตามสภาวะของธรรมชาติ อย่างพอดีที่จะให้เกิดผลเกื้อกูลมากที่สุดแก่หมู่มนุษย์ จึงจะนับได้ว่าฉลาดมีปัญญาสามารถจริง อย่างในเรื่องการนับวันเดือนปี หรือทำาปฏิทินนี้ พื้นฐานก็คือ ต้องรู้เข้าใจถูกต้องชัดเจนทั่วตลอด เกี่ยวกับการโคจรของโลก ของดวงอาทิตย์ และของดวงจันทร์ ตลอดจนเทห์ฟากฟ้าทั้งปวงที่โยงถึง นี่คือรู้สภาวะของธรรมชาติ ซึ่งยากไม่น้อย แล้วบนฐานของความรู้ในสภาวะแห่งธรรมชาตินี้ ก็จัดวางระบบการนับวันเวลาทำาปฏิทินสำาหรับการเป็นอยู่ใช้งานดำาเนินกิจการของพวกมนุษย์ โดยยักย้ายปรับแปรให้ระบบนั้นตรงกับหรือสมตามสภาวะของธรรมชาติอย่างสนิทแนบเนียนกลมกลืนที่สุด นี่คือขั้นแห่งสมมติและบัญญัติของมนุษย์ ซึ่งก็มิใช่ง่ายเลย ยกปฏิทินสุริยคติที่คนปัจจุบันรู้จักกันดีเป็นตัวอย่าง เรารู้สภาวะของธรรมชาติว่าโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์รอบหนึ่ง ใช้เวลา ๓๖๕ วัน ๖ ชั่วโมง ๙ นาที ๙.๕๔ วินาที นับเป็นปีหนึ่ง แต่ในการอยู่กันของมนุษย์ เราจะนับวันเวลาเรียงลำาดับให้ละเอียดอย่างนั้น ไม่สะดวกและก็ไม่ไหว ทีนี้ เราได้แนวคิดจากเรื่องพระจันทร์ ว่าควรจัดแบ่งปีหนึ่งเป็น ๑๒ เดือน ก็มาจัดวันเวลานั้นเข้าใน ๑๒ เดือน โดยเอาแค่วันก่อน แต่ก็ติดขัดว่าจัดให้ทุกเดือนมีจำานวนวันเท่ากันไม่ได้ เพราะหารไม่ลงตัว ก็จึงต้องหาทางยักย้ายอย่างนั้นอย่างนี้ จนในที่สุด ก็ให้บางเดือนมี ๓๐ วัน (ได้ ๔ เดือน) และบางเดือนมี ๓๑ วัน (ได้ ๗ เดือน) ก็ยังไม่ครบ ไม่พอดี มีเศษ ๒๘ วัน เลยต้องยกให้เป็นเดือนหนึ่งที่สั้นกว่าเขา มีแค่ ๒๘ วัน ดังที่ลงตัวในปัจจุบัน ๑๒ เดือน จัดเป็น ๓๑–๒๘–๓๑–๓๐–๓๑–๓๐–๓๑–๓๑–๓๐–๓๑–๓๐–๓๑ วัน ทีนี้ เมื่อกี้ จำานวนวันเวลาในปีหนึ่ง ยังมีเศษชั่วโมง นาที วินาที เราก็หาทางจัดให้ลงตัวอีก ตกลงว่าเอา ๖ ชั่วโมงที่รวมได้ครบเป็น ๑ วันใน ๔ ปี มาจัดปฏิทินให้ถูกต้อง ก็ตกลง (สมมติ) ว่าปีที่ ๔ เพิ่มจากปีหนึ่งที่มี ๓๖๕ วัน ให้เป็นปีที่มี ๓๖๖ วัน แต่ต้องคิดอีกว่า จะเอา ๑ วันที่เพิ่มเข้ามา (อธิกสุรทิน) นั้นไปเติมที่ตรงไหน ที่จริง จะไปเติมในเดือนไหนก็ได้ มนุษย์ก็จัดเอาสิ ก็มองเห็นว่า เติมเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ที่มี ๒๘ วัน เป็น ๒๙ วันนั่นแหละเหมาะดีแนบเนียนที่สุด เดือนอื่นๆ จะได้มีรูปร่างกลมกลืนเข้าชุดกันตามเดิม นี่ก็ขั้นสมมติของมนุษย์ที่จะจัดการเรื่องของตัวให้ตรงตามสภาวะ ต่อไป อาจจะมีคนสมองดี และมีอิทธิพลพอ มองเห็นว่า ที่
Page 6
www.watnyanaves.net จัดเดือนไว้อย่างนี้ ลักลั่น ไม่สวยงามเลย น่าจะให้เป็นระเบียบน่าดูกว่านี้ ก็มาเสนอและนำาให้จัดเรียงใหม่ เช่น จัดเป็นลำาดับเดือนที่มี ๓๑–๓๑–๓๑–๓๑–๓๑–๓๑–๓๑–๓๐–๓๐–๓๐–๓๐-๒๘/๒๙ วัน เมื่อพร้อมใจกัน ก็เปลี่ยนไปได้ แม้แต่ว่าจะเริ่มปีที่ตรงไหน ในเดือนใด ก็แล้วแต่จะตกลง (สมมติ) กัน จะยักย้ายเปลี่ยนผันไปตรงไหน ก็ได้ทั้งนั้น แล้วก็เคยเปลี่ยนกันมาแล้วด้วย (ไม่ต้องพูดถึงเมืองไทย ที่เปลี่ยนปีใหม่มาแล้วหลายครั้ง) อย่างในเมืองฝรั่ง สมัยหนึ่ง ขึ้นปีใหม่ที่เดือนมีนาคม คือ March ดังที่ชื่อเดือน November (แปลว่า เดือนที่ ๙) และ December (แปลว่า เดือนที่ ๑๐) ก็ยังฟ้องอยู่ (เวลานี้ กลายเป็นเดือนที่ ๑๑ และ ๑๒ แต่ชื่อก็ยังคงอย่างเดิม) สมมติ แล้วก็บัญญัติอย่างนี้ เมื่อมนุษย์จัดตั้งวางลงไป จะยักย้ายอย่างไร ให้มนุษย์ได้ผลดีที่สุด เมื่อสมตามสภาวะ ไม่หลุดลอยจากฐานของธรรมชาติ ก็ไม่เป็นปัญหา แถมควรปรับปรุงพัฒนาตามที่ควรให้ยิ่งสมสนิทและเกื้อกิจมากขึ้นด้วยซ้ำา เรื่องอย่างนี้แหละ เป็นงานเป็นการของบ้านเมือง ของสังคม ที่จะให้เขาดำาเนินชีวิตและกิจการกันไปด้วยดี และอย่างนี้คือที่เป็นความหมายของพุทธบัญญัติข้างต้น ที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อนุวัตตามราชาทั้งหลาย” พร้อมกันนั้น