++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิกฤตชีวิตของเด็กเรียนเก่ง: ท่ามกลางต้นแบบความรุนแรงเกลื่อนเมือง

โดย ทพ.อนุศักดิ์ คงมาลัย 17 มิถุนายน 2553 11:57 น.
โดย...ทพ.อนุศักดิ์ คงมาลัย

เพียงไม่กี่สัปดาห์หลัง โศกนาฏกรรมเผาศูนย์การค้า
ใจกลางกรุงเทพมหานคร คนไทยก็ต้องช็อกอีกครั้ง เมื่อเด็กหนุ่มวัยเพียง 16
ปี ลอบวางเพลิงเผาโรงเรียน ของตนเอง

คงจะมีคนจำนวนไม่น้อย ที่อาจจะกล่าวหาว่า นี่คือ ข้อ
บกพร่องผิดพลาดครั้งใหญ่ของโรงเรียนที่มุ่งเน้นแต่ ความเป็น
เลิศทางวิชาการ จนลืมเสริมสร้างความเป็น "คนดี"ให้ กับสังคม
หรือบางคนอาจวิพากษ์เป้าหมาย
ของโรงเรียนแห่งนี้จนอาจต้องบิดเบือนไปด้วยความเข้าใจผิดได้ง่ายๆ

ที่นี่ เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ชื่อว่า โรงเรียน
มหิดลวิทยานุสรณ์ (เด็กๆ จะเรียกกันว่า ม.วิทย์ อ่านว่า มอวิทย์ )
ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็น องค์กรอิสระภายใต้กำกับของรัฐ
รับนักเรียนที่เป็นระดับมันสมองของประเทศจากทุกภูมิภาค
ให้เข้ามาฟูมฟักบ่มเพาะเพื่อสร้าง มนุษย์คนไทยอัจฉริยะ ไปสู่วงการต่างๆ

แม้โรงเรียนนี้จะดูเหมือนเน้นไปในทางวิทยาศาสตร์
แต่ก็มุ่งให้เด็กได้ใช้ฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อต่อยอด ไปสู่
ความเป็นเลิศในวิทยาการสาขาต่างๆ ที่ไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นอักษรศาสตร์
นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือแม้แต่สุนทรียศาสตร์สาขาย่อยต่างๆ
ไม่เว้นแม้แต่ดนตรี จิตรกรรม ฯลฯ

ทุกๆ ปีเด็กๆ ระดับหัวกะทิที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
จากทั่วประเทศจะหมายมุ่งสอบแข่งขันเข้าสู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
นอกจากที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งเป็นค่านิยมเก่าแก่มาไม่น้อยกว่า
50 ปี และโรงเรียนชั้นนำอีกหลายแห่งแล้ว ม.วิทย์เป็นสถาบัน
ใหม่ล่าสุดที่เพิ่งรับนักเรียนเต็มรูปแบบเมื่อราวสิบปีมานี้เอง
(ก่อนหน้านั้น ถือกำเนิดเป็นโรงเรียนมัธยมปลายทั่วไปที่วัดไร่ขิง
แล้วย้ายมาอยู่ติดกับมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา)

ที่ว่าเต็มรูปแบบก็คือ เด็กนักเรียนทุกคนจะได้รับ ทุนเรียน
ฟรีจากทางรัฐบาล บรรยากาศของโรงเรียนนี้ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ
ห้องเรียนมีนักเรียนเพียง 24 คน หญิงชายประมาณครึ่งๆ มีอาจารย์ประจำ ชั้น
อาจารย์ที่ปรึกษา
และมีอาจารย์ผู้ดูแลด้านกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตอย่างรอบด้าน
โดยเฉพาะด้านจริยธรรม กีฬา เพื่อมุ่งให้เด็กเติบโตได้อย่างมีวุฒิภาวะ
สมบูรณ์

ในรุ่นแรกๆ มีเด็กประมาณ 8,000-9,000 คน มาสมัคร สอบ ข้อเขียน
แข่งขันให้เหลือ 480 คน แล้วมาเข้า ค่ายใช้ชีวิตร่วมกัน รวมทั้ง สัมภาษณ์
เพื่อคัดออกไปอีกคงเหลือเพียง 240 คน แบ่งออกเป็น 10 ห้อง ห้องละ 24 คน

