++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

___ประเพณีHansei ของคนญี่ปุ่น ( self reflection)

^^___ประเพณีHansei ของคนญี่ปุ่น ( self reflection)__^^

" Hansei : a japanese culture : It’s more than reflection
Hansei อ่านว่า Han say ee ภาษาญี่ปุ่น

เป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่ ผู้บริหารญี่ปุ่น พยายาม สร้างให้ ผู้บริหารต่างชาติ เช่น ในประเทศไทย สามารถ “สำนึกผิด” ได้

เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น จะไม่ว่าที่ตัวบุคคล แต่ จะเจาะลึก คุยกัน ว่า มันเกิดจาก ต้นตอสาเหตุ อะไร (root cause analysis) เพื่อจะได้ แก้ไข และ ป้องกัน (Poka-yoke) ต่อไป

เจ้าตัวที่ทำผิด จะต้อง แสดงความสำนึกผิด อาจจะ ไปยืนหันหน้าเข้าหากำแพง ก็ได้ ไปแช่ตัวในน้ำเย็น ก็ได้ ไปทำงานเป็น คนกวาดพื้นโรงงาน ก็ได้

ผู้บริหารญี่ปุ่น ยอมรับว่า การสอนให้ คนไทย รู้จัก “ฮันเซอี” นี้ ยากที่สุด จนถึง ไม่สามารถสอนได้เลย

ถ้าเด็กญี่ปุ่นทำผิดพลาด พ่อแม่ จะสอนให้พวกเขา มี “ทัศนคติ” ที่ดี ในการ มอง เรื่อง ความผิดพลาดนั้นๆ เช่น

สำนึกว่าผิด จะได้ไม่ทำอีก
ทำผิด เป็นเรื่องปกติ แต่ ต้อง สืบค้น ว่า ต้นตออยู่ที่ไหน ความสับเพรา เผลอเรอ ขาดสมาธิ ใจร้อน หลงๆลืม ใจลอย โลภ มักง่าย ฯลฯ หรือไม่ จะแก้ไข (Corrective) อย่างไร

และ ที่สำคัญ คือ เรียนรู้อะไรจาก ความผิดพลาดตรงนี้ จะเอาไปเปลี่ยนเป็นโอกาสได้อย่างไร จะป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ (Preventive) ได้อย่างไร

ผมเคยถาม คนญี่ปุ่นว่า มีวิชา Hansei อบรมที่ไหนบ้างไหม ? พวกเขางงๆ และ บอกว่า พ่อแม่พวกเขาสอนมาตั้งแต่เล็กๆ ไม่มีการสอนเป็นเรื่อง เป็นราว แต่ มัน “ปลูกฝัง” กันมา

ความสำคัญของ Hansei มีมากๆ เพราะ เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกิด Kaizen หรือ Improvement after improvement การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

คนไทย เรามัก มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อข้อผิดพลาด เช่น โดนทำโทษ ประนาม ฯลฯ เรายิ่ง เพ่งโทษคนทำผิดมากเท่าไร เท่ากับเรากำลังพยายาม ทำให้ หลายๆคนเกิด “ความกลัว” และ จะมีพฤติกรรม (๑) เกร็ง กังวล กลัวพลาด ดังนั้น หาคนอื่นมาทำ ถามนายในทุกเรื่อง ย้ำคิด ย้ำทำ โดนเฉพาะ ในระบบราชการ (๒) หากผิดพลาด ก็จะ ไม่บอก โกหก บิดเบือน โยนความผิด หมกเม็ด ซ่อนเร้น (๓) โทษตนเอง จนเสียความมั่นใจ แรงไปจนถึงฆ่าตัวตายได้

กระบวนกรที่ดี จึงต้อง เตรียมพร้อม ให้ผู้เรียนได้ฝึก ผจญกับ “ความผิดพลาด”
เจอ ความผิดพลาดเมื่อไร อย่าลืม เรียกใช้ Hansei นะครับ

( ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2009)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น