++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านเป็นพระโพธิสัตว์"

คำเตือนก่อนอ่าน ท่านที่จะอ่านกระทู้นี้ ต้องใช้วิริยะบารมีพอสมควรครับ
เนื่องจากเป็นกระทู้ขนาดยาวพอสมควร
และผมจำเป็นต้องลิงค์ข้อมูลกับเว็ปอื่นด้วย
เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบรายละเอียดแต่ละเรื่องให้มากที่สุด
ซึ่งถ้าท่านเข้าไปอ่านจะได้สัมผัสกับเนื้อหา อรรถรสของเรื่องได้โดยตรง
ขอให้ใช้ "วิริยะ" แบบพระมหาชนกในการอ่านกระทู้นี้ครับ

ครูบาอาจารย์ ท่านบอกว่า
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านเป็นพระโพธิสัตว์" ที่ปรารถนาพุทธภูมิ
จริงหรือไม่จริง ด้วยภูมิจิต ภูมิธรรมของผมยังไม่อาจทราบได้
แต่เมื่อผมพิจารณาพระราชจริยวัตรของพระองค์ท่านแล้ว ทำให้ผมเชื่อว่า
คำกล่าวของครูบาอาจารย์นั้นน่าจะเป็นความจริง
เพราะพระราชจริยวัตรทั้งหลายดำเนินไปตามทศบารมี ดังนี้

1. ทานบารมี* ด้วยการพระราชทานกำเนิด มูลนิธิราชประชานุเคราะห์
เพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ
สงเคราะห์ด้านการศึกษา และป้องกันสาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ
รวมทั้งให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือเป็นส่วนรวมแก่ประชาชนที่ได้รับความทุกข์
ยากเดือดร้อนประการอื่นอีกด้วย

2. ศีลบารมี คือ
การที่พระองค์ท่านมีพระราชจริยาวัตรที่พิเศษอีกประการหนึ่งซึ่งคนทั่วไปทำ
ได้ยาก คือ ในคืนวันอุโบสถนั้น พระองค์จะทรงรักษาอุโบสถศีลอย่างเคร่งครัด

3. เนกขัมบารมี ซึ่งหมายถึง การออกบวช, ความปลีกตัวปลีกใจจากกาม
ในข้อนี้พระองค์ท่านไม่ได้ออกบวชทางกาย (เพียงเคยทรงผนวชระยะสั้น)
แต่สำหรับการบวชทางใจ ที่เป็นการปลีกตัวปลีกใจทางกามในช่วงอุโบสถศีล
ย่อมถือเป็นบารมีข้อนี้เช่นกัน ครูบาอาจารย์องค์หนึ่งของผม คือ
ท่านหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ท่านได้กล่าวเกี่ยวกับการบวชใจไว้อย่างนี้

4. ปัญญาบารมี พระบารมีข้อนี้เห็นได้ชัดเจนมาก จากพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ เช่น

โครงการ พระราชดำริ มูลนิธิชัยพัฒนา รวมทั้งพระอัจฉริยภาพในเกือบทุกด้าน
ไม่ว่า จะเป็นด้านการสื่อสาร ด้านกีฬา ด้านดนตรี ด้านจิตรกรรม
หรือแม้แต่ด้านโหราศาสตร์ก็ตาม
ยังรวมไปถึงพระราชปฏิภาณไหวพริบที่น่าอัศจรรย์
เข้าไปอ่านตัวอย่างที่นี่ครับ ในเรื่อง "เราจับได้แล้ว"

5. วิริยะบารมี บารมีนี้เห็นได้เด่นชัดจากพระราชจริยวัตรของการช่วยเหลือออกไปแก้ไขทุกข์
ร้อนของพสกนิกร ที่ทรงทำอย่างต่อเนื่องยาวนาน
และยังมิทรงหยุดหย่อนจนถึงทุกวันนี้ ดังเช่น พระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก"
หรือแม้ในด้านพระศาสนา พระองค์ทรงทำสมาธิ
เจริญสติทุกวันและทรงอุโบสถศีลทุกวันอุโบสถ
เหล่านี้ล้วนเป็นพระวิริยะบารมี

6. ขันติบารมี คือ ความอดทน
ข่มกายและใจต่อความลำบากทั้งพระวรกายและพระทัย
ในการช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ท่าน แม้จะเป็นที่ทุรกันดารห่างไกล
ข้ามน้ำ ข้ามภูเขา ก็มิได้เป็นอุปสรรคต่อพระองค์
ในฐานะของความเป็นมนุษย์ผู้หนึ่ง สามารถปฏิบัติภารกิจที่ยิ่งใหญ่
ยาวนานได้ขนาดนี้ ถ้าขาดซึ่ง "ขันติบารมี" แล้ว
ยากที่จะทรงงานมาได้จนตราบเท่าทุกวันนี้ คำว่า "ป่วยไข้"
แบบธรรมดาอาจจะเป็นคำต้องห้ามสำหรับพระองค์ท่าน
ถ้าไม่หนักหนาสาหัสถึงขนาดต้องทรงเข้าโรงพยาบาลแล้ว
พระองค์ท่านยังทรงปฏิบัติพระราชภารกิจทั้งหลายทั้งปวงมิว่างเว้น
แม้แต่งานที่ดูไม่น่าจะสำคัญ แต่สำคัญสำหรับกำลังใจของผู้รับ อย่างเช่น
การพระราชทานกระบี่ หรือปริญญาบัตร พระองค์ท่านก็ยังทรงปฏิบัติอย่างสงบ
ไม่ทรงแสดงถึงความเบื่อหน่ายหรือเมื่อยล้าให้เห็นเลย
นับเป็นตัวอย่างของขันติบารมีที่น่าบูชายิ่ง