ท่านก็มีคำาอธิบายกำากับไว้ต่อไปว่า “…พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้อนุวัตได้ เพราะว่า ในการเลื่อนพรรษานี้ มิได้มีความเสื่อมเสียอะไรแก่ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ในกรรมที่ชอบธรรมแม้อย่างอื่น ก็พึงอนุวัตตาม แต่ในกรรมที่ไม่ชอบธรรม ไม่พึงอนุวัตตามใครไหนๆ เลย”พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เราทั้งหลายถึงพระผู้มีพระภาคพระองค์ใด ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกพระผู้มีพระภาคพระองค์ใด เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย ก็เราทั้งหลายชอบใจธรรม ของพระผู้มีพระภาคพระองค์ใด พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล เสด็จอุบัติแล้วในมัชฌิมชนบท ในหมู่แห่งมนุษย์ชาวอริยกะทั้งหลาย พระองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เป็นโคดมโดยพระโคตร เป็นสักยบุตร บรรพชาแล้วจากสักยตระกูล ได้ตรัสรู้แล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ โดยไม่มีที่สงสัยแล พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาปัญญาตรัสรู้แจ้งชัด และจรณะข้อปฏิบัติเครื่องดำาเนินถึงวิชชานั้นครบครัน เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้ ไม่มีผู้ใดยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของปวงเทพแลมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ทรงมีพระคุณความดีเป็นที่นับถือเลิศล้น ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล ตรัสไว้ดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ต้องรอกาลเวลาที่จะให้ผล เป็นของดีจริงแท้ ควรจะเชิญชวนให้มาดู แลควรจะน้อมเข้ามาในตน เป็นธรรมที่วิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ต้องทำาจึงเสวยผลได้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดี เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติควรแก่เหตุผล เป็นผู้ปฏิบัติน่าเคารพนับถือ พระสงฆ์สาวกนี้ คือคู่บุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวตามลำาดับอริยมรรค คำาถวายดอกไม้ธูปเทียน วันวิสาขบูชา อริยผลเป็นแปดบุคคล หมู่สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่บุคคลนำามาบูชา เป็นผู้ควรแก่สักการะเครื่องต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทานที่บุคคลบริจาคถวาย เป็นผู้ควรแก่การทำาอัญชลีประนมมือไหว้ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า ก็พระปฏิมานี้แล ได้สร้างอุทิศเฉพาะต่อพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เพื่อให้ได้เห็น เป็นที่ระลึกถึงพระคุณของพระองค์ จะได้เกิดความเลื่อมใสและเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนใจ บัดนี้ มาถึง วันวิสาขปุณณมีเพ็ญเดือนหก อันเป็นที่รู้ว่าคือ กาลเป็นที่ประสูติตรัสรู้และปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เราทั้งหลายจึงมาพร้อมกันยังสถานที่นี้ ได้ถือเครื่องสักการะเหล่านี้ มีธูปเทียนดอกไม้เป็นต้น ทำากายของตนให้เป็นดังภาชนะรองรับเครื่องสักการะ น้อมรำาลึกถึงพระคุณทั้งหลายตามที่เป็นจริง ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จะทำาการประทักษิณพระปฏิมานี้ สิ้นวาระสามรอบ กระทำาการบูชา ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายตามที่ถือไว้นี้ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานแล้วสิ้นกาลนาน แต่โดยพระคุณทั้งหลายยังปรากฏอยู่ อันบุคคลพึงรู้โดยความเป็นอตีตารมณ์ จงทรงรับซึ่งเครื่องสักการะ อันข้าพเจ้าทั้งหลายถือไว้แล้วนี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ๛
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น