++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เบื้องหลังพระพุทธเจ้าหลวง ทรงแลกแผ่นดินกับ "เกาะกูด"ยุทธศาสตร์พลังงานอันมั่งคั่งในอ่าวไทย!!!

โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ 20 กรกฎาคม 2553 17:08 น.
เพียงแค่ "เกาะกูด" เพียงเกาะเดียว
ได้เป็นขวากหนามอันสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้กัมพูชาหมดความชอบธรรมในการลาก
เส้นเขตไหล่ทวีปทางทะเลของตัวเองเมื่อปี พ.ศ. 2515
ที่ลากเส้นคร่อมเกาะกูด โดยไม่ทำตามกฎหมายระหว่างประเทศและมาตรฐานสากล
ทั้งในเรื่องการละเมิดอธิปไตยอาณาเขตทางทะเลรอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเล
และไม่ยึดหลักการแบ่งเขตไหล่ทวีปซึ่งวัดระยะทางเส้นจากฐานดินแดนของ 2
ประเทศให้เท่าๆ กัน

"เกาะกูด" เพียงเกาะเดียว
ได้ทำให้ประเทศไทยมีความชอบธรรมที่จะลากเส้นเขตไหล่ทวีปของตัวเองเมื่อปี
พ.ศ. 2516 โดยการลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 โดยใช้วิธี "แบ่งครึ่งมุม"
ระหว่าง "เกาะกูด" ของไทยกับ "เกาะกง" ของกัมพูชา
แล้วลากเส้นตรงออกมาในทะเลวัดระยะจากแผ่นดินทั้งสองประเทศเท่าๆ
กันหรือที่เรียกว่า เส้นมัธยะ (Equidistance line) ตามหลักมาตรฐานสากล

ใน ทางตรงกันข้ามหากช่วงการล่าอาณานิคมจบลงด้วย "เกาะกูด"
เป็นของกัมพูชาซึ่งตกอยู่เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
การขีดเส้นไหล่ทวีปจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาล
และความมั่งคั่งที่มาจากทรัพยากรใต้อ่าวไทยจะตกเป็นของกัมพูชาเกือบทั้ง
หมด!!!

23 มีนาคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) คือวันที่ "เมืองด่านซ้าย
เมืองตราด และบรรดาเกาะที่อยู่ใต้แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด"
ได้กลับมาเป็นของไทย โดยแลกกับ "เมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ
และเมืองศรีโสภณ" ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907

การแลกแผ่นดินครั้งนั้น พระตะบอง เมืองเสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ
ที่ยกให้ฝรั่งเศสมีเนื้อที่ถึง 51,000 ตารางกิโลเมตร (32 ล้านไร่)
ในขณะเมืองด่านซ้าย เมืองตราด และเกาะทั้งหลายซึ่งติดทะเลในอ่าวไทยนั้น
สยามขอแลกกลับมามีพื้นที่ประมาณ 4,000 ตารางกิโลเมตร (2.5
ล้านไร่)เท่านั้น

การแลกแผ่นดินทางบกมีขนาดต่างกันถึง 13 เท่าตัว
แต่ผืนน้ำคือทางออกทะเลเกือบทั้งหมดของอ่าวไทย!!!
ถือเป็นการตัดสินใจแลกเปลี่ยนที่ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "นครวัด"
นั้นปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกอยู่ในเมือง "เสียมราฐ"

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
เมื่อครั้งที่ได้ทราบว่าจะมีการขอแลกกับเสียมราฐ ซึ่งมีนครวัดอยู่นั้น
ได้ทรงมีความเห็นว่า

"ความคิดอันนี้น่าจะมีจริงฤา
จะว่าฉันเตรียมพร้อมเพื่อจะเชื่อว่าฝรั่งเศสจะทำอะไรก็ทำได้ตาม
แต่ยังเห็นว่าทูตเอง (นายริโฟลต์) จะเป็นผู้ที่อยากหาความชอบในเรื่องนี้
ด้วยการแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นแง่เงื่อนอยู่ที่ด่านซ้าย จะเอาด่านซ้ายมาแลก
เช่น ข้าหลวงปักปันเขตแดนได้เงื้อขึ้นแล้ว
แต่ที่จะเอานครวัดแลกดูมากมายเหลือเกินอยู่สักหน่อย
จะว่าพ้นวิสัยฝรั่งเศสจะพูดนั้นไม่ได้
ในการปักปันเขตแดนที่สุดนี้ฉันระแวงอยู่ในใจแล้วว่า
น่าจะมีเหตุอะไรสักอย่างหนึ่ง"

กว่าจะได้จังหวัดตราดซึ่งพื้นที่ชายฝั่งติดทะเล
และเกาะที่อยู่ใต้แหลมสิงห์จนไปถึงเกาะกูดต้องยอมแลกแผ่นดินทางบกจำนวนมหาศาล