.............ทรงพระราช
ทานกระบี่ให้กับนายตำรวจใหม่ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว
แค่ถึงวันครบรอบศตวรรษของโรงเรียน นั้น มีจำนวนรวมกันถึง ๙,๐๐๔ เล่ม
น้ำหนักกระบี่ที่ทรงพระราชทานให้นายตำรวจใหม่ทุกๆปี มีน้ำหนักรวมกันถึง
๘,๙๑๓ กิโลกรัมเศษ หรือเกือบ ๙ ตัน มาถึง พ.ศ.นี้ก็เกิน ๙
ตันไปเรียบร้อยแล้ว หากรวมนายทหารบก เรือ อากาศ
ที่สำเร็จการศึกษาอีกทั้งสามเหล่าทัพ ตลอดเวลาที่ทรงครองราชย์มา
มาเป็นจะครบ ๖๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๙
ซึ่งจะเวียนมาถึงอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้
คงจะมีน้ำหนักรวมกัน...หลายสิบตัน! นี่ยังไม่นับปริญญาบัตร
ซึ่งในหลวงได้เสด็จพระราชทานให้กับบรรดาบัณฑิต จำนวนนับหมื่นๆแผ่น
ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันต่างๆของรัฐ
ซึ่งภาพถ่ายที่ทรงพระราชทานปริญญาบัตร
กลายเป็นเครื่องประดับชิ้นสำคัญสำหรับบ้านชาวไทย
ที่มีลูกหลานสำเร็จการศึกษาจากสถาบันของชาติเหล่านั้น..........

7. สัจจะบารมี นับแต่ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493
ว่า " เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม"
นับถึงวันนี้พระราชโองการนี้ย่อมประจักษ์แจ้งแก่ใจของชาวไทยทั้งชาติว่า
เป็นสัจจะบารมีที่แท้จริง

8. อธิษฐานบารมี
ความมุ่งมั่นในน้ำพระทัยที่ทรงประกาศเป็นพระปฐมบรมราชโองการ
เป็นทั้งสัจจะบารมีและอธิษฐานบารมี
รวมทั้งน่าจะเป็นการมุ่งมั่นต่อพระราชปณิธานที่อธิษฐานบารมีเพื่อพระโพธิญาณ
ในอนาคตกาล จึงได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ตามแนวทางบารมี 30 ถ้วน

9. เมตตาบารมี บารมีในข้อนี้มีมากล้นเกินพรรณา ความทุ่มเท ความวิริยะ
ความอุสาหะ ที่ทรงกระทำเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกร
อย่างต่อเนื่องยาวนานเกือบ 60 ปี
ย่อมเกิดได้เพราะน้ำพระทัยเมตตาที่เปี่ยมล้นเท่านั้น

10. อุเบกขาบารมี บารมีข้อนี้พิจารณาได้ยาก
เนื่องจากต้องอาศัยการสังเกตอย่างใกล้ชิด
ซึ่งผู้ที่จะยืนยันบารมีข้อนี้ต้องเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับพระองค์ท่าน
และโชคดีที่พสกนิกรอย่างเราได้รับรู้แง่มุมเกี่ยวกับอุเบกขาบารมีของพระองค์
จากอดีตข้าราชบริพารผู้มีโชควาสนาได้ทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท พล.ต.อ.
วศิษฐ์ เดชกุญชร ผมขอยกบางส่วนมาให้อ่านเลยครับ

"...... เรื่องการเฝ้าฯ และเกี่ยวกับความมั่นคง การเปิดเผยแก่สื่อมวลชน
หรือแก่ใครก็ตาม ก็ควรทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง
มิให้กลายเป็นการเปิดเผยความอ่อนแอหรือความเสียเปรียบของทางราชการ
ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่หวังดี
มิหนำซ้ำยังจะทำให้ประชาชนผู้รู้ข่าวพลอยวิตกกังวลหวาดหวั่นไปด้วย
และที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง
เพราะจะทำความวิตกอย่างหนักให้แก่ผู้รู้ข่าวก็คือ คุณสนธิ (พล.อ.สนธิ
บุณยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก) ให้สัมภาษณ์เลยไปด้วยว่า "เพื่อนสนิท"
ของคุณสนธิที่ตามเสด็จฯ เล่าว่า "ข้าราชบริพาร" พากัน "น้ำตาไหลพราก"
เมื่อเห็นพระเจ้าอยู่หัว "ทรงยืนเหม่อมองไกลออกไปในทะเล
เป็นเวลานานมาก....โดยไม่ตรัสกับใคร" แล้วคุณสนธิก็สรุปเองว่า
ปัญหาบ้านเมืองทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรง "ทรงเป็นทุกข์มาก" และคุณสนธิเองก็
"ไม่สบายใจอย่างที่สุด
เมื่อรู้ว่าปัญหาเหล่านี้ทำให้พระองค์เป็นทุกข์ขนาดนี้" (จากหนังสือพิมพ์
มติชน วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม 2549 หน้า 4 ในคอลัมน์ "เรียง "คน" มาเป็น
"ข่าว" " โดย "วิหคเหินฟ้า")

