++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

รำลึกถึงกีตาร์เทพกับ "แม้เราจะไม่พบกัน" ของคาราวาน/ต่อพงษ์

ช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาเรามีเรื่องราวของ "พุ่มพวง ดวงจันทร์"
ที่แม้จะเสียชีวิตไปนานแล้ว
แต่เรื่องของคนเป็นทำให้การตายของเธอราวกับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่วันนี้
เอง

ผมนั่งรื้อเทปเก่าๆ ในยุคเดียวกัน
ก็ไปเจอเอาอัลบั้มชุดหนึ่งที่คนที่ทำก็เสียชีวิตไปแล้วเช่นกัน
เพียงแต่การเสียชีวิตของเขาไม่ดังเท่าพุ่มพวง
เช่นเดียวกับความสำเร็จของเขาก็ไม่มากเท่าพุ่มพวง
แต่ความสำเร็จทางการตลาดไม่ใช่เครื่องยืนยันคุณค่าของเขา เพราะ
บุคคลผู้นี้เคยได้รับฉายาว่า "กีตาร์เทพ" มาแล้ว

ครับ..เผลอแพล็บเดียวก็ครบ 12 ปี การจากไปของ ชัคกี้ ธัญรัตน์
มือกีตาร์คนเก่งคนหนึ่งของเมืองไทยไปแล้ว

ผู้ชายร่างสูงหัวฟูที่มองระยะ 50 เมตรจะดูคล้ายๆ
พวกมือกีตาร์แอลเอร็อกจากยุค 80
ขณะที่ลีลาการเล่นเปิดตัวของเขาก็ดุเด็ดเผ็ดมันอย่างเหลือเชื่อ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทเพลงที่ผมว่าเป็นมาสเตอร์พีซของเขาเลยก็คือ เพลง
"โลงศพ" งานเก่าๆ ของพี่หรั่ง ร็อคเคสตร้าจากชุดเทคโนโลยี
กีตาร์ของชัคกี้นั้นเด่นขนาดที่ทำให้คอลัมนิสต์ดนตรีในตอนนั้นเรียกเขาว่า
กีตาร์เทพกันละครับ

ความจริงช่วงนั้นกีตาร์ฝีมือดีในเมืองไทยมีอยู่หลายคนไม่ว่าจะเป็น
แหลม มอริสัน, วง VIP, กิตติ กาญจนสถิตย์ (กิตติ กีตาร์ปืน) วงคาไลโดสโคป
แต่ก็ดูเหมือนจะไม่มีใครที่จะสามารถผลิตงานร็อกไทยๆ
ให้ร็อกยืนได้อย่างแข็งแรง
ส่วนใหญ่จะยังวนเวียนกับการเล่นเพลงฝรั่งในยุคแคมป์จีไอ
ที่สำคัญคนร็อกเหล่านี้ทำได้แค่เหมือนต้นฉบับ(เว้นแต่คาไลโดสโคปที่มีชุดเม
ดเลย์ที่นำเพลงบีทเทิ้ลส์ เดอะ โปลิส และ ร็อด สจ็วร์ต ออกมา)

ผมจำได้ว่างานชุดเทคโนโลยี
นี่แหล่ะครับที่ทำให้คนบ้าร็อกตอนนั้นเชื่อว่าคนไทยร็อกด้วยภาษาไทยได้จริง
และโครงสร้างของเพลงที่ชัคกี้ทำไว้ตอนนั้นต้องบอกว่าเจ๋ง
เราได้ยินการจิ้มสายแบบเอ็ดดี้ แวนฮาเลน จากบทเพลงที่ชื่อ "เพลง"
แต่ที่ผมว่าสุดๆ ก็ขอยืนยันว่าเป็น
"โลงศพ"...ซึ่งเป็นโคตรแห่งความลงตัวของร็อกไทยเลยละครับ
อัลบั้มนั้นจึงเป็นการเปิดศักราชใหม่ของร็อคไทยจนทำให้มี โซดา ดิโอฬาร
โปรเจคท์ ไมโคร ฯลฯ ขึ้นมา


ยุคนั้นชื่อของชัคกี้ก็เลยเป็นความหวัง
เมื่อครั้งที่ชัคกี้ออกจากวงร็อคเคสตร้า
จริงๆแกแค่เข้าไปเล่นในห้องอัดให้ ไม่ได้อยู่ในวงนี้จริงๆ
และออกอัลบั้มเดี่ยวที่ชื่อว่า "ศรัทธา" แฟนๆ
เลยคาดหวังว่าจะได้ฟังกีตาร์ที่ดุเดือดลูกโซโล่โคตรยากและริฟฟ์มันส์ๆ
แต่เอาเข้าจริง ทั้งอัลบั้มไม่ได้มีสิ่งที่เราคิดว่าควรจะมีเลย...

