++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ระบบเศรษฐกิจชั้นสูง

โดย ปราโมทย์ นาครทรรพ 2 สิงหาคม 2552 14:06 น.
1) ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม คือ ระบบเศรษฐกิจตามธรรมชาติของมนุษย์ ทำมาหากิน
เพื่อมีกินมีใช้ มีเครื่องนุ่งห่ม มียารักษาโรค มีที่อยู่อาศัย
สะสมเผื่อขาดแคลน และสะสมเพื่อให้มั่งคั่ง เพื่อความสุขสบายส่วนตัว
และความมีหน้ามีตาเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีการกักตุน มีการเก็งกำไร
พยายามให้ได้กำไรมาก มีการเอารัดเอาเปรียบ

2) ระบบเศรษฐกิจบุญนิยม คือระบบที่นำ "แรงงาน และ เงินทุน"
มารวมกัน "ผลิตผลและผลิตภัณฑ์" ที่ได้เป็นของส่วนกลาง
นำมาใช้และนำมาหาประโยชน์ร่วมกัน อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย
ยานพาหนะ ยารักษาโรค ก็เป็นของส่วนกลาง เครื่องนุ่งห่มเบิกได้ปีละ 2 ชุด
เสื้อผ้าไม่ได้มีมากสีและมากแบบเรียกระบบนี้ว่า "ระบบสาธารณะโภคี"
ไม่มีใครมีสมบัติเป็นของตัวเอง บ้านกับวัดอยู่ด้วยกัน เป็นวัดวาอาราม

ชุมชนบุญนิยม ใช้ชีวิตตามสัมมามรรค
เลือกระดับศีลที่จะปฏิบัติตามทิฏฐิของตน ว่าจะปฏิบัติตามศีล 5 ศีล 8
หรือศีล 10 สมถะ ประหยัด มัธยัสถ์ กินน้อยใช้น้อย อาหารเป็นมังสวิรัต
ส่วนใหญ่รับประทานอาหารวันละ 2 มือ สมณะ สิกขมาตุฉันอาหารวันละมื้อ
ทำให้มีเวลาในการทำงานมาก

ระบบเงินเดือน และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล

คนในชุมชนมีความจำเป็นในการใช้เงินไม่เหมือนกัน
สามารถตั้งเงินเดือนได้เอง แต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน บางคนขอรับ
1,000 บาท 2,000 บาท ทุกคน ทุกระดับ ทำแบบเดียวกัน
ดังนั้นจึงไม่มีใครรวยหรือจนกว่าใคร
กล่าวได้ว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจเท่ากันทุกคน
ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ได้แตกต่างกัน หรือมีความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ

คิด เป็น อยู่ คือ ด้วยความเสียสละ ไม่แก่งแย่งชิงดี
ทำให้ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนมีความอบอุ่น มีความสุข "การเอา" คือบาป
"การให้" คือ การสร้างบุญ จะเป็นอยู่ด้วยการให้ ให้ทั้งแรงกายแรงใจ
ให้ความเอื้ออาทร ให้โอกาส ให้ความเมตตา เด็ก คนชรา คนเจ็บไข้ได้ป่วย
จะได้รับการดูแลจากคนในชุมชน

การปกครอง

เรียกผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่รับผิดชอบงานสูงว่า "ผู้รับใช้"
ยิ่งสูงยิ่งเสียสละมาก ผู้จัดการร้านอาหารมังสวิรัต ก็ต้องเก็บกวาดพื้น
เช็ดโต๊ะ ล้างจาน เหมือนคนในชุมชนเช่นเดียวกัน
ต่างกันจากระบบทุนนิยมที่มีตำแหน่งใหญ่เล็ก ระดับสูงเงินเดือนสูง
ระดับต่ำเงินเดือนต่ำ คนตำแหน่งสูงจะเป็นคนชี้นิ้วสั่งงาน

คุรุ หรือครูของโรงเรียนสัมมาสิกขา สอนหนังสือโดยไม่มีค่าตอบแทน
นักเรียนก็เรียนฟรี
โดยไม่ต้องมีค่าเล่าเรียนตั้งแต่ระดับประถมถึงมัธยมปลาย และระดับอาชีวะ
คำขวัญของโรงเรียน "ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา" เอาศีลและเป็นงานเป็นตัวนำ
ส่วนวิชาทางโลกให้ความสำคัญรองลงไป