ถึงจะเป็นโรงเรียนเกิดใหม่ แต่ด้วยความมุ่งมั่นของคณะผู้บริหาร
(ผอ.ท่านแรก คือ ศ.ธงชัย ชิวปรีชา ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา)
และการคัดกรองอาจารย์ที่เก่งๆ เข้ามาร่วมงาน
จึงช่วยให้โรงเรียนประสบความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างรวดเร็ว นั่นคือ การ
บ่มเพาะเยาวชนที่มีความรู้ความสามารถระดับอัจฉริยะ
ป้อนเข้าสู่มหาวิทยาลัยในสาขาต่างๆ กัน
ทั้งยังมีผลงานด้านการแข่งขันทางวิชาการต่างๆ
ทั้งในและต่างประเทศอีกมากมาย

ปณิธานของโรงเรียน จะถูกปลูกฝังลงในตัวเด็ก ให้ตระหนัก
สำนึกในความรู้ความสามารถ ของตนเอง
และให้มีความพยายามดิ้นรนขวนขวายให้มากยิ่งขึ้น
ที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จตามที่แต่ละคนได้ตั้งไว้

แต่แน่นอนที่สุด เพียงดูตัวเลขสอบแข่งขัน ปัจจุบันถึง 20,000 คน
เพื่อคัดให้เหลือ 240 คน ตามขั้นตอนแค่นี้ผู้ปกครองก็เครียดทั้งครอบครัว
ตั้งแต่พ่อแม่ ลามไปถึงปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา กันไปหมดแล้ว

ใครที่ผ่าน ด่านอรหันต์ เข้ามาได้ ถือว่าอยู่ในระดับ
สุดยอดของประเทศ ไม่แพ้เตรียมอุดม สวนกุหลาบ หรือโรงเรียนดังๆ แห่งอื่นๆ
ในกรุงเทพฯ

เมื่อเด็กเก่งของแต่ละท้องถิ่นถูกคัด หรือปาดเอามาเฉพาะระดับครีม
ก็ย่อมเกิดเป็นเวทีแข่งขันแห่งใหม่ แต่เป็นสนามแข่งขันของคนเก่งด้วยกัน
ที่จะพบว่าใน เวทีใหม่มีคนที่ เก่งกว่า และ คนที่เคยเก่งก็ย่อมด้อยลง
ไปกว่าเดิม

ผลก็คือบรรยากาศที่แก่งแย่งชิงดี ถ้าไม่ได้มีการกล่อมเกลาเป้าหมาย
ก็กลายเป็นเหตุแห่ง ผลไม่พึงปรารถนา

และนั่นคือส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ได้รับมาจากปากคำของเด็ก
ที่ถ่ายทอดผ่านสื่อมวลชน เหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นครั้งนี้
สังคมวงกว้างเองก็ต้องใส่ใจหามาตรการแก้ไขป้องกันโดยเร่งด่วน แม้ใครจะว่า
วัว หายล้อมคอก ก็ตาม

บรรยากาศรอบตัวเด็ก เริ่มแต่ครูอาจารย์ที่เข้มงวดคนแล้วคนเล่า
วิชาการแต่ละวิชาที่หนักหน่วง เพื่อนแต่ละคนนิสัยแต่ละอย่าง
บรรยากาศการเรียนแต่ละวัน กิจกรรมเสริมแต่ละกิจกรรม
การเตรียมการสอบแต่ละครั้ง ผลการสอบแต่ละครั้ง ล้วนเป็น กรรมและ
วาระต่างๆ กัน ที่สร้างความรับรู้และจริตของเด็กแต่ละคนซึ่งจะสะสมไว้

ยิ่งแต่หากเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ไม่ชอบบรรยากาศแก่งแย่งชิงดี
อาจพบและไม่ทนทานกับความแล้งไร้น้ำใจของผู้คนที่ไม่มีเวลาใส่ใจคนอื่น
มักยิ่งทำให้เด็กโหยหาอยากกลับบ้าน คิดถึงบ้านแบบนับวันนับชั่วโมง เครียด
เศร้า หดหู่ ทดท้อ และเครียดหนักกว่าคนอื่น!!!

