++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คู่มือเปิบ "เห็ด" ให้ปลอด "พิษ"

เมื่อเร็วๆ นี้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข "นพ.ไพจิตร์ วราชิต"
ออกมาให้ข้อมูลว่า ยอดผู้ป่วยจากการกินเห็ดพิษในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ของ
พ.ศ.2553 นี้ มีสูงถึงกว่า 300 ราย และมี 2 รายเสียชีวิต
ทำเอาบรรดานักนิยม (เปิบ) เห็ดทั้งหลายสยองขวัญสั่นประสาทไม่น้อย

จากข้อมูลดังกล่าวนี้เอง ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล
ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเห็ด องค์การสหประชาชาติ ปี พ.ศ.2524-2548
ได้วิเคราะห์ให้ฟังว่า ยอดผู้ป่วยที่บริโภคเห็ดแล้วมีอาการเป็นพิษนั้น
ส่วนใหญ่ก็เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และมั่นใจในตัวเองเกินไป
ตัดสินใจจากการสังเกตลักษณะภายนอกอย่างเดียว ทั้งที่ความจริงนั้น
เป็นการยากที่จะสังเกตดูด้วยตาได้ว่าเห็ดชนิดใดเป็นพิษหรือไม่

ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล กูรูด้านเห็ดของเมืองไทย


"แม้ว่าเห็ดทั่วไปจะมีปริมาณเป็นหมื่นๆ ชนิด
และเห็ดพิษมีไม่ถึงร้อยชนิดก็ตาม
แต่ด้วยธรรมชาติสร้างมาให้เห็ดพิษและเห็ดไม่มีพิษให้มีลักษณะใกล้เคียงกัน
จึงยากที่จะพิสูจน์
การที่ภูมิปัญญาชาวบ้านบอกว่าให้ตรวจพิษในเห็ดด้วยวิธีการใช้ช้อนเงินจุ่มดูในระหว่างที่ปรุงอาหารแล้วหากช้อนเปลี่ยนสี
ให้สันนิษฐานว่าเป็นเห็ดพิษ
เป็นภูมิปัญญาที่ไม่ครอบคลุมการตรวจสอบเห็ดพิษได้ทุกชนิด
เพราะมีเห็ดกินได้บางชนิดที่ทำปฏิกิริยากับเงินเช่นกัน" ดร.อานนท์ อธิบาย

สุดยอดกูรูเห็ดรายนี้
ยังได้ให้ข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับเห็ดธรรมชาติเพิ่มเติมอีกว่าในบรรดาเห็ดที่เกิดในธรรมชาติที่น่าเป็นห่วงที่สุด
เนื่องจากมีประชาชนเก็บชนิดมีพิษมากินเป็นจำนวนมาก
ว่าเห็ดที่เขากำลังเป็นกังวลอยู่นั้น ก็คือ "เห็ดละโงก"
ซึ่งเป็นเห็ดในตระกูล Amanita spp

"เห็ดในตระกูลนี้มีทั้งที่ไม่มีพิษ กินได้ มีรสชาติอร่อย
และหวานหอมมาก ขึ้นแท่นเป็นที่นิยมของผู้หาของป่า
แต่เห็ดละโงกบางชนิดในกลุ่ม Amanita spp เป็นเห็ดพิษ
ออกฤทธิ์ทำให้เมาหรือประสาทหลอน ทั้งยังมีบางชนิดออกฤทธิ์เฉียบพลัน
บางชนิดทานเข้าไปแล้วจะปรากฏอาการแพ้พิษในหลายชั่วโมงต่อมา"

ดร.อานนท์
ให้ภาพเจ้าเห็ดละโงกรสอร่อยที่มีบางชนิดเป็นพิษต่อไปอีกว่า
เห็ดละโงกชนิดมีพิษสายพันธุ์ เมื่อกินเข้าไป
จะเกิดอาการเป็นพิษอย่างรุนแรงทันที โดยความเป็นพิษของเห็ดชนิดนี้
เกิดจากสารโปรตีนจับตัวกันเป็นแบบโล่วงกลม ที่เรียกว่า Cyclo-peptides
ส่งผลให้อาเจียนอย่างรุนแรง เซลของอวัยวะ เช่น ตับ ถูกทำลาย
และเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน

"เห็ดตระกูลเห็ดละโงก
หากไม่แน่ใจควรหลีกเลี่ยงไม่เก็บมากินจะดีกว่า แต่หากเข้าป่า
และจำเป็นจะต้องกินเห็ด เพราะไม่มีอะไรจะกินแล้ว ให้เอาเห็ดหิ้ง
คือที่เป็นเห็ดกระด้าง ผิวแข็งคล้ายไม้ ที่เกิดตามต้นไม้ที่แห้งๆ
เห็ดพวกนี้ ไม่มีพิษ"

