++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เทศบาลสัตหีบนำร่องเปิด โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล

ศูนย์ข่าวศรีราชา - เทศบาลตำบลสัตหีบ เปิดโครงการ ธนาคารรีไซเคิล 3R
สร้างมูลค่ารายได้จากขยะ สร้างแรงจูงใจ
ปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนประชาชนร่วมกัน รักษาสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น
ลดปัญหาขยะล้นเมืองด้วยการลดการใช้ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่

วันนี้ (3 มิ.ย.) นายไพโรจน์ มาลากุล ณ อยุธยา
นายกเทศมนตรีตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ประธานเปิดโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล โรงเรียนสัตหีบ เขตกองเรือยุทธการ
โดยมี นาวาเอก บงกช ขยันการ รองผู้จัดการโรงเรียนสัตหีบ
กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการว่า
เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้นักเรียน เยาวชน
ประชาชนได้รู้จักรักถิ่นเกิดของตัวเอง
ด้วยการร่วมกันรักษาสภาพแวดล้อมให้อยู่คู่กับชุมชน
เพราะในปัจจุบันจำนวนประชากรได้เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว
ปัญหาที่ติดตามมาในระดับโลกก็คงไม่พ้นปัญหาเรื่องของขยะล้นเมือง

รัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ต้องทุ่มเทงบประมาณในการจัดการกับขยะเป็นเงินมหาศาลในแต่ละปี
ทำให้การพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาประเทศล่าช้า
อีกทั้งยังบั่นทอนอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของการท่องเที่ยว
สุขภาพจิต สุขภาพร่างกายของสิ่งมีชีวิต

นาวาเอก บงกช ขยันการ กล่าวอีกว่า
การลดปัญหาขยะล้นเมืองมิได้ทำแต่เพียงการเผา ทำลาย หรือฝังกลบเท่านั้น
ยังมีอีกหลายหนทางที่จะสามารถนำมาเลือกใช้ในการบริหารจัดการกับขยะระดับครอบ
ครัว องค์กร ท้องถิ่น โรงเรียนสัตหีบ
เขตกองเรือยุทธการได้ร่วมกันพิจารณาเลือกการแนวทางที่ดีที่สุด
คือการจัดทำโครงการ ธนาคารขยะรีไซเคิล
เพื่อช่วยลดปริมาณขยะภายในโรงเรียนในแต่ละวัน
โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการจาก เทศบาลตำบลสัตหีบ
เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับนักเรียน
ผู้ปกครองประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

เบื้องต้นก็สามารถให้ทุกคนสามารถเข้าใจการคัดแยกขยะ
ส่งเสริมให้มีการออมทรัพย์ที่ได้มาจากขยะ
สร้างมูลค่าและรายได้จากขยะรีไซเคิล
อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้โรงเรียน ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดีอีกด้วย

นายไพโรจน์ มาลากุล ณ อยุธยา นายกเทศตรีตำบลสัตหีบ กล่าวว่า
การที่โรงเรียนสัตหีบ จัดทำโครงการนำร่องธนาคารขยะรีไซเคิล
ถือว่าเป็นเรื่องดีอย่างมาก
เพราะปัญหาขยะในเขตพื้นที่อำเภอสัตหีบกำลังเกิดวิกฤตอย่างหนัก
ต้องทุ่มเทงบประมาณในการแก้ไขปัญหาปีละจำนวนหลายล้านบาท
แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้
ต่อเมื่อทุกพื้นที่ในประเทศไทยเกิดปัญหาเดียวกัน
นอกเสียจากจะมีการดำเนินโครงการลดปัญหาขยะโดยเริ่มต้นจากครัวเรือน
สถานศึกษา องค์กรภาครัฐ เอกชน และชุมชน

ทั้งนี้ ใช้หลัก 3R เข้ามามีบทบาท R1 Reduce คือการลดการใช้ R 2
Reuse คือการใช้ซ้ำ และR 3 Recycle ก็คือการนำกลับมาใช้ใหม่
ด้วยการนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปในระบบอุตสาหกรรม

ปัจจุบัน ธนาคารขยะรีไซเคิลได้มีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
5 และปีที่ 6 จากโรงเรียนสัตหีบ เขตกองเรือยุทธการ จำนวน 200 คน
อาจารย์และนักเรียนโรงเรียนสัตหีบเขตฐานทัพเรือสัตหีบ 5 คน
โรงเรียนวัดเขาคันธมาทน์ 5 คน
และยังมีตัวแทนจากชุมชนต่างๆมาร่วมโครงการด้วย จึงเป็นการส่งเสริมเยาวชน
ผู้ปกครอง ประชาชนในท้องถิ่น สถานศึกษา ด้วยการเริ่มต้นจากเยาวชนสู่ชุมชน
จะสามารถสร้างจิตสำนึก และเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะด้วยการรู้ค่าของขยะ
มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาความสะอาดภายในครอบครัว โรงเรียน
ชุมชนของตัวเองเพื่อดำรงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ดีจะส่งผลให้สุขภาพจิตดี
สุขภาพร่างกายแข็งแรง ชุมชนน่าอยู่ปราศจากมลพิษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น