++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จะปรองดองกลางไฟ หรือจะดับไฟก่อนปรองดองดี

โดย อุษณีย์ เอกอุษณีษ์ 17 มิถุนายน 2553 18:54 น.
การเดินทางเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล
ของนายควินตัน มาร์ก เคลก ( H.E. Quinton Mark Quayle)
เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทยเมื่อ 16 มิถุนายน
มีนัยที่น่าสนใจบางประการที่มากกว่าการมอบเสื้อฟุตบอลโลก
เพราะระหว่างการสนทนา ปรากฏว่าทั้งคู่ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์
กรณีสถานการณ์ความขัดแย้งในไทยและแผนปรองดอง กับกรณีความขัดแย้งระหว่าง
สหราชอาณาจักร กรณีไอร์แลนด์เหนือ และผลสอบเหตุการณ์ Bloody Sunday

แน่นอนว่า ภาพดังกล่าว กลายเป็นเรื่อง "เข้าทาง"
บรรดาเครื่องจักรโฆษณาชวนเชื่อเสื้อแดงที่นำเหตุการณ์ Bloody Sunday
มาโยงใยเปรียบเทียบกับสถานการณ์รุนแรงในไทยเสร็จสรรพ
พร้อมกับมีความพยายามจะเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนในโลกไซเบอร์ ผ่านภาพ
"ป้ายโฆษณากลางสนามกีฬาในต่างแดน" ที่อ้างว่า
เป็นภาพของชาวไอร์แลนด์เหนือร่วมเรียกร้องให้ยุติ "Bloody Sunday"
ทั้งในไทย ศรีลังกา อัฟกานิสถาน และอิรัก

ที่จริงแล้ว เหตุการณ์ Bloody Sunday
เป็นเหตุการณ์ทหารอังกฤษสังหารหมู่ผู้ประท้วงในเมืองเดอร์รี่
แคว้นไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม ปี พ.ศ. 2515
และจากผลของการสอบสวนที่ใช้เวลานานถึง 12 ปี และใช้งบกว่า 200 ล้านปอนด์
ได้กลายเป็นบทพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของประชาชนที่เสียชีวิตครั้งนั้นว่า
พวกเขาไม่ได้มีอาวุธ และตกเป็นฝ่ายถูกยิงจากทหาร เมื่อ 38 ปีที่แล้ว

ข้อเท็จจริงทั้งหมดถูกเรียบเรียงออกมาเป็นรายงานผลการสอบหนากว่า
5,000 หน้า เป็นบันทึกการให้ปากคำของพยานกว่า 921 ปาก กับหลักฐานกว่า 250
ชิ้น และผลของการสอบสวนที่ออกมา
ก็สามารถสนองตอบความต้องการของทั้งสองฝ่ายได้ในระดับหนึ่งคือ
ฝ่ายรัฐได้มีโอกาสขอขมาต่อความผิดพลาดของรัฐบาลในอดีต
กับฝ่ายประชาชนที่ต้องการพิสูจน์ความบริสุทธ์ของญาติพี่น้องที่ตายไป

เป็นความพยายามอีกครั้งของรัฐบาลอังกฤษ
ที่ต้องการจะนำกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อความสมานฉันท์มาใช้สมานรอย
ร้าวในอดีตที่เกิดขึ้น
หลังอังกฤษเคยประกาศตั้งคณะกรรมการสอบสวนชุดแรกที่ใช้เวลาสอบความจริงเพียง
2 เดือน และเขียนรายงานออกมา 30 กว่าหน้า แต่ไม่ได้รับการยอมรับ

ขณะที่รายงานสอบสวนฉบับล่าสุดนั้น
ถูกนำมาเปิดเผยหลังไฟสงครามไอร์แลนด์ที่เคยครุกรุ่นได้มอดดับลง
หลังกบฏไอร์แลนด์เหนือประกาศวางอาวุธมาเกือบ 10 ปีที่แล้ว

ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับการทำงานของคณะกรรมการแสวงหาความจริง
เพื่อความสมานฉันท์ต้นฉบับแอฟริกาใต้ ชุดที่มี สาธุคุณ เดตมอนด์ ตูตู
เป็นประธานฯ กรณีสอบเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชนตามข้อเรียกร้องของ เนลสัน
แมนเดลา แล้ว แม้การทำงานของสาธุคุณ เดตมอนด์ ตูตู
จะเดินหน้าทำงานในช่วงที่ความรุนแรงยุติ
และยังต้องใช้เวลาทำงานอย่างยากลำบากตลอด 3 ปี 4 เดือน
บนจุดยืนที่เป็นกลาง แต่รายงานของท่านก็ยังถูกต่อต้าน
และไม่ยอมรับจากคู่ขัดแย้งที่ล้วนยังเป็นผู้มีอำนาจ
และมีบทบาทเป็นตัวแสดงสำคัญบนเวทีการเมืองขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายพรรค
ANC ของแมนเดลา หรือ ฝ่ายรัฐบาลผิวขาว (อ่านเพิ่มเติม
"คณะกรรมการแสวงหาความจริงเพื่อความสมานฉันท์ของประเทศแอฟริกาใต้ :
เรียนจากเขาแต่อย่าเลียนอย่างเขา", สุรพงษ์ ชัยนาม, ASTV ผู้จัดการ 16
มิถุนายน 2553)

ส่วนกรณีของไทย
ความพยายามปรองดองของเราดำเนินบนเส้นทางที่โหดหินที่สุด
คือทำทั้งที่สังคมยังคงเผชิญความรุนแรง
และสงครามกลางเมืองอาจปะทุได้ทุกเมื่อ
ซึ่งนอกจากจะมีโอกาสสำเร็จได้น้อยดังที่หลายคนเป็นห่วงแล้ว ยังไม่แน่ว่า
ความพยายามดังกล่าว
จะส่งผลให้รัฐและเจ้าหน้าที่ต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบหรือไม่

