Theขี้ฝุ่นริมทาง
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สุภาษิตพระร่วง - วรรณคดีสมัยสุโขทัย
ทำนองแต่ง - ตอนต้นแต่งด้วยร่ายโบราณ ตอนท้ายเป็นร่ายสุภาพและโคลงสี่สุภาพ
เรื่องย่อ - เริ่มต้นกล่าวถึงพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ทรงมุ่งประโยชน์ในกาลภายหน้า จึงทรงบัญญัติสุภาษิตสำหรับสอนประชาชนทิ้งไว้ สุภาษิตบทแรกคือ "เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินมาเมื่อใหญ่" สุภาษิตทั้งหมด ๑๕๘ บท จบลงด้วยโคลงกระทู้
ข้อคิดเห็น - สุภาษิตพระร่วง เป็นคติโลก แกมคติธรรม ใช้ถ้อยคำคล้องจองกัน สำนวนกะทัดรัดจับใจ จึงมีผู้จดจำไว้ได้มาก ถึงแก่มีผู้นำไปดัดแปลงแทรกไว้ในวรรณคดีเรื่องอื่น เช่น มหาเวสสันดรชาดกร่ายยาว ตอนพระนางมัทรีตรัสแก่พระชาลีและพระกัณหา เพื่อประชดพระเจ้าสญชัยที่ว่า " อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์" ตอนชูชกกว่าแก่เจตบุตรว่า "เราคิดว่าจะอาสาเจ้าจนตัวตายตามสุภาษิต" และตอนพระเวสสันดรแสร้งตรัสต่อว่าพระนางมัทรีว่า "เข้าเถื่อนเจ้าลืมพร้า" ในเสภาขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม กล่าวถึงวิชาที่พลายงามต้องศึกษาเพิ่มเติม เมื่อพักอยู่กับเจ้าหมื่นศรีเสาวรักษ์ว่า มี "สุภาษิตบัณฑิตพระร่วง"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น