++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ม.ราชภัฏภูเก็ตส่งเสริมชาวประมงเพาะ “สาหร่ายขนนก” สร้างทางเลือกชีพใหม่ให้เกษตรกร ชี้ตลอดต้องการสูง

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ม.ราชภัฏภูเก็ต เดินหน้าต่อยอดงานวิจัยส่งเสริมชาวประมงเพาะเลี้ยง “สาหร่ายขนนก” สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างทางเลือกอาชีพใหม่ให้เกษตรกร เผยความต้องการตลาดมีสูงขายได้กิโลกรัมละ 50-70 บาท

รศ.มัณฑนา นวลเจริญ หัวหน้าโครงการวิจัยการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กล่าวถึงการเข้าไปส่งเสริมและผลักดันให้ชาวประมงหันมาเพาะเลี้ยง “สาหร่ายขนนก” เพื่อส่งขายและเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ในพื้นที่จังหวัดอันดามมันว่า ที่ผ่านมาทางโปรแกรมชีววิทยาประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ จังหวัดกระบี่ จัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกขึ้น เพื่อนำงานวิจัยไปเผยแพร่สู่ชุมชน หลังจากที่ทางมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ตร่วมกับชุมชนในการทำต้นแบบการเพาะเพาะ เลี้ยงสาหร่ายขนนกขึ้นเมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา

ปรากฏว่าการดำเนินการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จึงต้องการที่จะ ถ่ายทอดผลงานวิจัยไปสู่ชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดกระบี่ เพราะปัจจุบันนี้ชุมชนชาวประมงในจังหวัดกระบี่ ได้รับผลกระทบจากปัญหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลที่ลดน้อยลง ทำให้การดำรงชีวิตค่อนข้างมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะชุมชนที่จำเป็นต้องพึ่งพาธรรมชาติในพื้นที่ เช่น ชาวประมงที่มีปัญหาเรื่องการจับสัตว์น้ำ ต้องการอาชีพทางเลือกใหม่ที่ยั่งยืน มีรายได้จุนเจือครอบครัวอย่างพอเพียง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

รศ.มัณฑนากล่าวต่อไปว่า ดังนั้นเพื่อให้การส่งเสริมให้เกิดอาชีพกับชาวประมงในพื้นที่ในปี2553นั้น ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด กระบี่จัดอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกให้แก่ชุมชนใน พื้นที่ขึ้น ซึ่งขณะนี้ได้จัดให้มีการอบรมไปแล้ว 2 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวน 120 คน หลังจากนี้ทางมหาวิทยาลัยมีแผนที่จะจัดอบรมเพิ่มเติมเนื่องจากมีชุมชนอื่นๆ เรียกร้องให้มีการอบรมถ่ายทอดความรู้อีกจำนวนมาก เนื่องจากสาหร่ายขนนกเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายใน

แต่ถ้าเป็นสาหร่ายในธรรมชาติจะมีเฉพาะบางฤดูกาลเท่านั้น โดยพบมากในช่วงฤดูร้อนขาดแคลนในฤดูฝนโดยพบมากในพื้นที่จังหวัดตรัง กระบี่ และสตูล จึงหันมาส่งเสริมให้ชาวบ้านเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกในบ่อปูนซีเมนต์ โดยนำพันธุ์มาจากธรรมชาติ ทำให้มีสาหร่ายขนนกเก็บเกี่ยวสำหรับจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี

“สำหรับ การเลี้ยงสาหร่ายขนนกในบ่อซีเมนต์นั้นเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่สามารถนำไปพัฒนาให้เป็นอาชีพทางเลือกแก่เกษตรกรในชุมชนที่อยู่ชายฝั่ง ทะเลของจังหวัดกระบี่หรือจังหวัดอื่นได้ ซึ่งสาหร่ายขนนกสามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย มีต้นทุนการเพาะเลี้ยงไม่สูง ได้ผลตอบแทนเร็ว มีตลาดรองรับไม่จำกัด และบริเวณชายฝั่งจังหวัดกระบี่เป็นแหล่งที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงสาหร่ายขนนก

ทั้งนี้ จากการวิจัยพัฒนาต้นแบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกร่วมกับชุมชนจังหวัดกระบี่ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต พบว่าการเพาะเลี้ยงให้ผลผลิตสาหร่ายขนนก 5.2 กิโลกรัม/ตารางเมตร/เดือน ถ้าชุมชนใช้พื้นที่ 50 ตารางเมตร จะสามารถเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกให้ผลผลิตในบ่อได้อย่างต่ำเดือนละ 250-300 กิโลกรัม สาหร่ายขนนกเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50-70 บาท และสามรถผลิตสาหร่ายขนนกคิดเป็นมูลค่าประมาณ 12,500-15,000 บาท ซึ่งหักค่าใช้จ่ายแล้ว จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10,000-12,000 ต่อเดือน การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนนกจะสามารถพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ให้กับเกษตรกร ได้” รศ.มัณฑนา กล่าว

“สาหร่ายขนนก” นั้นสามารถบริโภคได้ทั้งแบบสดคล้ายผัก ประกอบอาหาร เช่น แกงจืดสาหร่าย ยำสาหร่าย ไอศกรีมสาหร่าย คุกกี้สาหร่าย และน้ำสาหร่าย เป็นต้น ซึ่งจากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาพบว่าสาหร่ายขนนกและสาหร่ายทะเลอื่นๆ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เช่น ไอโอดีน แมกนีเซียม แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก มีกรดอะมิโนจำเป็นหลายชนิดที่พืชบกไม่มี มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีเส้นใยสูง ไขมันต่ำ และไม่มีคอเลสเตอรอล จึงบริโภคได้ทุกเพศทุกวัย หรือแม้แต่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิต”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น