กรมวิชาการเกษตร
เปิดเผยถึงกรณีที่มีการระบุผลสุ่มตรวจพืชผักและผลไม้ของเกษตรกรทั่วไป
และพบว่ามีสารตกค้าง ในปริมาณสูงกว่ามาตรฐาน แม้กระทั่งผักปลอดสารพิษว่า
เกษตรกรและผู้บริโภคไม่ควรวิตกจนเกินไป เนื่องจากการตรวจสอบแล้วพบว่า
มีสารเคมีตกค้างแต่ ไม่ได้หมายความว่าจะมีอันตรายทันที
และเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ให้มีการตรวจพบสารตกค้างใดหรือปลอดจากสารพิษ 100%
แต่เมื่อพบแล้ว ปริมาณจะต้องอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย
ยังสามารถบริโภคพืชผักและผลไม้ได้ตามปกติ
แนวทางการแก้ไขปัญหาสารพิษตกค้างจะต้องขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เพาะปลูกให้ใช้
สารเคมีอย่าง ถูกต้องและเว้นระยะการเก็บเกี่ยว ตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
หากจะไม่ให้มีการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือวัชพืชเลยคงไม่ได้
เพราะไทยเป็นเขตร้อนชื้น มีปัญหาเรื่องศัตรูพืชหลายชนิด
จึงยังมีความจำเป็นต้องใช้ สารเคมีเพื่อป้องกันอยู่
แต่ปัญหาเกิดจากเกษตรกรมีการใช้สารเคม
ีไม่ถูกต้องมากกว่ารวมทั้งการใช้โดยไม่อ่านฉลาก อธิบายวิธีการชัดเจน
ด้านนายเกรียงชัย แสวงหาบุญ กลุ่มผู้ประกอบการเกษตรกรรมชีวภาพ เผยด้วยว่า
ในปี 2547 นี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศให้เป็นปีฟูดเซฟตีส์
พืชผักและผลไม้ทุกชนิด ก็ควรปลอดจากสารพิษอย่าง 100%
อีกทั้งแนวทางการใช้ปุ๋ยเคมีในการ เพิ่มผลผลิต ให้กับพืชผัก
ก็ไม่น่าเป็นอะไรถือว่าให้เกษตรกรเป็นผู้เลือกหนทางที่ดีที่สุด
แต่การสนับสนุนให้มีการใช้ยาฆ่าแมลงกำจัดศัตรูพืช ควรจะงดได้แล้ว
และให้เปลี่ยนแนวความคิดมาใช้สารกำจัดแมลงชีวภาพจะดีกว่า เพราะปลอดภัย
100% แน่นอน แม้จะมีผลผลิตลดลงไปบ้าง
แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าต่อชีวิตผู้บริโภค.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น