++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

รากแก้วแห่งปัญญา : การสร้างนักวิจัยระดับปริญญาเอก ที่มีคุณภาพและประหยัดงบประมาณ

โดย สำนักงานกองทุนสนุบสนุนการวิจัย (สกว.)
27 พฤษภาคม 2547 02:48 น.
โดย ศ.ดร.นักสิทธิ์ คูวัฒนาชัย ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก(คปก.)


โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)
หรือโครงการพัฒนานักวิจัยระดับปริญญาเอกเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ระบบวิจัยของประเทศ
ได้รับอนุมัติให้

ดำเนินการเมื่อปี 2539 จาก ครม. โดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(สกว.) เป็นผู้บริหารโครงการ คปก.
เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีนักวิจัยน้อย

มาก ซึ่งทำให้ระบบวิจัยของประเทศอ่อนแอ ปัจจุบันประเทศไทยมีนักวิจัยเพียง
3 คนต่อประชากรหมื่นคน

ในขณะที่สิงคโปร์ เกาหลี และไต้หวัน มีนักวิจัยมากกว่า 30
คนต่อประชากรหมื่นคน
ระบบวิจัยของประเทศจึงยังไม่สามารถผลิตผลงานวิจัยสนับสนุนการ

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คปก. ได้ดำเนินการมาครบ 7 ปี และมีนักศึกษาในโครงการทั้งสิ้นเกือบ 1400
คนและโครงการได้ผลิตบัณฑิตปริญญาเอกไปแล้ว 225 คน บทความวิจัยใน

วารสารนานาชาติ 601 เรื่อง และได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรทั้งสิ้น 17 เรื่อง
เป็นสิทธิบัตรนานาชาติ 3 เรื่อง
จำนวนบทความวิจัยต่อผู้สำเร็จการศึกษามีค่าประมาณ

2 ซึ่งนับว่าสูงมาก นักศึกษาที่เข้าสู่โครงการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก
150 คนต่อปีในระยะเริ่มต้น มาเป็นเกือบ 400 คนในปี 2546
ปัจจุบันโครงการมี

อาจารย์ที่ปรึกษาไทยทั้งสิ้น 700 คนจาก 19 มหาวิทยาลัย
และมีอาจารย์ที่ปรึกษาต่างประเทศถึง 1180 คนจาก 35 ประเทศทั่วโลก

คปก. ซึ่งให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับคุณภาพ มีจุดเด่นหลายประการ ประการแรก
ก็คือ บัณฑิตที่ผลิตได้มีคุณภาพสูงได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นผลจาก

มาตรการเชิงคุณภาพ 3 ด้านที่ใช้ คือ
อาจารย์ที่ปรึกษาต้องมีประสบการณ์วิจัยมากพอ คุณภาพของนักศึกษา
โดยที่นักศึกษาที่จะรับเข้าสู่โครงการ ต้องได้

เกียรตินิยม หรืออยู่ใน 10% แรกของชั้น
หรือมีผลงานวิจัยที่ได้เผยแพร่แล้ว
และการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารนานาชาติก่อนที่นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษา

บัณฑิตที่ผลิตได้เกือบทั้งหมดได้งานทำแล้วและประมาณ 60%
เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และ 12% ไปทำงานเป็นนักวิจัยในต่างประเทศ
ซึ่งเป็นการพิสูจน์

ว่าบัณฑิตที่ผลิตได้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ประการที่สอง คปก. ช่วยประหยัดเงินของประเทศเป็นจำนวนมาก
ในการพัฒนาบุคลากรระดับปริญญาเอก ด้วยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยคนละ 1.7 ล้านบาท
ในขณะที่

ส่งไปต่างประเทศต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 6 ล้านบาทต่อคนโดยเฉลี่ย
คปก. มีศักยภาพที่จะประหยัดเงินให้ประเทศได้ไม่ต่ำกว่า 21,500 ล้านบาท
หาก

ผลิตได้ถึง 5000 คนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ประการที่สาม ด้วยความร่วมมือระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งมีถึง 700 คน
และอาจารย์ที่ปรึกษาต่างประเทศที่มีกว่า 1,180 คน นักศึกษา คปก.
ได้มีโอกาส

ไปวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยกว่า 300 แห่งใน 35 ประเทศ
รวมทั้งมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น เช่น
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สแตน

ฟอร์ด พรินซ์ตัน เคมบริดจ์ ออกซฟอร์ด โตเกียว เกียวโต โอซาก้า ฯลฯ
ซึ่งทำให้นักศึกษา คปก.
ได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยเป็นอย่าง

มาก

ประการที่สี่ บัณฑิต คปก.
ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ศึกษาวิจัยในประเทศไทยรู้สภาพและข้อจำกัดของประเทศไทยเป็นอย่างดี
เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วก็สามารถ

จะปรับตัวทำงานในสภาพของประเทศไทยได้ดีกว่าผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ
ซึ่งมักจะเคยชินกับสภาพการทำงานและวัฒนธรรมของต่างประเทศ ใน

อดีตผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศจำนวนไม่น้อย ต้องกลับไปทำงานต่างประเทศ

ประการที่ห้า คปก.
ได้ช่วยให้เกิดกิจกรรมร่วมมือระหว่างประเทศไทยและองค์กรในต่างประเทศที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยเป็นจำนวนมาก
องค์กรระหว่าง

ประเทศกว่า 10 องค์กรได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ คปก.
เพื่อให้นักศึกษา คปก. สามารถอยู่ทำวิจัยต่อในต่างประเทศได้นานขึ้น
ความช่วยเหลือจาก

องค์กรเหล่านี้มีมูลค่ารวมทั้งหมดกว่า 150 ล้านบาทในเวลา 5 ปี หาก คปก.
สามารถใช้ความช่วยเหลือได้ทั้งหมด

นอกจากนี้ จากการร่วมมือกันในการเป็นที่ปรึกษาให้ นศ. คปก.
ของอาจารย์ที่ปรึกษาไทยและอาจารย์ที่ปรึกษาต่างประเทศ
ได้เกิดโครงการความร่วมมือ

ด้านการวิจัยระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งสองฝ่ายหลายโครงการ
ซึ่งเป็นประโยชน์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น