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิรูปกฎหมายของสยาม
จ้างชาวฝรั่งเศสรับราชการ จ้างชาวอเมริกันมาเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
และยังต้องเสด็จประพาสยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีในการรักษาอธิปไตยของสยาม
อีกด้วย จึงถือเป็นปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้การเจรจาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ได้ทรงวางแผนการแลกแผ่นดินเป็นลำดับขั้น ขั้นแรกคือ
นำเมืองตราดมาแลกกับการให้ทหารฝรั่งเศสถอนตัวออกจากจันทบุรี
คืนกลับมาสำเร็จ เพื่อที่จะไม่ต้องมีการปะทะกันทั้งสองฝ่าย
หลังจากก่อนหน้านี้ที่ทหารฝรั่งเศสไม่ยอมถอนทหารออกจากจันทบุรี ทั้งๆ
ที่สยามได้ตกลงที่จะยกหลวงพระบางฝั่งขวา มโนไพร
และจำปาศักดิ์ให้กับฝรั่งเศสแล้ว ทั้งนี้เพราะฝรั่งเศสลงทุนในจันทบุรีมา
10 ปี ใช้เงินไป 2 ล้านฟรัก์

ต่อมาชาวฝรั่งเศสกลับพบในภายหลังว่าเมืองตราดที่แลกได้มาไม่ใช่ทางออกโดยธรรมชาติสำหรับเขมร
และชาวตราดก็เป็นคนไทยมากกว่าคนเขมร
แม้ว่าจะพยายามบังคับให้ชาวตราดใช้ภาษา กฎหมาย และประเพณีเขมร
ก็ไม่สามารถยัดเยียดให้ได้
มีปัญหาอย่างมากเรื่องภาษายากแก่การปกครองได้จึงยอมแลกตราดและหมู่เกาะทั้ง
หลายคืนให้สยามในเวลาต่อมาเป็นการแลกดินแดนขั้นที่สอง

นายสโตรเบล ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของสยาม
ในฐานะผู้ที่ไปเจรจาจนเป็นผลสำเร็จโดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมงนั้น
ได้ทำให้ฝรั่งเศสชื่นชมมากถึงกับมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง grand
commander ซึ่งน้อยคนที่จะมีโอกาสได้รับ
และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเครื่องราช
อิสริยาภรณ์ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือกให้แก่นายสโตเบล เป็นการตอบแทนเช่นกัน

ที่ ทั้งสองประเทศพอใจในผลการเจรจาเช่นนี้
ก็น่าจะเป็นเพราะฝรั่งเศสได้ดินแดนอันมหาศาลของสยามเพิ่มจำนวนมหาศาล
ส่วนสยามแม้จำใจต้องแลกดินแดนจำนวนมหาศาล
แต่ก็ได้ดินแดนติดชายฝั่งทะเลและเกาะทั้งหลายกลับคืนมา
เป็นทั้งทางออกในเชิงยุทธศาสตร์ทางความมั่นคงและเขตการค้าขายทางทะเล

โดยในสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450)
ได้ระบุความตอนหนึ่งในกรณีนี้ว่า:

"ข้อ 2 รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราด
กับเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดให้แก่กรุงสยาม"

ในช่วงเวลานั้นฝรั่งเศสกลับเห็นคุณค่าเรื่องชายฝั่งและเกาะซึ่งเป็น
ทางออกทางทะเลน้อยกว่าสยาม
แต่ฝรั่งเศสได้ขอสงวนสิทธิ์ให้สยามต้องรับรองกับฝรั่งเศสว่า
เกาะที่ไทยได้คืนมานี้สยามจะให้หรือให้เช่าแก่รัฐบาลใดๆ ไม่ได้
และจะยอมให้รัฐบาลใด
หรือบริษัทใดนอกจากรัฐบาลฝรั่งเศสตั้งที่เก็บถ่านหินไม่ได้

ฝรั่งเศส มองเห็นประโยชน์บนเกาะต่างๆ แค่ "ถ่านหิน"
ซึ่งปรากฏพบต่อมาในภายหลังว่า "อ่าวไทย"
มีความมั่งคั่งมากกว่าแค่ถ่านหินบนเกาะอย่างมโหฬาร นั่นก็คือ "น้ำมัน"
และ "แหล่งก๊าซธรรมชาติ" ที่อาจจะไม่ต่ำกว่า "หลายสิบล้านล้านบาท"
อยู่ใต้ผิวทะเลของอ่าวไทย
ให้คนรุ่นหลังได้พิทักษ์รักษาความมั่งคั่งนี้ให้ตกอยู่กับคนไทย