ที่จริง ทางจิตวิทยา ถือว่าความเครียดในระดับที่เหมาะสม
(ของคนทั่วไปโดยเฉลี่ย หรือมากน้อยตามความสามารถต้านทานของแต่ละบุคคล)
ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ
จะช่วยเป็นตัวกระตุ้นให้คนเราพยายามมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น
แข่งขันสูงขึ้น และความคาดหวังสูงกว่าความสำเร็จเดิมๆ ขึ้นไปอีก

แน่นอนที่สุด ความเครียดก็ย่อมสูงยิ่งขึ้นๆ

เมื่อความเครียดไม่ได้รับการผ่อนคลาย สะสมจนถึงจุดสูงสุด
ผสานเข้ากับความสับสนขาดคนติดตามเฝ้าระวังให้คำปรึกษา ย่อมกลายเป็น ห้วง
เวลาวิกฤตในชีวิต ที่จะคิดใคร่ครวญเพื่อ หาทางออกให้กับตัวเอง
แล้วลงมือกระทำตามที่คิด ซึ่งเป็นได้ทั้ง ด้านบวกและด้านลบ

ด้านบวก พร้อมกับการหาทางแก้ปัญหา
ก็ปรับตัวปรับใจให้ความเครียดผ่อนคลาย ไปเล่นกีฬา ออกกำลังกายหนักๆ
ร่างกายหลั่งเอ็นโดรฟินส์ สมองแจ่มใส
การวิเคราะห์แก้ไขปัญหาก็ทำได้ง่ายขึ้น

ด้านลบ ก็คือ เก็บกด กดดัน คิดฟุ้งซ่าน ทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น
หรือทำลายสิ่งของ แม้กระทั่งเผาบ้านเผาเมือง
ดังที่เกิดขึ้นมาให้เราได้เห็นอย่างน่าวิตกว่า
จะเกิดการเลียนแบบแพร่หลายออกไปมากขึ้น

อาจมีคนตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมเด็กเก่งๆ ในโรงเรียนชั้นนำในอดีต
ไม่เคยมี ปัญหาที่ก้าวร้าวรุนแรงจนถึงขั้นทำลายทรัพย์สินสาธารณะอย่าง
หนักหน่วงเช่นนี้

คำตอบคือ ใช่ว่าจะไม่เคยมีคนเรียนเก่ง
ที่จะถูกความเครียดกดดันหนักหน่วงถึงกับคิดสั้นและทำร้ายตนเอง
ในระดับต่างๆ ถึงขั้น อัตวินิบาตกรรม สำเร็จมาแล้วก็มี
เพียงแต่ไม่ได้รับการเผยแพร่ให้รับทราบกัน
เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดในครอบครัวหรือสถานศึกษาเท่านั้น

แต่ครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่ดูเหมือนเกี่ยวเนื่องกับความรุนแรงที่
เพิ่งผ่านมาในเดือนพฤษภาคมแบบสดๆ ร้อนๆ ยิ่งเด็กบอกในวันแรกว่า ทำ
เลียนแบบผู้ใหญ่ เพราะเอาผิดใครไม่ได้ ก็ยิ่งบ่งชี้ชัดว่า
ถ้าเด็กลงมือทำตามที่คิดเช่นนั้นจริง ก็สรุปได้ว่า ภาพเดือนพฤษภาคม
เป็นตัวอย่างให้เด็กทำตาม ในการตัดสินใจลงมือขั้นสุดท้าย

ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเป็น เด็กอัจฉริยะ มากน้อยเพียงใดก็ตาม
เพราะใต้ ภาวะกดดันสูงสุด จนไม่สามารถควบคุมสติได้แล้ว
ความฉลาดปราดเปรื่องทางปัญญาก็อาจไม่สามารถใช้ได้ผล หรือไม่ก็กลับ ถูก
ใช้ไปในทางที่เลวร้ายยิ่งขึ้น กว่าคนปกติ เป็นการกระทำรุนแรงที่เจตนา
และจากการใช้ความฉลาดไปในทางทำลายล้าง

ถึงเวลาที่ผู้ใหญ่ทั้งหลาย โดยเฉพาะ
เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนมัธยมทั่วประเทศ จะต้องหันมาร่วมมือกัน
กับโรงเรียน ให้ช่วยกันรณรงค์เสริมสร้าง
ปราการป้องกันและเฝ้าระวังความรุนแรงในหมู่เยาวชน จัดกิจกรรมต่างๆ
ที่เป็นแรงช่วย จรรโลงบรรยากาศพัฒนาลูกหลานของเราให้ก้าว
ไปในทิศทางที่ถูกต้อง

