++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประชาธิปไตยและมีเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นเศรษฐกิจแบบเสรีหรือระบบเศรษฐกิจตลาด

จุดอ่อนของเศรษฐกิจแบบกลไกตลาด
โดย ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน 5 สิงหาคม 2552 15:38 น.
ในแง่ระบอบการปกครองนั้น ถ้าจะกล่าวอย่างกว้างๆ
ก็คือระบบการปกครองเผด็จการสังคมนิยมซึ่งมีการใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนโดย
ส่วนกลาง อีกระบบหนึ่งคือระบบฟาสซิสต์ที่มีพรรคการเมืองเผด็จการหนึ่งพรรค
หรือไม่ก็อยู่ภายใต้อำนาจรัฐบาลทหาร ระบบที่สามคือ ระบบการปกครองแบบ

ในการพัฒนาเศรษฐกิจและการมีระบบการปกครองทั้ง 3 แบบข้างต้นนี้
มีตัวอย่างก็คือ
เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมและการเมืองแบบประชาธิปไตยนั้นเป็นวิถีที่อังกฤษและ
อเมริกาใช้ในการปกครองประเทศ
ส่วนระบบสังคมนิยมและเผด็จการของพรรคก็ได้แก่จีนสมัยเหมา เจ๋อตุง
และสหภาพโซเวียต ในแง่ฟาสซิสต์ก็คือเยอรมนีสมัยฮิตเลอร์
และญี่ปุ่นสมัยโตโจก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยถือเป็นระบบที่เลวน้อยที่สุดเมื่อเทียบ
กับระบบอื่น แต่ปัจจุบันนี้ก็เป็นหนึ่งในแนวโน้มของโลก นั่นคือ
จะต้องมีการปกครองแบบประชาธิปไตยพร้อมๆ
กับการเคารพสิทธิมนุษยชนและการค้าเสรี
ในส่วนของการค้าเสรีก็เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจแบบตลาดหรือเศรษฐกิจแบบทุน
นิยมของโลกเสรี

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนี้ถูกคาร์ล มาร์กซ์
โจมตีว่าเป็นระบบที่ไม่ยุติธรรม
เพราะผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน
จนนำไปสู่การต่อสู้ระหว่างชนชั้น คือชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ คาร์ล
มาร์กซ์ ยังทำนายว่าในที่สุดแล้วทุนนิยมจะถูกล้มโดยการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ
ซึ่งได้ประกาศใน Communist Manifesto แต่ข้อสังเกตก็คือ แม้ใน Communist
Manifesto คาร์ล มาร์กซ์
ก็ยอมรับถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบทุนนิยม
ซึ่งสร้างความร่ำรวยอย่างมหาศาลกับยุโรปตะวันตก

ส่วนดีของระบบเศรษฐกิจโดยอาศัยกลไกตลาดมีหลายประการ
ในเบื้องแรกเป็นการปลดปล่อยพลังอันสำคัญของมนุษย์ซึ่งถูกจูงใจโดยผลประโยชน์
ส่วนตัวให้ขยันขันแข็ง มีความคิดริเริ่ม มีการวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิต
นำไปสู่ความหลากหลายของสินค้าที่จำเป็น
ในแง่นี้มีส่วนทำให้ปิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน
แต่ในส่วนลบนั้นก็คือทำให้เกิดการรวยกระจุก จนกระจาย
ในกรณีที่ระบบการเมืองไม่มีมาตรการที่จะแจกแจงรายได้ให้ยุติธรรมยิ่งขึ้น

นอกเหนือจากนี้ประเด็นที่ต้องพิจารณาถึงจุดอ่อนของระบบตลาดเสรีก็คือ
ความคิดในเรื่อง การรวมทุน (capital formation)
ความคิดในเรื่องการหยดย้อยของผลประโยชน์ต่อชนชั้นล่าง (the trickle-down
effect) นอกเหนือจากนี้คือการแจกแจงรายได้ซึ่งยังไม่ถึงจุดที่จะเกิดความยุติธรรม
และประการสุดท้ายคือการค้าเสรี

ในแง่ของการรวมทุนนั้น
หลักการคือเพื่อกระตุ้นความจำเริญทางเศรษฐกิจให้มีการพัฒนาโดยการเปิดโรงงาน
ผลิตสินค้า ซึ่งจะนำไปสู่การว่าจ้างแรงงานจนมีรายได้กระจายไปทั่ว
และจากรายได้ดังกล่าวก็นำไปสู่การซื้อขายจับจ่าย
ทำให้เกิดการกระตุ้นความจำเริญด้วยตัวคูณ (the multiplier effect)
เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องให้คนรวยจำนวนหนึ่งเป็นผู้มีเงิน
มากกว่าคนทั่วไป และรวมเงินเพื่อเป็นทุนในการลงทุน คำถามก็คือ
สภาพนี้เป็นความเหลื่อมล้ำตั้งแต่ต้นใช่หรือไม่
ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะส่งผลต่อการแจกแจงรายได้ตั้งแต่ต้น
แต่ข้ออ้างก็คือเป็นความจำเป็นของการรวมทุนเพื่อการลงทุน
และมีข้อซึ่งแก้ต่างการรวมทุนนี้คือประเด็นที่สอง

The trickle-down effect หรือที่เรียกว่า ไหลหยดของผลประโยชน์
โดยมีข้อถกเถียงว่า เมื่อเศรษฐกิจจำเริญขึ้นคนรวยกลุ่มเล็กๆ
มีรายได้เพิ่มขึ้น
ผลจากความจำเริญของเศรษฐกิจก็ส่งผลถึงคนยากจนในแง่การเพิ่มรายได้
การว่าจ้างแรงงาน ดังนั้นเมื่อคนรวยๆ ขึ้น
คนจนก็ได้ประโยชน์จากการรวยขึ้นของคนรวย
คำกล่าวนี้แม้จะเป็นความจริงแต่ประเด็นก็คือสัดส่วนของเพิ่มรายได้ของคนจนจะ
น้อยกว่าคนร่ำรวย ดังจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงของประเทศไทยคือ

