++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

14 วิธีเทคแคร์สุขภาพ & หัวใจ

จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี
2545มีคนไทยที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular
Disease-CVD) เป็นจำนวนมากถึง32,896 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละเกือบ 4 คน

ในจำนวนนี้เพศชายมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง โดยมีตัวแปรสำคัญคือ
อายุที่เพิ่มขึ้น, ประวัติในครอบครัวที่เป็นโรคนี้ (บิดา-มารดา
และพี่น้องสายตรง), การสูบบุหรี่, คอเลสเตอรอลภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
(Dyslipidemia), ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวานและโรคอ้วน,
ขาดการออกกำลังกาย
อาการสำคัญของโรคนี้มักเกิดจากภาวะไขมันในเลือดที่ผิดปกติ
ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)
เกิดเป็นตะกรันเกาะตัวหนาตามผนังหลอดเลือด นานเข้าหลอดเลือดจะปริกะเทาะ
กระตุ้นให้เกล็ดเลือดมาเกาะรวมตัวกันในบริเวณดังกล่าว
ทำให้เกิดการอุดตันอย่างเฉียบพลันจนมีโอกาสเสียชีวิต
อ่านอาการกันมาถึงบรรทัดนี้ หลายคนชักกลัวใจตัวเองจะเสียหาย
อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะเรามีคำแนะนำ 14 ข้อที่ทำง่าย
ได้สุขภาพใจมากมายมาฝาก

1 เดินออกกำลัง 30 นาทีทุกวัน
ช่วยลดโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันได้ร้อยละ 30

2 ตรวจความดันเลือดเป็นประจำ และพยายามควบคุมให้ต่ำกว่า 115/75
ค่าความดันเลือดมีผลต่อความเสี่ยงโรคหัวใจมากกว่าไขมันในเลือด
(คอเลสเตอรอล) การออกกำลังเป็นประจำและการลดไขมันรอบพุง (รอบเอว)
มีส่วนช่วยลดความดันเลือดได้

3 กินถั่วเปลือกแข็งวันละ 1 กำมือ จำพวกถั่วอัลมอนด์ เฮเซลนัท
ถั่วเปลือกแข็ง ช่วยลดการอักเสบ และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)
มีน้ำมันชนิดดีมาก (โอเมกา-3) โปรตีน และเส้นใย (ไฟเบอร์)
ให้เลือกถั่วชนิดไม่เติมเกลือจึงจะได้ผลดี

4 ตรวจไขมันในเลือด และพยายามทำให้คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) สูงกว่า
50 โดยการออกกำลังเป็นประจำ ใช้น้ำมันที่มีประโยชน์ เช่น น้ำมันมะกอก,
น้ำมันคาโนลา, น้ำมันรำข้าว ปรุงอาหาร

5 ใช้ไหมขัดฟัน (Dental Floss) ทุกวัน เพื่อป้องกันคราบจุลินทรีย์
(Plaque) และโรคปริทนต์ หรือโรคเหงือก และเนื้อเยื่อรอบโคนฟันอักเสบ
โรคปริทนต์ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง
การอักเสบเรื้อรังปล่อยสารเคมีไปในเลือด ทำให้เส้นเลือดเสื่อมเร็วขึ้น
ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของระบบหัวใจ

6 กินเนื้อมะเขือเทศบดสัปดาห์ละ 10 ช้อนโต๊ะ หรือกินมะเขือเทศใน
รูปแบบอื่น เช่น น้ำมะเขือเทศ ฯลฯ เพื่อให้ได้โพแทสเซียม (Potassium/K)
เพียงพอ โพแทสเซียมมีส่วนช่วยป้องกันโรคความดันเลือดสูง
และมะเร็งต่อมลูกหมาก

7 กินกรดไขมันอิ่มตัวไม่เกินวันละ 20 กรัม และกินไขมันแปลงสภาพ
(ทรานส์/Transfat) ให้น้อยที่สุด

8 อ่านฉลากอาหาร (Food Label) เลือกอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ ไขมันต่ำ และเกลือต่ำ

9 กินผักและผลไม้วันละ 5 ทัพพี
โดยเลือกให้มีสีหลากหลายต่างกันไปตามสีรุ้งได้แก่ ม่วง + คราม-น้ำเงิน +
เขียว + เหลือง + แสดหรือส้ม + แดงและ สีขาว
ซึ่งเป็นสีพืชพันธุ์เพื่ออายุยืนยาวได้แก่ หัวหอม, กล้วย

10 กินกระเทียมทุกวัน จากงานวิจัยพบว่า
กระเทียมมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ เช่นลดปริมาณของคอเลสเตอรอลในเลือด
และผลการศึกษาจากประเทศเยอรมนี
ยังระบุอีกว่ากระเทียมช่วยป้องกันและลดการเกาะตัวของคราบไขมันบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ
11 ดื่มน้ำส้มเป็นปะจำ ผลวิจัยล่าสุดของ 'คลีฟแลนด์คลินิก'
ระบุว่าการดื่มน้ำส้มวันละ 2 แก้ว
ช่วยลดความดันโลหิตและช่วยสร้างสมดุลของระบบการทำงานในหัวใจได้ดี

12 กินชาดำซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐ-อเมริกา กล่าวว่า
การดื่มชาดำช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจ เนื่องจากประกอบ
ด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ฟลาโวนอยด์
สารเคมีตัวนี้ช่วยป้องกันคอเลสเตอรอล
ไม่ให้ทำลายเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจ

13 บริโภคหัวหอม ถนอมสุขภาพหัวใจ
เนื่องเพราะในหัวหอมประกอบด้วยสารคิวเซทิน (Quercetin) พฤกษเคมี
ที่ช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้มากมาย และหนึ่งในคุณประโยชน์คือ
ลดการอักเสบของผนังเส้นเลือดที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
โรคเส้นเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต

14 ดื่มชาเขียวเสมอ จากการศึกษาพบว่าสารสำคัญในชาเขียวมีอยู่ 2
ชนิดคือ แคททิชินและธีอะฟลาวินส์ สารเหล่านี้จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ
ยับยั้งการออกซิไดซ์ของแอล- ดีแอล
คอเลสเตอรอลซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
ยับยั้งการสร้าง Cyclo Oxygenase
ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ทำให้เกิดการรวมตัวของเกล็ดเลือด
จึงเท่ากับเป็นการช่วยลดโอกาสเกิดหลอดเลือดอุดตันจากลิ่มเลือด
อันเป็นสาเหตุของอาการโรคหัวใจได้

1 ความคิดเห็น: