ศูนย์ข่าวภูเก็ต -
นักวิชาการกลุ่มสัตว์ทะเลหายากฯเฝ้าติดตามสถานการณ์หอยมือเสือในทะเล
อันดามันหลังเกิดการฟอกขาวพร้อมปะการัง
ระบุกำลังอยู่ระหว่างการศึกษา-ทดลองหาแนวทางฟื้นฟูผลกระทบจากอุณหภูมิและ
ปัจจัยอื่น
นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประมง
ระดับชำนาญการพิเศษ กล่าวถึงสถานการณ์การฟอกขาวของหอยมือเสือ
ซึ่งเกิดพร้อมกับปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวในฝั่งทะเลอันดามันก่อนหน้านี้ว่า
ในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวในส่วนของหอยมือเสือได้เกิดการฟอกขาว
ตามไปด้วย ซึ่งจากการวิเคราะห์การฟอกขาวของปะการังเกิดจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูง
ขึ้นกว่าปกติ ส่งผลให้สาหร่ายซูแซนเทลลี
ที่อาศัยอยู่ในปะการังและทำให้ปะการังมีสีสันหนีออกมาจากปะการังทำให้กลาย
เป็นสีขาว
เช่นเดียวกับหอยมือเสือ
เป็นหอยที่มีสาหร่ายซูแซนเทลลีฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของหอย
เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นสาหร่ายชนิดนี้ทนอยู่ไม่ได้
และหนีออกมาจากเนื้อเยื่อหอย ทำให้เนื้อเยื่อหอยกลายเป็นสีขาว
ซึ่งก่อนนี้พบว่ามีหอยมือเสือฟอกขาวจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม หลังจากสถานการณ์น้ำทะเลกลับมาสู่ภาวะปกติ
และปะการังหยุดฟอกขาวในส่วนของนักวิชาการก็ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์หอยมือ
เสือฟอกขาวในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน
รวมทั้งทำการศึกษาและทดลองเลี้องหอยมือเสือในอุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิ
ปกติ เพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นกับหอยมือเสือ
ซึ่งเมื่อได้ผลการศึกษาและผลการทดลองก็จะนำไปใช้สำหรับฝื้นฟูหอยมือเสือ
ที่ได้รับผลกระทบฟอกขาวเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นของน้ำทะเล
นายก้องเกียรติกล่าวต่อว่า สำหรับ
สถานการณ์หอยมือเสือในฝั่งทะเลอันดามันนั้นถือว่าน่าเป็นห่วง
เนื่องจากถูกจับไปขายจำนวนมาก
จุดที่พบหอยมือเสือมากในฝั่งอันดามันอยู่ที่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา
และเกาะอาดัง จ.สตูล
สำหรับในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
ได้มีการทดลองปล่อยหอยมือเสือในหลายจุดซึ่งจุดที่พบว่าหอยมือเสือมีโอกาสรอด
มากที่สุด คือ ที่บริเวณเกาะราชา
ขนาดของหอยมือเสือที่เหมาะสมในการปล่อยคือขนาด 15-20 ซม.
ถ้าปล่อยขนาดเล็กกว่านี้ก็จะถูกสัตว์ทะเลชนิดอื่นจับกิน
ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้หอยมือเสือมีโอกาสรอด คือ การรอดพ้นจากมือมนุษย์
และเรื่องของคุณภาพสิ่งแวดล้อมถ้าสิ่งแวดล้อมดีก็จะช่วยให้หอยรอดมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น