เพราะในขณะที่ตัวผู้ก่อความรุนแรง บ่อเกิดความขัดแย้ง
หัวหน้าขบวนการก่อการร้ายยังคงเคลื่อนไหวอิสระ
และสร้างอิทธิพลปั่นป่วนประเทศตลอดเวลา ส่วนมือไม้ ม้าใช้
ก็ยังไม่ถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย หรือยังไม่ถึงมือศาล (แม้ถูกตั้งข้อหา
ก็ยังต้องจับตาการทำหน้าที่ของต้นธารกระบวนการยุติธรรม อาทิ ตำรวจ
อัยการ) ตรงกันข้าม รัฐบาลผู้ประกาศวาระปรองดอง
ก็เสี่ยงจะถูกวาทกรรมปรองดอง ผูกมือเท้า ติดกับดักตนเอง
จนไม่ให้บังคับใช้กฎหมายอย่างที่ควรในยามมีภัยได้

นอกจากนี้ ยังต้องยอมรับตามตรงว่า ยังมีปัญหาอีกหลายประการ
ที่ทำให้ประชาชนยังขาดความมั่นใจในทิศทางดังกล่าว เช่น เกิดคำถามว่า
ปรองดองสมานฉันท์ จะเป็นคำตอบที่ถูกโรคกับที่เรากำลังเผชิญหรือไม่
ในเมื่อไทยไม่ได้เพิ่งเข้าสู่วิกฤตเมื่อ 10 เมษายน หรือ 19 พฤษภาคม
ที่ผ่านมา หากแต่ปัญหามันสะสมมาก่อน 19 กันยายน 2549
และบ่มเพาะมาตั้งแต่ปี 2543
หลังระบอบทักษิณได้เข้ามาทำให้ประเทศทั้งประเทศตกอยู่ในสภาวะ
"ประชาธิปไตยเอ่อล้น แต่นิติรัฐพร่อง" (อ่านเพิ่มเติม "อัมมาร"
วิเคราะห์มูลเหตุรัฐประหารพร่อง "นิติรัฐ" กรุงเทพธุรกิจ, 16 ตุลาคม
2549) โดย มีความแตกแยกจากสังคมของคนเสื้อแดง
เป็นเพียงโรคแทรกซ้อนเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้สงสัยว่าเหตุใด
เราจึงเลือกประคองอาการรอวันตาย ด้วยยาปรองดอง
แทนที่จะใช้การผ่าตัดบ่มหนอง ฟื้นฟูนิติรัฐ
ปฏิรูปหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั้งหลายให้กลับมาทำหน้าที่ตามปกติอย่างที่
ควรจะเป็น

แต่สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย ตลอดช่วงเดือนเมษายน -
พฤษภาคมที่ผ่านมา หลักฐานสมัยใหม่อย่าง
ภาพวิดีโอที่ถูกเผยแพร่แบบเรียลไทม์ไปทั่วโลก
เป็นเครื่องยืนยันถึงขบวนการก่อการร้ายที่แฝงตัวในหมู่ผู้ประท้วง
โดยที่ผู้ชุมนุมบางส่วนมีความเต็มใจให้เป็นการประท้วงตลอด 2
เดือนกลายเป็นกฐินสามัคคีของเหล่าอาชญากรที่ก่อการทั้งวางเพลิง
ปล้นทรัพย์ หรือแม้แต่ฆาตกรรมเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และผู้บริสุทธิ์
ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบให้ถูกบางส่วนเหมือนสถานการณ์ในคีร์กีซสถาน ณ
เวลามากกว่า เหมือนตรงที่หลายสำนักข่าวพากันพาดหัวถึงสถานการณ์ในคีร์กีซสถานว่า

"Kyrgyzstan violence was orchestrated, UN says"
หรือแปลเป็นไทยได้ว่า
ยูเอ็นพบหลักฐานชี้ว่าเหตุจลาจลในคีร์กีซสถานมีการจัดตั้ง
วางแผนและกำหนดเป้าหมายมาเป็นอย่างดี
โดยพบว่ามีชายสวมหน้ากากไหมพรมเข้าร่วมในปฏิบัติการโจมตีประชาชนทั้งที่เป็น
ชาวคีร์กีซและชาวอุซเบก และจอมบงการเบื้องหลังยังเลียนแบบไทย
จ้างมือปืนสไนเปอร์จากประเทศเพื่อนบ้านมาทำร้ายประชาชนทั้ง 2 ฝ่าย
โดยที่ฝ่ายความมั่นคงนั้น สามารถจับกุมมือปืนได้หลายคน
ที่สุดท้ายยังได้ซัดทอดถึงผู้บงการด้วย

"สมานฉันท์กับใคร ถ้ายังระบุไม่ได้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นใคร"
ด้วยเหตุนี้จึงยังเป็นไปได้ด้วยว่า
สถานการณ์ความรุนแรงที่กำลังดำเนินอยู่ให้ประโยชน์แก่คนบางหมู่บางเหล่าที่
ไม่เห็นแก่ความอยู่เย็นเป็นสุขของคนในสังคม
ในแง่นี้จึงไม่แปลกนักที่ความรุนแรงจะดำรงอยู่ต่อไป
แม้ขณะที่งานสมานฉันท์กำลังดำเนินอยู่

ด้วยคุณลักษณ์เช่นนี้กระบวนการสร้างสมานฉันท์เป็นยิ่งกว่า
การแก้ปัญหาความรุนแรงที่กำลังปรากฏ
แต่เป็นการพยายามสร้างชุมชนทางการเมืองที่พึงประสงค์ชนิดที่ทุกคนมี
ศักดิ์ศรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น