++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เปิดข้อมูล สมช./สำนักนโยบายและแผนกลาโหม ค้าน นาซา ใช้อู่ตะเภา ่เชื่อ อ้างวิจัยเพื่อวิทยาศาสตร์บังหน้าประโยชน์ทางการทหาร

เปิดข้อมูล สมช./สำนักนโยบายและแผนกลาโหม ค้าน นาซา ใช้อู่ตะเภา ่เชื่อ อ้างวิจัยเพื่อวิทยาศาสตร์บังหน้าประโยชน์ทางการทหาร ผอ.สำนักยุทธศาสต์ความมั่นคงระหว่างประเทศ ลั่นกลางที่ประชุม ให้ทุกหน่วยงานเสนอความเห็นตรงไปตรงมาเพื่อชาติ แฉ ขอบเขตการบินกินพื้นที่ถึงทะเลจีนใต้ กระทบเพื่อนบ้านอื้อ ทั้ง จีน อินเดีย บังคลาเทศ เนปาล แถมมีเชฟรอนร่วมสำรวจ สงสัยมีเอี่ยวพลังงาน ขณะที่ รองผอ.สำนักนโยบายกลาโหม เตือน อย่ามองแค่ประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์จนกระทบความมั่นคงทางภูมิภาค ชี้ NASA ยังไม่กล้ารับประกัน สหรัฐจะใช้ข้อมูลเพื่อการทหารหรือไม่ หวั่น หมกเม็ดข้อมูลลับเอื้อ สหรัฐฝ่ายเดียว ด้าน ตัวแทนกรมอุตุ ชี้ ข้อมูลอาจถูกใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ นำไปสู่การกีดกันทางการค้า /@ มินลุงจิ๋ว

แม้ว่าครม.จะยังไม่มีการอนุมัตให้นายสุรพงษ์โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ลงนามในหนังสือสัญญาแลกเปลี่ยนระหว่างไทย - สหรัฐ กรณีที่ NASA ขอใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นฐานปฏิบัติการสำรวจก้อนเมฆในชั้นบรรยากาศ แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่ถือว่าเป็นข้อยุติ เพราะ NASA อาจขอความร่วมมือจากไทยใหม่ได้ในปีหน้า อีกทั้ง ครม.จะมีการนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาตามมาตรา 179 ในเดือนสิงหาคมนี้ ดังนั้นการทำความเข้าใจต่อโครงการนี้ในทุกมิติจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนไทย และเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรให้ความกระจ่างต่อสังคม

เพจสายตรงภาคสนาม ขอนำบันทึกการประชุมระหว่างหน่วยงานไทยกับตัวแทนของนาซาในการประชุมร่วมหน่วยงานไทยด้านความมั่นคงและด้านวิชาการ เพื่อพิจารณาข้อเสนอของ NASA โครงการ Southeast Asia Composition,Cloud,Climater Couling Tegional Study (SEAC4RS) เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2555 ซึ่งมีนายจิระชัย ปั้นกระษิณ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ เป็นประธานในที่ประชุม โดยมี Dr.Hal Maring NASA มาให้ข้อมูลและตอบคำถามเพิ่มเติมแก่หน่วยงานไทย

เนื้อหาที่น่าสนใจคือ ตัวแทนของนาซาระบุถึงการดำเนินโครงการนี้ว่า NASA เป็นองค์กรพลเรือน ข้อมูลที่ได้จึงไม่มีความตั้งใจที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในทางทหาร อย่างไรก็ตาม NASA ไม่สามารถรับประกันในเรื่องนี้ได้ เพราะ NASA เปิดเผยข้อมูลที่ได้ต่อสาธารณะ ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ แต่ยังยืนยันว่าจะเน้นไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์ พร้อมกับเปิดเผยถึงขั้นตอนการดำเนินการของ NASA ว่าตามแผนจะเริ่มปฏิบัติการบินสำรวจครั้งแรกประมาณวันที่ 7-8 สิงหาคม ระยะเวลาดำเนินโครงการถึงกันยายน 2555 และมีการวางปฏิทินที่จะขนส่งอุปกรณ์มาไทยโดยเรือ 10 ตู้คอนเทรนเนอร์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม และขนอุปกรณ์ทางเครื่องบินจากสหรัฐในวันที่ 1 สิงหาคม โดยจะถึงประเทศไทยราว 2-5 วันหลังจากนั้น

นอกจากนี้ในการประชุมครั้งดังกล่าวตัวแทนของ NASA ยังไม่สามารถนำหลักฐานความเห็นชอบจากประเทสเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว บังคลาเทศ เนปาล และพม่า หรือแม้แต่เวียดนาม ในกรณีที่ต้องบินผ่าน และยังขอให้ไทยเป็นฝ่ายไปเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเอง โดยอ้างว่าหากโครงการนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลไทยก็จะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านให้ความเห็นชอบด้วย อีกทั้งการบินส่วนมากจะบินเหนือน่านน้ำสากลและลงจอดในไทย การขออนุญาตประเทศอื่นจึงไม่สำคัญเท่ากับการขออนุญาตจากไทย อย่างไรก็ตาม นายจิระชัย ในฐานะประธาน ไม่เห็นด้วยและคิดว่าเป็นภาระที่สหรัฐอเมริกาควรจะต้องดำเนินการ ไม่ใช่หน้าที่ของประเทศไทย