พ.ศ. 2510 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร
เริ่มเปิดให้เอกชนเข้ามาผลิตและสำรวจในเขตอ่าวไทย มีบริษัทต่างชาติ 6
รายได้รับสิทธิ ถือเป็นสัญญาณที่กัมพูชาและชาวโลกเริ่มรับรู้แล้วว่า
มีแหล่งพลังงานอ่าวไทย

พ.ศ. 2515 กัมพูชา
ได้ลากเส้นอาณาเขตทางทะเลและไหล่ทวีปตามอำเภอใจแบบมั่วๆ
โดยตีความอ้างอิงจากสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450)
โดยที่ไม่ยึดหลักกฎหมายระหว่างประเทศเหมือนกับการลากเส้นแผนที่ทางบกมาตรา
ส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งฝรั่งเศสจัดทำขึ้นฝ่ายเดียว
โดยการลากเส้นเขตไหล่ทวีปและเส้นทะเลอาณาเขตอ้อมเกาะกูดซึ่งเป็นของไทย
คลายรูปตัว "U" ซึ่งเป็นการลากเส้นที่ละเมิดอธิปไตยและอาณาเขตทางทะเลรอบเกาะกูดที่ต้องมี
อย่างน้อย 12 ไมล์ทะเลของไทย
การลากเส้นแบบนี้ฝ่ายกัมพูชาได้อ้างสัญญาต่อท้ายของสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส
ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) มาจาก:

"ข้อ 1 เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสนั้น
ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลที่ตรงข้ามจากยอดสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว
ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวานแล"

แท้ที่จริงข้อสัญญาต่อท้ายดังกล่าวต้องการบอกตำแหน่งเขตแดนทางบกโดยให้มอง
จุดสูงสุดของเกาะกูดซึ่งเป็นของไทยเห็นชายฝั่งตรงกันข้ามที่ใดให้กำหนดเป็น
หลักเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งปัจจุบันก็คือหลักเขตที่ 73

แต่ กัมพูชากลับฉกฉวยโอกาสตีความเอาเองว่าวิธีการดังกล่าวย่อมหมายถึงกำหนดให้
กัมพูชาลากเส้นทางทะเลวิ่งชนขอบเกาะกูดไปด้วย ซึ่งขัดกับมาตรฐานสากล

พ.ศ. 2516
ฝ่ายไทยไม่ยอมรับการขีดเส้นของกัมพูชาจึงได้ลากเส้นอาณาเขตทางทะเลตาม
มาตรฐานสากล โดยใช้การลากเส้นเขตไหล่ทวีปตามหลักการแบ่งครึ่งมุม
และแบ่งด้วยระยะทางที่เท่ากันระหว่างดินแดนทางบกของไทย-กัมพูชา

การลากเส้นของไทยเมื่อปี พ.ศ. 2516
จึงเท่ากับไทยปฏิเสธการลากเส้นแบบมั่วๆ ของกัมพูชามาเป็นเวลาถึง 28 ปี!!!

18 มิถุนายน 2544 สมัยรัฐบาลทักษิณ
ประเทศไทยได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ 2544 หรือที่เรียกว่า "MOU 2544"
ด้วยการยอมรับเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากขึ้นใน พ.ศ. 2515 เป็นครั้งแรก
และเรียกพื้นที่ที่เกิดขึ้นจากการประกาศเส้นขอบเขตไหล่ทวีปของทั้งสองประเทศ
ว่า "พื้นที่ทับซ้อน" ซึ่งมีพื้นที่ครอบคลุมถึง 24,600 ตารางกิโลเมตร
หรือประมาณ 15 ล้านไร่ ซึ่งมีพลังงานใต้ท้องทะเลอ่าวไทยจำนวนมหาศาล

MOU 2544 ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือตั้งแต่ละติจูด
11 องศาเหนือขึ้นไปเป็นพื้นที่ที่กำหนดให้มีการแบ่งเขตทางทะเล
และส่วนที่สองคือตั้งแต่ละติจูด 11
องศาเหนือลงมาคือพื้นที่ที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพัฒนาสรรผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองประเทศ

ภาพที่ 1 การแบ่งเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515
(เส้นสีแดง) ที่คร่อมเกาะกูดอย่างผิดกฎหมายละเมิดอธิปไตยของไทย
ในขณะที่ของไทยลากเส้นทางทะเลปี 2516 (เส้นสีน้ำเงิน)
แบ่งครึ่งมุมระหว่าง "เกาะกูด" กับ "เกาะกง" และลากเส้นมัธยะ
(Equidistance) วัดระยะทางเท่ากันระหว่างดินแดนของไทยและกัมพูชาตามมาตรฐานสากล

