ถ้าจะรู้จักให้อภัย ก็ต้องเรียนรู้ที่จะคิดแบบยืดหยุ่น อะลุ้มอล่วย และคิดอย่างมีเมตตาเป็นพื้นฐาน รู้จักระบายความโกรธในทางที่ถูกที่ควร ไม่เก็บกดจนกลายเป็นความอาฆาตแค้นและไม่ปลดปล่อยในลักษณะที่ทำให้คนอื่นเดือ ดร้อน.. การให้อภัย สามารถเรียนรู้ได้จากการเคยได้รับการให้อภัยจากคนอื่นๆ.. ก ารให้อภัยเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ต้องฝืนใจอย่างมาก โดยเฉพาะในเด็กเล็กจะมีเหตุผลทางด้านจริยธรรมน้อยกว่าเด็กโต เด็กอายุ 4 ปีจะยังคงให้ระบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน แต่พอย่างเข้าสู่วัย 11-13 ปีก็เริ่มมองเห็นสิ่งที่เป็นนามธรรมกว่าระบบตาต่อตา.. การที่จะปลูกฝังให้เด็กรู้จักให้อภัยนั้น คงต้องถามพ่อแม่และผู้ใกล้ชิดว่า.. * พ่อแม่หรือผู้ใหญ่เคยให้อภัยต่อกัน ไม่ขุดคุ้ยความผิดพลาดเก่าๆของอีกฝ่ายขึ้นมาว่ากล่าวทุกครั้งที่เกิดการขัดแย้งกันใช่หรือไม่.. * พ่อแม่เคยให้อภัยเมื่อลูกทำอะไรพลาดพลั้งหรือไม่.. ลองดูกรณีศึกษาเหล่านี้ค่ะ.. * นิดหน่อยทำแก้วแตก คุณแม่เห็นเข้าก็ปรี่เข้ามาดุลูก แล้วเลยเถิดสงครามย่อยๆขึ้น คุณแม่หาว่าลูกซุ่มซ่าม นิดหน่อยก็สวนกลับว่า "แล้วแม่ล่ะ ไม่เคยซุ่มซ่ามหรือไง วันก่อนแม่ยังขับรถชนกระถางต้นไม้หน้าบ้านแตกเลย" ซึ่งในกรณีนี้แม่ควรพูดกับลูกว่า "คราวหลังหนูถือแก้วระวังๆหน่อยก็แล้วกัน อย่าให้มือเปียกเพราะแก้วจะลื่น" *กุ๊กกิ๊กทำนมหก คุณแม่เลยฟาดก้นไปหนึ่งที แล้วดุว่า "ให้มันได้อย่างนี้สิน่า หางานให้ทำจนได้" กุ๊กกิ๊กรู้สึกเสียใจและคิดว่าการทำนมหกเป็นความผิดร้ายแรงหนักหนา ไม่น่าให้อภัยเลย เธอร้องไห้เสียอกเสียใจ" ซึ่งในกรณีนี้คุณแม่ควรบอกลูกว่า "หนูช่วยหยิบผ้ามาให้แม่ที เราจะช่วยกันทำความสะอาด แล้วเดินระวังหน่อยนะจ้ะ อย่าย่ำตรงที่นมหก เดี๋ยวจะเลอะเทอะ" *ปิงปองกลับจากโรงเรียนมาบอกพ่อว่า คุณครูว่าผมโง่ต่อหน้าเพื่อนๆ คุณพ่อกลับซ้ำเติมว่า ก็เราอยากขี้เกียจนักนี่ สมแล้วล่ะที่จะถูกว่า พ่อบอกกี่ครั้งแล้วว่า ให้ขยันอ่านหนังสือ ก็เอาแต่เล่นเกมทั้งวัน" ซึ่งพ่อควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่า "ในความเห็นของพ่อก็คิดว่าครูทำไม่ถูก ที่ทำอย่างนั้น แต่อาจเป็นไปได้ว่า ตอนนั้นครูอาจจะอารมณ์ไม่ดี หรือไม่เข้าใจในตัวลูก คนเราอาจจะทำผิดพลาดกันได้นะลูก อย่าไปโกรธหรือใส่ใจกับคำพูดของครูตอนที่อารมณ์ไม่ดีของครูเลย.. ...... อาจสรุปได้ว่า..