Psilocybe mushroom หรือเห็ดขี้ควาย เป็นเห็ดที่ออกฤทธิ์หลอนประสาท


ผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ดยังฝากประเด็นน่าคิดที่หลายคนอาจจะคิดไปไม่ถึงว่า
ปัจจุบันก็นิยมบริโภคเห็ดเพาะกันมาก
โดยชนิดที่นิยมมากที่สุดน่าจะเป็นเห็ดฟาง รองลงมาได้แก่ เห็ดนางรม
เห็ดนางฟ้าภูฎาน เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดเข็มทอง เห็ดโคนญี่ปุ่น
เห็ดรมหลวง เห็ดตีนแรด

"ในส่วนของเห็ดเพาะที่กล่าวมานั้น
สามารถแสดงความเป็นพิษอย่างรุนแรงต่อร่างกายมนุษย์ได้ หากมีการใส่สารพิษ
เช่น ยาฆ่าแมลง เข้าไปในวัสดุเพาะ อาทิ เห็ดหูหนู ส่วนใหญ่ใช้ยาดูราแทร์
หรือ ฟูราดาน ซึ่งเป็นสารพิษที่รุนแรงมาก เป็นประเภทดูดซึม
แทบทุกประเทศจะไม่อนุญาตให้นำมาใช้กับพืชผักที่มีอายุสั้น
ส่วนใหญ่ใช้กับยาสูบ หรือฝ้าย เห็ดเพาะมีส่วนผสมของสารพิษดังกล่าว
ก็จะกลายเป็นเห็ดพิษได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห็ดหูหนู
ล้วนแล้วแต่มีสารพิษเกินกว่ามนุษย์จะทานได้แทบทั้งนั้น"
ดร.อานนท์กล่าวถึงข้อมูลของเห็ดเพาะ

"แกงเห็ดละโงก" ของอร่อยของชาวอีสาน แต่ถ้าไปเจอชนิดพิษ มีสิทธิ์ถึงตายได้


ในขณะที่ดร.อุษา กลิ่นหอม อาจารย์ประจำสาขาชีววิทยา
คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหาสารคาม
นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญาของชาวอีสานในการบริโภคเห็ดป่า
กล่าวว่า คนในชนบทส่วนใหญ่มักใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการสังเกตเห็ดป่าว่ามีพิษหรือไม่
ด้วยวิธีการเริ่มต้นสังเกตลักษณะเห็ดจากภายนอก
จากนั้นถ้าไม่แน่ใจจะทดสอบขั้นที่ 2
ด้วยวิธีการนำเห็ดต้มรวมกับข้าวสารถ้าไม่มีพิษข้าวสารจะสุก
ถ้าเป็นพิษข้าวสารจะเปลี่ยนสีและมีลักษณะสุกๆ ดิบๆ ใช้ช้อนเงินคนต้มเห็ด
ถ้าช้อนเงินกลายเป็นสีดำ จะเป็นเห็ดพิษ

"แต่ในกรณีที่พบผู้ป่วยจากการทานเห็ดพิษสูงถึง 300 รายในปีนี้
ส่วนตัวคิดว่า น่าจะมาจาก 2 สาเหตุ ด้วยกัน
คือบริโภคเห็ดโดยปราศจากการทดสอบในขั้นของการหรืออาจเพราะผู้ป่วยบางคนรับประทานแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มมึนเมาในระหว่างกินเห็ด
ซึ่งเห็ดบางชนิดจะเกิดพิษได้เมื่อมีการทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ เช่น
เห็ดน้ำหมึก เห็ดถั่ว"

Gyromitrหรือเห็ดสมองวัว ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง ทำให้ไข้สูง ชัก และถึงตายได้


ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาเห็ดในภาคอีสาน กล่าวเพิ่มเติมว่า
เห็ดมีพิษที่ชาวบ้านเข้าใจว่ารับประทานได้ในขณะนี้คือ "เห็ดละงาก"
มีลักษณะเป็นดอกสีเทาลักษณะคล้ายเห็ดละโงก
โดยเห็ดละโงกนั้นมีคนนิยมกินมากที่สุดเพราะมีรสชาติอร่อยดังนั้น
เมื่อเห็ดละงากแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นเห็ดละโงกที่กินได้
ก็จะเก็บมาบริโภคโดยไม่ไตร่ตรองอะไร
และหากใครที่ได้รับพิษจากเห็ดชนิดดังกล่าว ส่วนมากจะมีพิษถึงตาย

"สำหรับภูมิปัญญาชาวบ้านในแถบอีสาน
มักป้องกันสารพิษด้วยการแกงเห็ดผสมน้ำคั้นใบย่านาง
เนื่องจากมีคุณสมบัติดูดซับสารพิษจากเห็ดได้
ชาวบ้านให้เหตุผลว่าบรรพบุรุษได้บอกเล่าต่อกันมาว่าการคั้นน้ำใบย่านางผสมกับการประกอบอาหารจากเห็ดนั้นช่วยดูซับพิษจากชนิดที่มีพิษไม่ร้ายแรงนัก
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเห็ดที่ก่อให้เกิดอาการเมาและเวียนหัวธรรมดา
แต่ข้อมูลที่มีเป็นเพียงคำบอกเล่าจากชาวบ้านเท่านั้น
หลักฐานทางวิชาการยังไม่แน่ชัด" ดร.อุษาทิ้งท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น