++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง โชว์ผลงานเลี้ยงปลาทะเลระบบน้ำหมุนเวียน

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ -
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลาประสบความสำเร็จในการพัฒนาบ่อเลี้ยงปลาทะเลระบบน้ำหมุนเวียน
สามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน ปลาเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น

นายยงยุทธ ปรีดาลัมพะบุตร
หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยระบบและการจัดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา กล่าวว่า
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา
ได้มีการศึกษาวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงปลาทะเลระบบน้ำหมุนเวียนที่ระดับความหนาแน่นสูงได้เป็นผลสำเร็จโดยได้มีการพัฒนาบ่อเลี้ยงเป็นระบบปิดน้ำหมุนเวียนของเสียหรือน้ำเสียไม่มีการทิ้งออกไปภายนอก
มันมีการหมุนเวียนเอาไปบำบัดในระบบ ซึ่งมี 3 - 4 ขั้นตอน

โดยในขั้นตอนแรก น้ำทิ้งจะนำไปตกตะกอน
เมื่อตกตะกอนแล้วน้ำใสก็จะเข้าไปบำบัดในระบบไบโอฟิลเตอร์
การบำบัดระบบไบโอฟิลเตอร์เพื่อที่จะเปลี่ยนของเสียพวกแอมโมเนีย ไนไตร
ไปเป็นสารประกอบไนโตรเจนพวกไนเตรดที่ไม่เป็นพิษ
เมื่อแอมโมเนียหายไปจากระบบแล้ว น้ำที่ใสๆ ที่ผ่านระบบออกมา
ขั้นตอนสุดท้ายก็จะผ่านเครื่องยู-วีฆ่าเชื้อ
โดยการใช้แสงยูวีฆ่าเชื้อในน้ำ
หลังจากนั้นน้ำก็จะไหลกลับมาสู่รางบนกลับลงมาสู่บ่อเลี้ยงอีกครั้งหนึ่ง

"โดยน้ำจะไหลหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา
บ่อที่เราสร้างนี้เป็นระบบที่เราพัฒนาขึ้นมา โดยใช้ผ้าใบ ขนาดบ่อประมาณ
35 คิว แต่ละบ่อสามารถใส่ปลาลงเลี้ยงได้เป็นพันตัว
เราเคยทดลองเลี้ยงปลาได้ผลผลิตประมาณ 400 - 500 กก./บ่อ
โดยทดลองเลี้ยงปลากะพงขาว สำหรับระบบที่เราพัฒนา จะเห็นว่า
มีเครื่องควบคุมออกซิเจน เครื่องตัวนี้พัฒนาโดยนักวิชาการประมงของสถาบันฯ
จะมีการวัดระดับออกซิเจนตลอดเวลา" นายยงยุทธ กล่าวต่อและว่า

เมื่อพบว่า อ๊อกซิเจนต่ำ
ตัวเครื่องจะส่งสัญญาณไปยังปั้มลมปั้มน้ำให้ทำงานเพิ่มออกซิเจนโดยอัตโนมัติ
ระบบนี้สามารถติดตามและเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยง
น้ำในบ่อไม่ให้ต่ำกว่าระดับที่กำหนดให้
ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ปลอดภัยสำหรับสัตว์น้ำ
ระบบนี้สามารถทำงานแทนเจ้าหน้าที่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
จึงประหยัดแรงงานและค่าใช้จ่าย
และสามารถทดแทนการนำเข้าเครื่องมือราคาแพงจากต่างประเทศ

เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าในบ่อจะเลี้ยงปลาอย่างหนาแน่น ประมาณ 30 -
40 ตัว/คิวบิกเมตร เมื่อเกิดการใช้อ๊อกซิเจนมากจนเกินไป
มันก็จะมีเครื่องช่วยให้ออกซิเจนยามฉุกเฉินได้ เราเคยเลี้ยงปลากะพงขาว
ขนาด 6 นิ้ว เลี้ยงประมาร 5 เดือนกว่าๆ สามารถจับปลาได้ ขนาด
ครึ่งกิโลกรัม เราเลี้ยงในบ่อระบบปิดน้ำหมุนเวียนปลาจะโตเร็วขึ้นเร็วกว่าการเลี้ยงปลาในกระชัง
ทำให้ระยะเวลาเลี้ยงมันสั้นลง อาหารที่ใช้ก็น้อยลง
อัตราการแลกเนื้อก็ต่ำลง ในกระชังต้องใช้อาหาร 6 กก./เนื้อปลา 1 ก.ก.
แต่ในบ่อของที่นี่ทดลองแล้วใช้อาหาร 4 ก.ก./เนื้อปลา 1 ก.ก.
ซึ่งตรงนี้ลดต้นทุนไปเยอะ

หากเกษตรกรท่านใดสนใจสามารถติดต่อเข้าชมได้ทุกวัน
หรือขอความรู้เพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
จ.สงขลา โทร. 0-7444-2053 หรือ 0-7431-8895

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น