++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

"หมอเกษม" ชี้มหา'ลัยที่พึ่งสุดท้ายคลายวิกฤต สับทำตัวอีแอบ ระวังไม่มีใครเชื่อถือ!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 สิงหาคม 2552 12:03 น.
ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี

"หมอเกษม" ชี้ มหาวิทยาลัยที่พึ่งสุดท้ายช่วยคลายปัญหาสังคม
แนะเสนอทางเลือก ชี้ทางแก่สาธารณะ สับหากทำตัวเป็นอีแอบของใคร พรรคใด
ระวังไม่มีใครเชื่อถือ

วันนี้ (1 ส.ค.) ที่มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) จัดประชุมวิชาการเรื่อง
"ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา" (Admission)
ซึ่งจัดขึ้นเป็นวันที่ 2 โดยวันนี้ในช่วงเช้า ศาสตราจารย์ นพ.เกษม
วัฒนชัย องคมนตรี กล่าวในการบรรยายพิเศษเรื่อง
"มหาวิทยาลัยกับบทบาททางสังคม" ตอนหนึ่งว่า
หน้าที่ของมหาวิทยาลัยไม่ใช่เพียงแค่สอนหนังสือเพียงอย่างเดียว
แต่ต้องมีการส่งเสริมการทำวิจัย ให้เกิดปัญญา ชี้
ทางสังคมให้รู้แจ้งเห็นจริง ตรงนี้อาจารย์ที่ทำก็จะได้กับตัวเอง
หากการวิจัยนั้นเห็นแก่ประโยชน์ของตนเองก็จะทำให้สังคมหลงทาง
ดังนั้นการวิจัยต้องมีความสุขในการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ๆ

ส่วนการผลิตบัณฑิต ต้องได้บัณฑิตที่พึงประสงค์
ทุกมหาวิทยาลัยต้องกำหนดให้ได้ว่าบัณฑิตที่จบออกไปนั้นจะต้องมีคาแรกเตอร์
อย่างไร เพื่อจะสามารถบ่งบอกความเป็นบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนั้น
และความรู้ที่บัณฑิตได้มาจากมหาวิทยาลัยต้องนำมาใช้ในการบริการสังคม
ช่วยเพิ่มสมรรถนะ ประสิทธิภาพในการทำงานให้ได้
อีกทั้งมหาวิทยาลัยต้องสร้างนโยบายที่ชัดเจนในการเชิดชูวัฒนธรรรมไทย
อีกทั้งมหาวิทยาลัยต้องมีหน้าที่ในการช่วยสนับสนุนการศึกษาระดับอื่นด้วย
เช่น การพัฒนาครู
และมหาวิทยาลัยต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อกรณีสิ่งแวดล้อมของโลก

"มหาวิทยาลัย ต้องเสนอทางเลือกให้สาธารณะ
ต้องช่วยชี้ทางให้ให้สังคมรู้แจ้งเห็นจริง ต้องเป็นอิสระ เป็นกลาง
ไม่เป็นนอมินี หรืออีแอบ ของใคร ต้องมีคุณค่าในการเสนอนโยบายต่อสาธารณะ
ถ้าหากมหาวิทยาลัยเองเข้าข้างคนนั้น พรรคนี้ ต่อไปก็จะไม่มีใครฟัง
และต้องช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในสังคม
ไม่ใช่สร้างปัญหาให้แก่สังคมเอง และหวังว่ามหาวิทยาลัยจะเป็นที่พึ่ง
แหล่งความรู้และความเห็นสุดท้ายของสังคมในการแก้ปัญหาสังคมต่อไป" นพ.เกษม
กล่าว

ศ.นพ.เกษม กล่าวต่อว่า
ในส่วนความสับสนของปัญหาในการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่เกิด
ขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งมากจากการไม่ประสานงานกันของผู้บริหารการศึกษา
ทั้งระดับนโยบายและปฏิบัติ ผลที่เกิดคือ
1.นักเรียนแต่ละคนต้องวิ่งสอบหลายครั้ง 2.
มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งต้องจัดสอบ คัดเลือกหลายครั้งในแต่ละปี
อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง เป็นผลให้ต้องประกาศที่นั่งสำรองเยอะ
มีเด็กสละสิทธิ์กันมาก และได้ผู้เรียนไม่ครบตามที่ประกาศทำให้ เสียเงิน
เสียเวลา เสียของ ส่วนการแก้ปัญหานี้คือต้องร่วมกันแก้ทั้งระบบใหญ่
หรือแต่ละกลุ่มต่างแก้ปัญหาของกลุ่ม
และต้องมีการแยกกการวัดผลทางการศึกษาระดับชาติ(NT)
ออกจากระบบการรับนักศึกษาเข้าในมหาวิทยาลัย
แต่กระบวนการรับเข้าศึกษานั้นควรใช้ผล NT ในช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-6) ด้วย

ผู้ สื่อข่าวถามถึงกรณีที่
ทปอ.ร่วมลงชื่อส่งหนังสือต่อราชเลขาธิการ
สำนักพระราชวังขอให้ใช้ดุลยพินิจยับยั้งไม่นำฎีกาที่เป็นเรื่องการเมืองโดย
ตรงถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้น ศ.นพ.เกษม กล่าวว่า
ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล เมื่อถามต่อว่าการที่กลุ่มอธิการบดีต่างๆ
ยืนถวายฎีกาจะทำให้เกิดความปรองดองขึ้นในสังคมได้หรือไม่ องคมนตรี
กล่าวต่อว่า ไม่ขอตอบเรื่องการเมืองและไม่ขอตอบเรื่องการถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น