จำได้ว่าเคยนึกด่าแกรมมี่ในหมู่เพื่อนเสียเยอะ
เพราะคิดว่าแกรมมี่มาทำให้กีตาร์เทพมัวหมอง
แต่สุดท้ายก็ได้แต่นึกขอโทษในใจ
เพราะไปเจอบทสัมภาษณ์ของคุณชัคกี้ถึงงานชุดศรัทธาไว้ในหนังสือวัยหวาน

"แต่จะบอกว่าตัวผมเองเป็นคนที่ชอบงานที่ทำแล้ว คือเรียบๆ
แต่มีคุณค่า ไม่ต้องเป็นเพลงที่ยากจนฟังแล้วเกร็ง
คือมีเนื้อหาสาระแต่ไม่ซีเรียสน่ะนะ" ชัคกี้กล่าว

เพราะมันเรียบไม่โชว์อะไรเลย งานมันก็เลยน่าผิดหวัง
โดยเฉพาะน้ำเสียงของเขามันค่อนข้างจะหลุดกรอบของนักร้องที่ควรจะเป็นไปเยอะ
แต่กระนั้นแววเห็นความเจ๋งเขากลับไปอยู่ในเพลง ฮิโรชิมา งานของคาราวาน
ซี่แกโซโล่เม็ดเล็กๆ กลิ่นอายบลูส์
แต่เป็นบลูส์ที่ลึกลับเจ็บปวดเข้ากับเพลงดีเหลือใจ และอีกเพลงคือ
"แม้เราจะไม่พบกัน" ก็เจ๋งสุดๆ เลย

ชัคกี้มาคัมแบ็กอีกครั้งกับงานที่มีชื่อว่า "พาฝัน" ของวง Blue
Planet ในเมษายน 2533 (จำได้ถนัดเพราะออกไปซื้อในวันเกิดผมเอง อิอิ)
งานนี้แหล่ะครับคอกีตาร์ได้ร้องฮ้อ เพราะทุกเม็ด ทุกริฟฟ์
ไปจนกระทั่งทุกท่อนที่เป็นเพลงบัลลาด
มันเต็มอิ่มสมกับที่เราคาดหวังจากความเป็นเทพของเขา
เอาว่าถ้าตอนนั้นคุณกำลังทึ่งกับ สตีฟ ไว ที่กำลังร้อนเต็มที่กับ เดวิด
ลีร็อธ แบนด์ หรือ กำลังถูกตรึงด้วยความเร็วมหานรกของ อิงวี่ เจ
มาล์มสทีน กับ วงไรซิ่งฟอร์ซของเขา
คุณก็จะต้องทึ่งกับชัคกี้และฝีมือเด็ดขาดในงานชิ้นนี้เช่นกัน
โดยเฉพาะแทร็กที่ชื่อว่า "มั่นใจ"

แต่ก็แปลกอีก เพราะงานไม่ประสบความสำเร็จในวงกว้าง ทั้งๆ
ที่ตอนนั้นวงอย่างไฮร็อคก็ดัง พิสุทธิ์ ก็ไปได้ดี
ถ้าจำไม่ผิดหินเหล็กไฟก็เริ่มมา แต่กระนั้นมันก็ทำให้คนฟังกลุ่มเล็กๆ
ตั้งความหวังกับผลงานชิ้นต่อไปของเขาอย่างยิ่ง

จำได้ว่าเคยคุยกับเพื่อนว่า ทำไมอัลบั้มมันส์ๆ อย่างนี้มีแค่ 9
เพลง เหมือนว่ามันยังอยากฟังต่อ แต่ก็ดันจบเสียแล้ว เพื่อนยังบอกว่า
สงสัยเฮียบุ๋มหรือชัคกี้ของเราจะกั๊กฝีมือไว้อีกในอัลบั้มหน้า...

เราหัวเราะกันในวันนั้น แล้วก็คอย แล้วก็หวัง
แต่ก็ไม่มีงานอะไรจากมือกีตาร์คนนี้ มันรอคอยนานขนาดว่า
รสนิยมของการฟังเพลงของผมเปลี่ยนจากเฮฟวี่ เมตัล ไปเดธเมตัล ไปพาวเวอร์
ไปฮิปฮอป ยันแจ๊ซและคลาสสิก แต่ก็ไม่ยักมีงานของแกออกมา

จะมีก็แต่ข่าวที่บอกว่า ชัคกี้ ธัญรัตน์
เสียชีวิตด้วยอาการไตวายเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2540
หลังจากนั้นมีการจัดคอนเสิร์ตรำลึกถึงชัคกี้อีก 2
ครั้งพร้อมกับการรีมาสเตอร์งานของ Blue Planet อีกครั้ง

น่าเศร้าที่เมื่อตอนเขามีชีวิตอยู่
เขาเหมือนกับสิ่งที่ถูกลืมในสังคมดนตรีไทย
แต่พอเขาตายแล้วผมเห็นมีกระทู้ในเนตที่ว่าด้วยชัคกี้เยอะแยะไปหมด
แต่ลักษณะแบบนี้ก็มักจะเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่กับศิลปินที่เป็น
"ศิลปินแท้ๆ" นะครับ

วันนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงกีตาร์เทพผู้นี้ขอนำเพลงที่ผมว่าเผ็ดสุดๆของชัค
กี้ "แม้เราจะไม่พบกัน" ของวงคาราวาน
http://www.imeem.com/people/4P_UgC/music/NpYnIcfz/caravan-mae-rao-ja-mai-phob-gun/
กันดีกว่า

แล้วจะรู้ว่าฝีมือที่ชัคกี้แกทิ้งไว้ในโลกนี้ มันน่าโหยหาขนาดไหนครับ


http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9520000072416
------


เมื่อต้นปี 51 มีคอนเสิร์ทรำลึกถึงพี่บุ๋มที่หอประชุมเอยูเอค่ะ
แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
อาจจะเป็นเพราะผู้จัดอ่อนประสบการณ์
หรือฝ่ายพีอาร์ไม่มีการแจ้งสื่ออื่น ๆ ก็ไม่แน่ใจ
และ่งานก็ล้มเหลวขาดทุนอย่างไม่เป็นท่า
แต่ผู้ชมคอนเสิร์ททุกคนต่างก็ดื่มด่ำกับอรรถรสทางดนตรี
ที่วงแบลคเฮด และศิลปินทั้งหลายได้จัดสรรให้
ขอแสดงความชื่นชมให้กับผู้จัดงานนั้น
รวมไปถึงแบลคเฮด พี่มัส(เดอะมัส) พี่โอ้(โอฬาร)
(พี่หมูพีค) พี่หมูคาไล พี่ป้อบลูแพลนเนท วงเดอะแลมป์
และอีกหลายท่านที่ต้องขออภัย ที่ไม่ได้เอ่ยนาม
ที่ช่วยให้มีงานดี ๆ แบบนี้ให้เราได้ดูกัน
สุราสิวะดี
------
ฟังเพลง "แม้เราจะไม่พบกัน" ครั้งแรก ก็ชอบอย่างจับใจ กับน้ำเสียง นุ่ม
ๆ ในแบบฉบับเพื่อชีวิตของน้าหงา และเนื้อหาที่กินใจ ที่สำคัญ ลูกโซโล
ที่ทำให้รู้สึกว่าโลกตอนนั้นมันหยุดหมุน

ณ ตอนนี้เมื่อมองย้อนไปตอนนั้นเมื่อ 15 ปีที่แล้ว
ฝีมื่อด้านกีต้าร์เท่าหางอึ่ง (พึ่งรู้ตอนนี้ว่ามันไม่มีหางด้วยซ้ำ)
ทริ๊ก เทคนิค ต่าง ๆ ไม่มีเลย
ให้นึกขำว่าอาจหาญมากนะที่เผลอไปลองแกะเพลงนี้
และคิดว่าจะโซโลเพลงนี้ให้ได้

จริงอย่างว่าครับ ตอนนั้นผมรู้จักไฮร็อค(เป็นแฟนไฮร็อคครับ) รู้จัก
เจี๊ยบ และอีกหลายวงในยุคนั้น แต่ผมยักไม่รู้จัก คนโซโล่ เพลง
"แม้เราจะไม่พบกัน"
ออกด้วย

------

เคยฟังตอนโซโล อิโทร ให้เพลง ฮิโรชิมา กับวงคาราวาน

ที่หอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ (ฟรีคอนเสิร์ต)

ทั้งกระฮึ่ม กึกก้อง แผดเสียง โหยหวน กรีดลึก บาดใจ

บอกได้ว่า ซู้ดหยอด
อ่ะ
-----

ใช่เลย ในสมัยนั้นคนที่กำลังหัดกีตาร์อยู่มีไอดอลดีๆเยอะแยะ
ขนาดไม่มีอินเตอร์เนตให้โหลดก็ยังอุตส่าห์นั่งแกะจากเทปกันได้
ถึงแม้ชุดนึงจะมีแค่สิบเพลงอย่างมากแต่กว่าจะแกะรายละเอียดได้หมดนี่เล่นเอา
เหงื่อตก พอผ่านยุคนั้นไปแล้ว ผมรู้สึกว่าเพลงมันไม่น่าฟังเลย
นานน้านจะมีมือกีตาร์ช้างเผือกโผล่มาซักคนและก็อยู่กันไม่ค่อยจะรอดเพราะ
เงื่อนไขทางการค้าเป็นหลัก ที่เห็นตอนนี้ก็มีแจ๊ค
ธรรมรัตน์ที่ค่อนข้างโดดเด่นเป็น Joe Satriani เมืองไทย
อยากให้อยู่ให้รอดนานๆจะได้มีผลงานให้รุ่นหลังๆได้แกะได้แคะกันบ้าง
hide

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น