++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

+++ มารู้จักพึ่งตนเองด้วยสมุนไพร 4 ชนิด...



เป็นที่ทราบกันดีว่าพืชสมุนไพรได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบคุณประโยชน์ของ พืชสมุนไพรอีกนานัปการ อาทิเช่น ลดภาวะอักเสบ ควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ป้องกันมะเร็ง เป็นต้น เมื่อวิวัฒนาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น จึงมีการนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งในที่นี้จะขอยก ตัวอย่างพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

1. ขมิ้นชัน (Turmeric) --- Ease arthritis

การรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยขมิ้นชัน จะช่วยบรรเทาอาการปวดอักเสบบางชนิดได้ เนื่องจากในขมิ้นชันมีสารสำคัญ เรียกว่าCurcuminซึ่งสารนี้ออกฤทธิ์คล้ายกับสารจำพวกCox-2 inhibitors ที่มีคุณสมบัติลดอาการปวดอักเสบ และมีวาง จำหน่ายในรูปของยาแผนปัจจุบัน มากกว่านั้นขมิ้นชันยังมีสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ และมีส่วนช่วยในการทำงานของสมองซึ่งช่วยป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย

2. อบเชย (Cinnamon) --- Lower blood sugar

ในการศึกษาของนักวิจัยประเทศเยอรมันพบว่า เมื่อรับประทานสารสกัดจากอบเชยเป็นประจำทุกวัน จะช่วยให้ระดับน้ำตาล ในเลือดลดลง 10% ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน(Type 2 diabetics) ทั้งนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่า อบเชยสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดจึงช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้

3. ขิง (Ginger) --- Avert nausea

ขิงสามารถป้องกันการเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อันเนื่องจากภาวะการตั้งครรภ์ การเดินทาง การบำบัดด้วยเคมี ฯลฯ โดยไปปิดกั้นการทำงานของสารSerotoninที่สร้างจากสมองและกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ขิงยังช่วยลดความดันโลหิตลด อาการปวด การอักเสบ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย ในงานวิจัยของ University of Michigan ชิ้นหนึ่ง ได้ทดสอบสารสกัดจากขิงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ พบว่า ขิงนั้นมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ อย่างมีนัยสำคัญ

4. กระเทียม (Garlic) --- Lower cardiovascular risk

กระเทียมมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและลดความดันโลหิตได้ดี ซึ่งสารชนิดหนึ่งในกระเทียมมีส่วนสำคัญในการออก ฤทธิ์คือ อัลลิซิน (Allicin) การรับประทานกระเทียมให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรรับประทานเป็นสารสกัด 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ถ้าจะรับประทานกระเทียมสดเพื่อให้เทียบเท่ากับสารสกัดควรรับประทานประมาณ 20 กลีบ ในกรณี ของกระเทียมที่นำมาปรุงอาหารเรียบร้อยแล้ว สารที่ออกฤทธิ์ในกระเทียมก็จะมีปริมาณลดลง


เขียนโดย จรรนภา ศรีสุวรรณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น