การเงิน

มี "กองทุน" ที่เรียกว่า "กองบุญ" แต่จะไม่เป็นไปเพื่อการสะสม
พยายามนำไปหมุนเวียนให้เกิดผลผลิต "ดอกเบี้ย" เรียกว่า "ดอกบุญ"
การกู้ยืมเงินกันระหว่างชุมชน ไม่มีดอกเบี้ยระหว่างกัน
ส่วนที่ไม่คิดเป็นดอกเบี้ย ถือว่าเป็น "ดอกบุญ"

ต้นทุนทางการเงิน = 0 (ศูนย์) ไม่มีดอกเบี้ย
"การรวมเงินไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดเงินกองใหญ่" อาจจะใหญ่เท่าสถาบันการเงิน

ต้นทุนแรงงาน = 0 (ศูนย์) "การรวมแรงงานไว้ด้วยกัน ทำให้เกิดแรงงานจำนวนมาก"

เงินกองโตและแรงงานจำนวนมาก ก็คือทุนที่สำคัญ เป็นทุนที่มีคุณภาพ
แต่ราคาถูกมาก นำไปทำให้เกิดการสร้างงานได้มาก ได้ใหญ่ และได้ต่อเนื่อง
คนของชุมชนไม่เคยตกงาน มีงานล้นมือ ไม่เป็นภาระของทางการ
มีแต่ช่วยเหลือให้สังคมเจริญ อบอุ่น และเป็นสุข

แท้จริงแล้วชุมชนอโศกเป็นชุมชนที่มั่งคั่ง
ชุมชนไม่ชอบคำว่ามั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นคำของทุนนิยม ปี
2548-2549 ทางชุมชนซื้อที่ดินที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
เนื้อที่ไร่ 140 ไร่ ราคาประมาณ 10 ล้านบาท กาญจนบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว
ไม่ได้ซื้อมาสร้างกาสิโน แต่ซื้อมาให้ชุมชนดำนาเกษตรอินทรีย์
ใช้น้ำคลองชลประทานที่มาจากเขื่อน ทำนาปีละ 2 ครั้ง
ทางชุมชนมีที่ดินที่รับบริจาคมาก คนมีน้อย ยังใช้ประโยชน์ได้ไม่หมด

ต้นทุนความเป็นอยู่ต่ำทุกด้าน ไม่มียาเสพติด ไม่มีขโมย ไม่มีโจร
จะทำให้ไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีอัยการ และไม่ต้องมีตำรวจ
"ไม่ต้องเปลืองงบประมาณ" ตำรวจในพื้นที่ มีไว้เอาไว้ไล่วัวควาย
ที่มากินข้าวและพืชผักของชาวบ้าน

คำทักทายกัน จะใช้คำว่า "เจริญธรรม สำนึกดี" แทนคำว่า สวัสดี หรือ ฮัลโหล

ต้นทุนการผลิตของเศรษฐกิจบุญนิยมต่ำทุกขั้นตอน
ไม่มีการบวกกำไรเป็นทอดๆ เหมือนในระบบทุนนิยม
ทำให้สามารถขายผลิตผลและผลิตภัณฑ์สุดท้าย (End products) ที่ราคาต่ำได้
เช่น ขายเท่าทุน ขายต่ำกว่าทุน หรือแจกฟรี

ต้นทุนการผลิตในระบบทุนนิยมสูง เนื่องจากมีการบวกกำไรเป็นทอดๆ
ยกตัวอย่างเช่นในอุตสาหกรรมพลังงานที่ผลิตน้ำมันและปิโตรเคมี มีบริษัท 3
ระดับ 1) บริษัทนำเข้าน้ำมันดิบ 2) บริษัทโรงกลั่น 3) บริษัทการตลาด
บริษัทนำเข้าน้ำมันดิบบวกกำไรในการขายน้ำมันดิบให้โรงกลั่น
บริษัทโรงกลั่นน้ำมันบวกค่าการกลั่น
บริษัทการตลาดก็บวกค่าการตลาดในการขายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น ต้องทำกำไรให้ผู้ถือหุ้น
ตามกฎของตลาดหลักทรัพย์ ยิ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ผูกขาดการผลิต
สามารถตั้งราคาได้ตามใจชอบอีก ยิ่งทำให้ราคาผลิตภัณฑ์สุดท้าย (End
products) ราคาสูงมาก