แน่นอนที่สุด เครือข่ายผู้ปกครองเอง ไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใดๆ ก็ตาม
ต้องตระหนักถึงการแก้ไขปัญหาสังคมโดยการ ไม่ใช้ความรุนแรง
และต้องแสดงออกถึงการปฏิเสธแนวทางการ
เมืองที่นิยมความรุนแรงที่เกลื่อนเมืองอยู่ในขณะนี้

เพื่อลูกหลานของเรา จะได้ไม่ถลำตัว เป็นเหยื่อไปเลียนแบบความชั่วร้ายนั้น


ผมว่ามีความกดดันบ้างก็ดีนะครับ แต่ต้องรู้จักการอยู่กับมัน
เพราะดูแล้วเด็กยุคหลังๆ จะไม่ค่อยชอบความกดดันกันสักเท่าไหร่ ยิ่งคำว่า
"ความเครียด" นี่กลัวกันจนหัวหดเลยทีเดียว
แล้วสิ่งที่เราจะได้คืออะไรล่ะครับ ก็คือ ได้คนที่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ
หรือไม่ก็ได้คนที่ทนอะไรไม่ได้สักอย่าง เลยแสดงออกด้วยความรุนแรง
อย่างที่เห็นๆกันอยู่

สมัยผมเรียนมัธยม อัตราส่วนการแข่งขันก็ประมาณนี้ล่ะครับ 10 ต่อ 1
แถมตอนสอบ Entrance ก็สอบหนเดียว คะแนนสอบล้วนๆ มหาลัยถ้าบอกว่าเป็นเอกชน
ก็ยังไม่น่าเข้าเท่าสมัยนี้ แบบนี้ก็เรียกว่ากดดันเหมือนกันใช่มั้ยครับ
แต่สิ่งที่ผม และเพื่อนๆอีกหลายคนถูกสอนมาก็คือ
ให้เอาชนะความกดดันด้วยความ "มุ่งมั่น" ซะ
พูดแบบนี้อาจจะเหมือนกับยกยอตัวเองและคนรุ่นเดียวกัน
แต่ผมคิดว่าสิ่งที่ช่วยให้ผมผ่านสถานการณ์ที่กดดันและเคร่งเครียดมาได้ก็
เพราะ ความมุ่งมั่นนี่ล่ะครับ
ทั้งมุ่งมั่นที่จะทำตัวเองให้มีความรู้พร้อมที่จะเข้าทั้งโรงเรียนมัธยมและ
มหาวิทยาลัย การหางาน การทำงาน
ผมว่าคนเราอาจจะไม่ได้มาพร้อมพรสวรรค์มากเท่าไหร่นัก
แต่อย่างน้อยความมุ่งมั่นนี่ล่ะครับที่สร้างได้ทุกคน ผมเห็นเด็กสมัยนี้
เวลาเจอความยาก หรือความลำบาก ก็เลิกสู้แล้ว หันไปหาทางลัดแทน
ดูอย่างหนังสือสมัยนี้สิครับ ทุกร้านต้องมีหนังสือที่มีคำว่า "ทางลัด"
อยู่ในร้านเสมอไม่ว่าเรื่องอะไร

แล้วก็อยากจะแย้ง คนที่ชอบบอกว่า
วิชาการที่เรียนในสถานศึกษาไม่สำคัญเท่ากับการรู้เท่าทันชีวิต
ผมว่าก็จริงในระดับหนึ่งนะครับ แต่เราอย่าพูดให้เด็กเข้าใจผิดว่า
ความรู้ทางวิชาการนั้นไม่สำคัญ เพราะพอมาทำงานแล้ว เราจะได้พบกับคนที่
"รู้ชีวิต" ดีเหลือเกิน จะตุกติก ยังไง จะโกงเขายังไง
จะทำยังไงให้ได้เปรียบคนอื่น จะรู้หมด
แต่พอถึงเวลาต้องใช้ความรู้ในการทำงานเข้าจริงๆแล้ว
กลับกลายเป็นการมั่วเอา เพราะไม่รู้จริง
ถ้าประเทศเราเต็มไปด้วยคนอย่างนี้ ก็ลองจิตนาการดูก็แล้วกันนะครับว่า
อนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร
J+

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น