++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สธ. ใช้ "มือถือ" เชื่อมโยงประชาชนเข้าถึงบริการของรพ.สต. ตลอด 24 ชั่วโมง

# สาธารณสุข พัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
นำโทรศัพท์มือถือซึ่งขณะนี้ประชาชนร้อยละ 50 มีใช้
มาเป็นตัวเชื่อมประชาชนเข้าถึงบริการเจ้าหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง
และใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ติดตามผลการรักษาผู้ป่วยรายบุคคล
พร้อมทั้งอบรมพนักงานเยี่ยมบ้าน นักบริบาลเอื้ออาทร
บรรเทาปัญหาเฉพาะหน้าบุคลากรไม่เพียงพอ

นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เปิดเผยเกี่ยวกับมาตรการพัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือ
รพ.สต. ซึ่งพัฒนามาจากสถานีอนามัยเดิมจำนวน 9,876 แห่งทั่วประเทศ
เป็นนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
และเป็นโอกาสของการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับระบบการทำงานบริการประชาชนในหมู่
บ้านชุมชน หรือที่เรียกว่าระดับปฐมภูมิให้กระชับและมีประสิทธิภาพ
ให้งานมีความสอดคล้องกันและครอบคลุมงานบริการสาธารณสุขทั้งระบบคือ
การบริการรักษาพยาบาล การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสภาพ
และจะเริ่มเปิดตัวบริการของรพ.สต.ในเร็วๆนี้ ซึ่งภาระหลักของรพ.สต.คือ
การป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพให้ลดความเจ็บป่วยประชาชนให้ได้
และให้บริการรักษาพยาบาลในรายที่ไม่มีอาการหนัก
ได้ให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเร่งติดตามและประเมินความพร้อมอย่าง
เร่งด่วน

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า จากการประเมินผลในรอบ 6 เดือนมานี้
พบว่ารพ.สต. มีการพัฒนาไปมาก ขณะที่บางแห่งยังขาดบุคลากร
ยังไม่ได้ตามที่กำหนดคือ เจ้าหน้าที่ 1 คนต่อประชาชน 1,250 คน
แต่ไม่ใช่เรื่องเหนือความสามารถที่จะให้การดูแลประชาชนทั่วถึง
โดยได้นำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยเฉพาะมือถือซึ่งขณะนี้ประชาชนมีใช้มากเกือบ 32 ล้านคน
หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศ โดยให้ประชาชนประมาณ 10-12 ครัวเรือน
หากเจ็บป่วยสามารถแจ้งติดต่อกับอสม.
หรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรพ.สต.โดยตรงตลอด 24 ชั่วโมง
และนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์(GIS)
มาใช้ติดตามความก้าวหน้าในการดูแลรักษา
โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องดูแลต่อเนื่องเช่น โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง
โดยนำข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลพร้อมภาพถ่ายลงในระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงทาง
อินเตอร์เน็ต สามารถรู้จำนวนประชาชน ประเภทผู้ป่วย
และผลการรักษาของรพ.สต.ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
และจะมีการคัดเลือกรพ.สต.ที่มีผลงานการพัฒนาดี เป็นตัวอย่างอำเภอละ 1-3
แห่ง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนารวดเร็วขึ้น

ทางด้านนายแพทย์สมชัย ภิญโญพรพานิชย์
หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า
ขณะนี้เขตตรวจราชการบางเขต เช่น ที่จังหวัดอุดรธานี
ได้ใช้วิธีแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรในรพ.สต. โดยจัดอบรมอสม.
หรือพนักงานสุขภาพชุมชนให้เป็นพนักงานเยี่ยมบ้านเรียกว่า นักสร้างสุขภาพ
มาช่วยงานด้านการส่งเสริมสุขภาพประชาชน
และจัดอบรมผู้ที่ดูแลผู้ป่วยตามบ้านอยู่แล้วเรียกว่า นักบริบาลเอื้ออาทร
มาช่วยงานเยี่ยมบ้านผู้พิการ ผู้ป่วยที่ช่วยตัวเองไม่ได้หรือผู้สูงอายุ
บางแห่งไดัรับความร่วมมือจากอบต. จัดหาตู้ยาสามัญประจำบ้าน
และรพ.สต.จัดยาจำเป็น 8-9 ชนิดให้ทุกหลังคาเรือนซึ่งมีประมาณ 1,800-2,000
ครัวเรือน เมื่อประชาชนเจ็บป่วยสามารถดูแลตัวเองในเบื้องต้นได้ดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น