ตารางที่ 1 การกระจายรายได้ในช่วงเวลา พ.ศ. 2505-2533


ตารางที่ 2 การกระจายรายได้ในช่วงเวลา พ.ศ. 2535-2549

ที่มา: Medhi Krongkeaw (1979),
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(คำนวณจากเทปข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปีต่างๆ
โดยใช้น้ำหนักถ่วงข้อมูลของสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย),
ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน
ประมวลผลโดยสำนักพัฒนาการเศรษฐกิจชุมชนและการกระจายรายได้ ใน อัศวิน
ไกรนุช, (2550) รายงานการวิจัยเรื่อง
การเปลี่ยนแปลงความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้จากการพัฒนาประเทศ.

ในช่วงเกือบ 50 ปีรายได้ของคนจนซึ่งเป็น 20% ของคนทั้งประเทศ
หรือประมาณ 12 ล้านคนอยู่ระหว่าง 3-5 บาทต่อรายได้ 100 บาทของมวลรวมชาติ
ส่วนคนร่ำรวย 20% จะอยู่ระหว่าง 55-60 บาทของมวลรวมชาติ ซึ่งช่วงระยะเวลา
50 ปีที่ผ่านมาโครงสร้างรายได้ดังกล่าวนี้มิได้มีการเปลี่ยนแปลงแม้แต่น้อย
ซึ่งหมายความว่านโยบายเรื่องการแจกแจงรายได้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
เห็นได้ชัดจากการไม่มีการเก็บภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน
และภาษีมรดกซึ่งเป็นภาษีทางตรง ครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาคนรวยและคนจนใน 20%
สูงสุดและต่ำสุดยังคงมีสภาพเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง the trickle-down
effect จึงเป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่เป็นความจริงจากกรณีของประเทศไทย

ในส่วนของ the multiplier effect มีส่วนจริงในระดับหนึ่ง
เพราะคนยากจนในปัจจุบันมีรายได้สามารถจะจับจ่ายซื้อของที่เป็นสินค้าบริโภค
มากขึ้น ตั้งแต่เครื่องดื่ม เช่น เบียร์ เสื้อผ้า รถมอเตอร์ไซค์
รถยนต์กระบะ และอื่นๆ

แต่ขณะเดียวกันเกษตรกรซึ่งมีจำนวนสิบๆ
ล้านคนก็ยังเผชิญกับปัญหาที่แก้ไม่ตก
คือการตกต่ำของราคาพืชผลเนื่องจากกลไกตลาดบกพร่องและพ่อค้าคนกลางซึ่งเอา
เปรียบเกษตรกรด้วยการผูกขาดหรือกึ่งผูกขาดทั้งในการขาย (พันธุ์พืช ปุ๋ย
ยาฆ่าแมลง ฯลฯ) และการรับซื้อ (เช่น ข้าว ผัก มันสำปะหลัง ฯลฯ)
สภาพของชนบทยังคงมีสภาพเหมือนเดิมในครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาก็คือ แล้ง
น้ำท่วม แจกผ้าห่มในฤดูหนาว ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
เกษตรกรติดหนี้ท่วมหัว ฯลฯ วนเวียนไม่มีที่สิ้นสุดตราบจนทุกวันนี้ ถ้า
capital formation และ the trickle-down effect
ส่งผลประโยชน์ต่อคนชั้นล่างจริง
การแจกแจงรายได้ก็ไม่น่าจะมีความเหลื่อมล้ำดังที่ยกมาให้เห็นในตาราง

การค้าเสรี (free trade) คือการใช้กลไกของตลาดในระดับโลก
แต่ประเทศที่ด้อยพัฒนาเสียเปรียบอย่างมหาศาล free trade แต่ไม่ fair
trade เป็นกลไกของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่เอาเปรียบประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า
ประเด็นดังกล่าวจะต้องมีการพิจารณาอย่างจริงจัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความบกพร่องที่ปล่อยให้เงินเหรียญสหรัฐ
เป็นเงินสำคัญของโลก ใช้เป็นหน่วยในการวัดราคาสินค้าและปล่อยให้สหรัฐฯ
ติดหนี้สินพะรุงพะรังทั่วโลกบนฐานแห่งการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยเกินตัวและงบ
ที่ขาดดุล ระเบียบโลกทางการเงินควรจะมีความยุติธรรมยิ่งกว่านี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ ธนาคารโลก IMF WTO
จะต้องมีการพิจารณาเพื่อการแก้ไขต่อไป

ระบอบ การปกครองแบบประชาธิปไตยคู่กับเศรษฐกิจเสรีและทุนนิยม
จะพึงประสงค์ก็ต่อเมื่อนำไปสู่ความยุติธรรมทางสังคมในแง่การแจกแจงรายได้
มิฉะนั้นสภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือ ประเทศร่ำรวยแต่คนยากจน (rich
country, poor people)
โดยประเทศที่ร่ำรวยนั้นคือความร่ำรวยของคนกลุ่มเล็กๆ
บนยอดพีระมิดแห่งการแจกแจงอำนาจทางการเมือง อำนาจเศรษฐกิจ
และสถานะทางสังคม
ในขณะที่คนส่วนใหญ่ที่ฐานพีระมิดยังยากจนแสนเข็ญโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงกว่า
5 ทศวรรษที่ผ่านมาตามที่ได้ยกตัวเลขมาให้เห็นข้างต้นนี้


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000088756

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น