ปี 2540 เอกชนในระบบทุนนิยม ทั้งภาคการเงินและภาคการผลิต
ล้มกันทั้งประเทศ แต่ชุมชนบุญนิยม ไม่ได้ล้มตายตามพวกเขาแต่อย่างใด
เศรษฐกิจบุญนิยมเข้มเข็งและแข็งแกร่งมาก

"เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจเข้มแข็ง" ของรัฐบาล มีแต่โฆษณาชวนเชื่อ
ทำมา 20-30 ปีแล้ว สิ้นเปลืองงบประมาณค่าโฆษณาแต่ละปีมาก ไม่มีอะไรดีขึ้น
แต่เดินหน้าทรุดลงแต่อย่างเดียว

จะทำให้เศรษฐกิจเข้มแข็ง ไม่ต้องไปดูที่ไหน
ไม่ต้องเดินทางไปดูงานต่างประเทศ ไม่ต้องเสียค่าโฆษณาชวนเชื่อ
ตัวอย่างมีที่ชุมชนอโศกทั่วประเทศ ในระบบเศรษฐกิจบุญนิยม

Thaitanic ของประเทศไทย จมใต้มหาสมุทร ยากที่จะกอบกู้ขึ้นมาได้
มีแต่ดำดิ่งลึกลงเรื่อยๆ อาชีพของคนระดับสูง เช่น
อาชีพข้าราชการ-นักวิชาการระดับสูง อาชีพพ่อค้า-นายทุน อาชีพนักการเมือง
และอาชีพสื่อ ล้วนรุมกันเอารัดเอาเปรียบประเทศชาติประชาชน
เอารัดเอาเปรียบสิ่งแวดล้อม เอารัดเอาเปรียบระบบ

ระบบเศรษฐกิจบุญนิยม
สามารถนำมากอบกู้เศรษฐกิจที่ตกต่ำไปกองที่ก้นเหวได้ เช่น..
ปิดตลาดหลักทรัพย์ ที่คอยเอารัดเอาเปรียบระบบ ฉ้อฉลระบบ ปล้นระบบ
และนำพาระบบล่มสลาย ปิดกองสลาก ปิดสนามม้า ปิดบ่อนการพนัน
ปิดสถานบริการอาบอบนวด ปิดโรงเหล้า โรงเบียร์ ปิดโรงงานยาสูบ
เศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวได้ และจะอยู่ได้ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
และเข้มแข็งได้

ระบบเศรษฐกิจบุญนิยม เป็นระบบที่ "ฝืน" ความรู้สึกของสามัญมนุษย์
ที่อยากมั่งมี อยากสะสมสมบัติเป็นของตน จึงเป็นเรื่องยากที่จะทำได้
แต่หากทำได้ ประเทศมั่นคง อยู่เย็นเป็นสุขแน่นอน และสงบสุขแน่นอน

3) ระบบคอมมิวนิสต์
เป็นระบบที่ลอกเลียนระบบสาธารณะโภคีของพระพุทธเจ้า
เพียงแต่มีการแบ่งระดับการปกครองเป็นชั้นๆ
ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน
ทำให้ไม่เกิดการจูงใจหรือกระตุ้นให้มีส่วนร่วมในการผลิต
หากผู้ปกครองทำตัวมาเป็น "ผู้รับใช้"
ระบบคอมมิวนิสต์ก็จะกลายเป็นระบบสาธารณะโภคีที่สมบูรณ์ได้

ระบบ เศรษฐกิจบุญนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจระดับสูง
พระพุทธเจ้าเป็นนักเศรษฐศาสตร์สุดยอดของโลก
ที่โนเบิลไพร์ซทางเศรษฐศาสตร์ทั้งโลกรวมกัน ก็เทียบพระพุทธเจ้าไม่ได้

หาก คิดระบบสาธารณะโภคีในเชิงพาณิชย์ ประเทศใดก็สู้ไม่ได้
แม้แต่ประเทศจีนที่บอกว่าต้นทุนการผลิตต่ำ เป็นเรื่องที่น่าทึ่ง
ทำให้สามารถเกิดการแข่งขันได้ดี แข่งได้กับทุกประเทศทั่วโลก
ทั้งนี้เพราะต้นทุนการผลิตสิ่งของและสินค้าที่ต่ำมากนั่นเอง


สุทธิพงศ์ ปรัชญพฤทธิ์ (แทน)


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000087276

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น