สำหรับหน่วยงานอื่นส่วนใหญ่แสดงความเห็นด้วย โดยมุ่งเน้นประโยชน์ที่จะได้รับจากงานวิจัยและการพัฒนานักวิทยาศาสตร์ของไทยจากองค์ความรู้ของ NASA และการพัฒนาเทคโนโลยีในการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศที่จะทำให้การพยากรณ์คลื่น ลม ฝน และพาย ได้อย่างแม่ยำมากขึ้นลดความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ โดย NASA แจ้งว่าจะมีการสรุปผลหลังเสร็จสิ้นโครงการประมาณ 6 สัปดาห์ โดยคนทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านทางเวปไซด์ของ NASA

อย่างไรก็ตามในการประชุมเฉพาะหน่วยงานของไทย มีการท้วงติงจาก นายพรชาต บุนนาค ผอ.สำนักยุทธศาสตร์และความมั่นคงระหว่างประเทศ ถึงข้อกังวลว่า ฝ่ายสหรัฐควรทำความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศที่เกี่ยวข้องภายในภูมิภาค โดยเฉพาะจีนกับอินเดีย เนื่องจากขอบเขตการบินไปถึงบังคลาเทศ เนปาล และทะเลจีนใต้ พร้อมกับตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับผลประโยชน์ด้านแหล่งพลังงานในภูมิภาคนี้ เพราะรายชื่อหน่วยงานที่ NASA ติดต่อเกี่ยวกับการดำเนินโครงการมีชื่อบริษัท Chevron รวมอยู่ด้วย

นายพรชาต ยังเรียกร้องกลางที่ประชุมว่า “ขอเรียนเสนอให้ทุกส่วนราชการให้ข้อคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา มุ่งประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก” และยังเตือนว่าแม้ NASA จะอ้างว่าการบินสำรวจส่วนใหญ๋จะดำเนินการในน่านน้ำสากล แต่พื้นน้ำในภูมิภาคนี้ส่วนมากเป็นทะเลอาณาเขตและมีความอ่อนไหว โดยหลายประเทศยังมีความกังวลเกี่ยวกับบูรณภาพเหนือดินแดนด้วย

ในขณะที่ พ.อ.พศพร หอมเจริญ รอง ผอ.สำนักนโยบายและแผนกลาโหม สนับสนุนแนวคิดของนายพรชาต โดยมีความเป็นห่วงในเรื่องการทำความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจีนและอินเดีย เพราะ NASA เองก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าการสำรวจดังกล่าวจะไม่เกี่ยวกับภารกิจทางทหาร ซ่ึ่งง อาจส่งผลทางทหารและต่อภูมิภาคได้ จึงต้องให้ฝ่ายสหรัฐให้ความมั่นใจว่า จะไม่สร้างความหวาดระแวง และเห็นว่าการจะเดินหน้าโครงการนี้จะเห็นแก่ประโยชน์กับนักวิทยาศาสตร์นานาชาติอย่างเดียวคงไม่พอ และกังวลว่าสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐคงไม่มีการเปิดเผยให้ไทยได้รับรู้ แต่เลือกที่จะเปิดเผยในสิ่งที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้แทน

ส่วนนายประสาน สังวาลเดช นักอุตุนิยมวิทยาชำนาญการพิเศษ ตั้งข้อสังเกตว่าแม้ข้อมูลที่ได้จะไม่ได้นำไปใช้ทางการทหาร แต่ก็อาจนำมาใช้ทางเศรษฐกิจได้ เช่น หากค่าที่ตรวจพบในอวกาศเป็นลบ ก็อาจมีการนำไปอ้างเป็นเงื่อนไขกีดกันทางการค้าได้ จึงต้องมีความมั่นใจว่าจะไม่มีการนำผลการสำรวจไปใช้ในทางอื่น

อย่างไรก็ตาม นายจิระชัย สรุปว่าจากการประชุมร่วมกันมาแล้ว 3 ครั้ง เห็นแนวโน้มว่าไทยน่าจะร่วมมือกับ NASA ได้ และระบุว่าต่อไปจะเป็นการแจ้งทางเอกสารแทนการประชุม โดยเตรียมที่จะสรุปความเห็นเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือในการประชุมครั้งนี้ทาง GISTDA ได้อาสาที่จะเป็นเจ้าภาพของฝ่ายไทยเพื่อดำเนินงานร่วมกับ NASA แสดงให้เห็นว่าโครงการนี้ไม่ใช่โครงการต่อเนื่องที่ประธาน GISTDA ลงนามร่วมกับ ประธาน NASA ตามที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทย์และนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ออกมาระบุก่อนหน้านี้ เพราะหากเป็นโครงการต่อเนื่องย่อมไม่มีเหตุผลที่จะต้องให้ GISTDA อาสาเป็นเจ้าภาพ เนื่องจากอยู่ในความรับผิดชอบอยู่แล้ว

หลังจากนั้นมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 2 พ.ค. 55 มีการสรุปถึงการใช้เครื่องบินจาก NASA 3 ลำ ประกอบด้วยรุ่น GV ,DC-8 และ ER-2 โดยในส่วนของรุ่น ER-2 พัฒนามาจากรุ่น U2 ซึ่งเป็นเครื่องบินสอดแนมในยุคสงครามเย็น และเครื่องบินจากโครงการฝนหลวง 1 ลำ ในขณะที่ความเห็นของแต่ละหน่วยงานก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวกับความมั่นคงก็ยังคงยืนยันว่าเป็นประโยชน์ในทางวิทยา่ศาสตร์ที่ควรสนับสนุน ส่วนหน่วยงานด้านความมั่นคงก็ยังกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในภูมิภาค และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น