Theขี้ฝุ่นริมทาง
วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553
กาพย์เห่เรือ - วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา
ผู้แต่ง - เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
ทำนองแต่ง - แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ และกาพย์ยานี โคลงสี่สุภาพใช้เป็นบทนำ ส่วนการพรรณนาความใช้กาพย์ยานี
ข้อคิดเห็น - กาพยืเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ประกอบด้วยรสวรรณคดียอดเยี่ยมกว่ากาพย์เห่เรือของกวีอื่น เพราะมีความดีเด่นทั้งในด้านคำประพันธ์กลอนและกระบวนบรรยายความ ลักษณะกาพย์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร มีสัมผัสในรับกันเป็นคู่ๆ มีความไพเราะยิ่งนัก เป็นแบบฉบับแห่งกาพย์ยานีเช่นเดียวกับกลอนของสุนทรภู่ ซึ่งเป็นยอดกลอนตลาด การแต่งกาพย์เห่เรือในต่อมา ส่วนมากมักเลียนแบบกาพย์เห่เรือของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทั้งสิ้น เช่น กาพย์เห่เรือของ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของรัชกาลที่ ๖ และกาพย์เห่เรือของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
กระบวนความพรรณนาในกาพย์เห่เรือ ก็จัดเป็นเลิศ ใช้ถ้อยคำกะทัดรัด เกิดภาพพจน์ แสดงธรรมชาติของไม้และสัตว์อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถเชื่อมโยงไปสู่ความรักอาลัยที่มีต่อนางได้อย่างแนบเนียน ลำดับการพรรณนาก็สอดคล้องกับกาลเทศะ เริ่มต้นชมกระบวนเรือในตอนเช้า ครั้นสายชมปลา เวลาบ่ายชมไม้ ใกล้ค่ำชมนก ตกกลางคืนเป็นบทเห่กากี เห่สังวาส จบลงด้วยบทเห่ครวญ
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ทรงนิพนธ์กาพย์เห่เรือด้วยพระอารมณ์ คุกรุ่นด้วยความรัก สันนิษฐานกันว่า เป็นความรักที่มีต่อ เจ้าฟ้านิ่มและเจ้าฟ้าสังวาล พระชายาของพระบิดา บทเห่กากีมีลักษณะเข้าทำนองความสัมพันธ์ระหว่าง พระองค์กับเจ้าฟ้าหญิงทั้งสอง และข้อความตอนหนึ่งในบทเห่ครวญก็ยังบ่งชัดเช่นนั้น คือ ข้อความที่ว่า
ขาวสุดพุดจีบจีน เจ้ามีสีพี่มีศักดิ์
ทั้งวังเขาชังนัก แต่พี่รักเจ้าคนเดียว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น