++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

@^^@..... คบเพื่อนอย่างไร ไม่ให้เหงา......^^



มีสตรีผู้หนึ่ง ฐานะดี เธออยู่คนเดียว มีอายุมากแล้วบ่นให้ฟังว่าหาคนคุยด้วยยากทุกที เพื่อนจากหายไปหมด ลูกหลานหรือคนที่เคยอุปถัมภ์ค้ำจุนกันมาก็ไม่ค่อยมาหา แต่เวลาทุกข์ร้อนก็จะมาหาเพื่อขอความช่วยเหลือ

เธอเหงา...และเริ่มหน่ายชีวิต

ผมเตือนเธอว่าอย่าไปคาดหวังมากนักกับตนเองหรือคนอื่น ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้น เก่งมาก-ดีมากแล้ว

ใครจะรักเราช่วยเราหรือไม่นั้นเราคาดหวังไม่ได้ ไม่แน่นอนทั้งนั้น ถ้าไม่คาดหวังมากก็ไม่ผิดหวังมาก และได้คุยให้ฟังถึงเรื่องเพื่อน 3 ประเภท ที่เคยได้รับรู้มาตามแนวคิดของพุทธศาสนา

เขาแบ่งเพื่อนออกเป็น 3 แบบ คือ

เพื่อนแบบที่ 1 เป็นเพื่อนที่เราสร้างขึ้นมาในชาติปัจจุบัน คือเมื่อเรามีเงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ อำนาจ เพื่อนพวกนี้ก็จะล้อมหน้าล้อมหลังเพราะเขาชอบสิ่งที่เรามี ทำให้เราพลอยหลงตัวเองและมัวเมาไปกับมิตรภาพชั่วคราวแบบนั้น ถ้าเราไม่เกิดประโยชน์อีกแล้วเขาก็จาก...จางและหายไป จะกลับมาก็ในยามต้องการความช่วยเหลือ จึงต้องระวังตัวให้ดี อย่าหลงระเริงไปกับเพื่อนพวกนี้

เพื่อนแบบที่ 2 เป็นเพื่อนที่เราได้มาจากกรรมในอดีตและปัจจุบัน คือเป็นพวกที่มีความผูกพันกันลึกซึ้งกว่าพวกแรก แต่อาจจะนำความสุขหรือความทุกข์มาให้ก็ได้ ขึ้นกับชนิดของกรรมดีหรือไม่ดีของเราที่ทำร่วมไว้กับเขา

เพื่อนพวกนี้ได้แก่ พ่อ-แม่ พี่น้อง ญาติ คนรัก สามี-ภรรยา มิตรสนิท คนคุ้นเคยที่คบหากันอยู่ ซึ่งมีทั้งที่นำความสุขความเจริญหรือ
นำความทุกข์มาให้

เมื่อถึงคราวจากกัน ก็อย่างที่เรียกว่าหมดเวร...หมดกรรมนั่นแหละ...มีทั้งจากกันแบบดีๆ หรือแบบร้ายๆ แล้วแต่กรรมของเรากับเขา

เพื่อนแบบที่ 3 เป็นเพื่อนที่เกิดในชาตินี้และจะอยู่ติดตัวไปชาติหน้า ได้แก่การทำกรรมดีและกรรมชั่วของเรา

ถ้าทำกรรมดี ก็ได้ผลดี ที่เรียกว่า ได้บุญ

ถ้าทำกรรมไม่ดี ก็ได้ผลไม่ดี ที่เรียกว่า ได้บาป

ฉะนั้นบุญและบาปที่เราสร้างในชาตินี้จะเกิดผลตั้งแต่ชาตินี้และติดตัวไปถึงชาติหน้า

การทำความดีง่ายๆ ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนานั่นเอง ถ้าทำมากๆ แล้วความเหงาหงอยก็จะหายไปด้วย

คิดดูแล้วกันว่าเราควรจะสร้างมิตรประเภทใดให้มากขึ้น เพื่อทำให้ตัวเองมีความสุขมากขึ้น

อย่าหลงระเริงและอย่าคาดหวังมากกับเพื่อนแบบที่ 1 และ 2

ให้หมั่นสร้างเพื่อนใหม่แบบที่ 3 ให้มากขึ้นเรื่อยๆ เถิด

ชีวิตจะมีความสุขและไม่เหงาด้วย

โดย ดร. นพ. วิทยา นาควัชระ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น