การยอมรับเส้นทะเลอาณาเขตและไหล่ทวีปของกัมพูชานั้น ได้ทำให้เกิด
"พื้นที่ทับซ้อนเกินความเป็นจริง"เพราะ
กำเนิดมาจากพื้นฐานการลากเส้นอาณาเขตทางทะเลและไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ผิดเอา
เปรียบฝ่ายไทย ย่อมทำให้โอกาสในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนของนักการเมืองไทยที่ทรงอิทธิพล
บางคน หรือชาติมหาอำนาจที่ต้องการเข้ามาแทรกแซงเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ทางพลังงาน
ได้เช่นกัน

หลังจากทักษิณได้ลงนามใน MOU 2544
ก็ได้ปรากฏเป็นพฤติการณ์ต่อมาว่า มีการแปรรูปขายหุ้น
ปตท.ให้กับคนในแวดวงเครือข่ายนักการเมือง,
ปฏิรูประบบราชการแยกกระทรวงไอซีทีและกระทรวงพลังงานออกมาควบคุมโดยคนใกล้ชิด
ทักษิณ, เดินหน้าพยายามแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต,
ใช้ปตท.และกระทรวงการคลังเข้าซื้อหุ้นยึดกิจการทีพีไอ,
มีเจรจาพื้นที่ปราสาทพระวิหารกับดินแดนทางบกเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ทางทะเล
ควบคู่ไปกับข่าวที่นักโทษชายทักษิณได้เตรียมลงทุนด้วยเงินจำนวนมหาศาลในเกาะ
กงของฝั่งกัมพูชา ฯลฯ
ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติการณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทางพลังงานทั้งสิ้น

แม้ในรัฐบาลชุดนี้ก็เคยประกาศขู่ว่าจะยกเลิก MOU 2544
แต่พอเอาเข้าจริงก็ไม่กล้านำเข้าสภาเพื่อยกเลิกอีก
ในขณะเดียวกันรัฐบาลชุดปัจจุบันก็ไม่สามารถเดินหน้าเจรจาเพื่อรักษาผล
ประโยชน์ของประเทศชาติให้สำเร็จได้ด้วยเช่นกัน
ย่อมเท่ากับนำมรดกแห่งความคลุมเครือครั้งนี้ให้ตกอยู่ในมือรัฐบาลชุดต่อไป
อย่างน่าเสียดาย

103 ปีที่แล้วพระพุทธเจ้าหลวงยอมแลกแผ่นดินจำนวนมากเพื่อรักษาอธิปไตยและน่านน้ำ
ทางทะเล แต่น่าเสียดายตรงที่ว่านักการเมืองในยุคหลังยอมแลกแผ่นดินทั้งทางบกและทาง
ทะเลเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน !!!

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000100054

เห็นด้วยอย่างยิ่งว่ารัฐควรยกเลิก mou ปี คศ.๒๕๔๓ ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญ
ที่เขมรใช้เป็นข้ออ้างว่าเรายอมรับ แผนที่ ๑:๒๐๐๐๐๐
เพราะมีข้อความแสดงนัยยะว่าเรายอมรับในแผนที่ดังกล่าว ...

เรา สามารถยกเลิก mou นี้ได้ทันทีเพราะเขมรทำผิดข้อตกลงใน mou
นี้อย่างชัดแจ้งด้วยการบุกรุกเข้าไปในพื้นที่รอบๆปราสาทพระวิหาร
ที่ยังไม่ได้ตกลงกันชัดเจนเรื่องปักปันเขตแดนในบริเวณดังกล่าว
และขณะนี้ยังบุกรุกเข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่ชายแดนอีกนับเป็นหมื่นๆครอบครัว
ถึงกับมีการออกโฉนดด้วย...แต่รัฐบาลและกองทัพกลับนิ่งเฉย
...ได้ข่าวว่าทำเพียงยื่นหนังสือประท้วง ซึ่งมันไม่พอ
แน่นอน...ไม่เข้าใจจริงๆว่ากลัวอะไร...ถึงจำเป็นต้องปะทะ รบ ก็ต้องทำ
เพราะต้องถือว่าเขมรบุกรุกเรา ต้องหาทางผลักดันออกไปก่อนแล้วค่อยมาเจรจา

เขมร พยายามทุกวิถีทางทั้งเล่ห์และกลที่จะทำให้ไทยและ Unesco เข้าใจ
และยอมรับว่าแผนที่ ๑:๒๐๐๐๐๐ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง...และแผนระยะยาว
ไม่ใช่เพียงได้เขาพระวิหาร แต่จะเป็น พท.ชายแดนอีกหลายล้านไร่
และที่สำคัญที่สด...
ทรัพยากรธรรมชาติใต้เช่นน้ำมันและกาซในอ่าวไทย...ที่มีมูลค่ามหาศาลตามมที่
เป็นข่าว

แล้วถึงตอนนั้น... คุณอภิสิทธิ์ จะมีที่ยืนในแผ่นดินไทยไหม....
เป็นห่วงจริงๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น