การอบรมเลี้ยงลูก และวิธีการที่พ่อแม่ปฎิบัติต่อลูกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปลูกฝังในเรื่องการให้อภัย.. ถ ้าพ่อแม่เตือนสติตัวเองว่า การที่ลูกทำอะไรพลาดพลั้งไปบ้าง อย่างทำข้าวของเสียหาย ทำน้ำหก ย่อมไม่ใช่ความผิดร้ายแรง พ่อแม่ไม่ถือโกรธ และไม่เห็นวัตถุสิ่งของสำคัญกว่าลูก จะเป็นพื้นฐานขั้นต้นที่ลูกได้เรียนรู้เรื่องการให้อภัย.. อุปสรรคในการปลูกฝังนิสัยการรู้จักให้อภัยคือ.. อ ายุของเด็ก ถ้าเด็กเล็กมาก คงยากที่จะคาดหวังให้เด็กให้อภัยและไม่ถือสาน้องเล็กที่ทุบหลังเขา เพราะเด็กคงอดโต้ตอบไม่ได้ เพียงแต่พ่อแม่ควรบอกว่า เรารู้ว่าเขาเจ็บและรู้สึกโกรธ เดี๋ยวแม่จะจัดการกับน้องเอง พ่อแม่ควรให้ความยุติธรรมกับเด็ก ไม่แสดงความฉุนเฉียวถ้าเด็กตีน้องตอบ แต่ให้บอกเขาว่า เขาไม่ควรทำอย่างนั้น ควรบอกน้องว่า พี่เจ็บนะ ทำอย่างนี้ไม่ได้ สอนเขาไปเรื่อยๆด้วยความสม่ำเสมอ แล้วเด็กจะเรียนรู้ได้เอง.. สื่อต่างๆเช่นการ์ตูน ภาพยนตร์ที่แสดงความก้าวร้าวรุนแรง การแก้แค้นกันที่ดูแล้วสนุกเพลิดเพลินมีอยู่มาก พ่อแม่ควรคัดกรองสื่อเหล่านั้นก่อนที่จะให้เด็กดู ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรดูกับเขา และถือโอกาสสอนเขาไปด้วย ซึ่งผู้ใหญ่สมัยนี้มักลืมในข้อนี้ และไม่ได้หยิบยกสิ่งที่ได้จากสื่อมาสอนเด็ก.. สภาพชีวิตในปัจจุบันมี เวลาเป็นตัวกำหนดและเร่งรัดให้ต้องเร่งรีบตลอดเวลา ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพอารมณ์ของพ่อแม่และผู้ใหญ่อีกหลายคน บางครั้งสภาพการณ์กระตุ้นให้เห็นแก่ตัว ไร้น้ำใจ ก้าวร้าว คงต้องพยายามเตือนตนเองอยู่เสมอว่ากำลังเป็นแบบสำหรับเด็กๆ ทั้งหลาย ถ้าในภายภาคหน้าผู้ใหญ่ในวันนี้แก่ตัวลง ก็คงอยากอยู่ร่วมกับคนรุ่นใหม่ที่มีน้ำใจ มีความเมตตา อ่อนโยน และรู้จักให้อภัย สภาพสังคมในภายภาคหน้าจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ในวันนี้ด้วยค่ะ.. "สะสมความเคียดแค้นย่อมเกิดภัย สะสมความรักใคร่ย่อมเกิดสุข" "การรู้จักให้อภัย คือหัวใจของความสงบสุขในสังคม" ขอบคุณหนังสือ เสริมหัวใจด้วยใยเหล็ก เขียนโดย คุณอมรากุล อินโชชานนท์ ขอบคุณผู้ที่ให้หนังสือเล่มนี้แก่ข้าพเจ้าด้วย.. ด้วยจิตคารวะ ที่มา http://weblog.manager.co.th/publichome/myprecious/ |
Theขี้ฝุ่นริมทาง
วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ลบความช้ำ เลิกจำรอยแค้น..
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น