ผมรับราชการสนองพระเดชพระคุณใกล้พระ ยุคลบาทอยู่นานกว่า 12 ปี
และแม้จะพ้นหน้าที่มานานแล้ว
แต่ก็ยังสดับตรับฟังข่าวเกี่ยวกับพระราชจริยวัตรและพระราชกรณียกิจอยู่มิได้
ขาด ทั้งจากสื่อและจากผู้ที่ยังรับราชการอยู่ใกล้พระยุคลบาท จึงรู้ เชื่อ
และขอยืนยันว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงบ้านเมืองยิ่งกว่าพระอนามัยหรือพระชนมชีพอย่างแน่
นอนและตลอดเวลา แต่ความห่วงใยของฝ่าละอองธุลีพระบาทนั้น
จะเรียกไม่ได้เป็นอันขาดว่าเป็นความทุกข์

พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเป็น ทุกข์และไม่เคยเป็นทุกข์
เพราะทรงฝึกพระสติฝึกพระองค์ด้วยการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจนเป็นพระ
นิสัย เมื่อมีวิกฤตการณ์ไม่ว่าจะร้ายแรงเพียงใด
จะทรงพิจารณาด้วยความเยือกเย็นและสุขุมคัมภีรภาพ
แล้วจึงทรงตัดสินพระทัยทำสิ่งที่ทรงเห็นว่าควรทำ และเมื่อทรงทำแล้ว
ก็จะทรงถือว่า หน้าที่สำเร็จไปอีกครั้งหนึ่งอย่างหนึ่ง
หากยังไม่จบสิ้นแต่มีเรื่องเกี่ยวพันต่อเนื่องต้องทำต่ออยู่อีก
ก็จะทรงถือว่าเป็นหน้าที่อีกครั้งหนึ่งอย่างหนึ่ง และทรงทำต่อ

ในการ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งหลายนั้น
หลักที่ทรงยึดถือและปฏิบัติอย่างมั่นคงและแน่วแน่คือ
ไม่ทรงสนพระทัยว่าใครจะชมหรือใครจะตำหนิ เพราะทรงถือว่าทรงทำ
"หน้าที่เพื่อหน้าที่" แต่ไม่ได้หมายความว่าทำแล้วทิ้ง
แต่จะทรงทบทวนไตร่ตรอง
ถ้าหากทรงเห็นว่าที่ทรงทำไปแล้วนั้นยังบกพร่องไม่สมบูรณ์
ครั้งต่อไปก็จะทรงพยายามปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเป็นไปตาม "อิทธิบาท"
ข้อที่สี่ คือวิมังสา
อันเป็นหลักธรรมที่ทรงใช้และพระราชทานให้ผู้อื่นอยู่เสมอๆ
เพราะทรงศึกษาและปฏิบัติธรรมมาอย่างต่อเนื่อง

พระเจ้าอยู่หัวจึงทรง ตระหนักมานานแล้วว่า ชีวิตคือทุกข์
และคนเราเกิดมาทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น แต่ผมไม่เคยเห็นพระเจ้าอยู่หัวทรง
"เป็นทุกข์" อย่างคนอื่นๆ คือหม่นหมอง โศกเศร้า ทอดอาลัย หรือหมดหวัง
ทรงรู้จักและเข้าพระทัยในทุกข์ แต่ไม่ทรงกลัวทุกข์
ทรงถือว่าเมื่อทุกข์ของประชาชนใหญ่หลวงและสาหัส
ก็เป็นหน้าที่ของพระองค์ด้วยในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์
ที่จะต้องบำบัดทุกข์นั้นอย่างเต็มกำลังความสามารถและตลอดเวลา
โดยไม่ทรงทอดอาลัยหรือหมดหวัง..."

ด้วยพระราชจริยวัตรที่ดำเนินตามทศ บารมี นับเนื่องมาเกือบ 60
ปีและยังต้องต่อเนื่องตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ท่านอย่างแน่นอน
ไม่เพียงแต่ประชาชนคนไทยจะรู้สึกเคารพบูชาในคุณความดี
แม้แต่นานาประเทศยังชื่นชมและทึ่งในพระบารมี เพราะยังไม่เคยเห็นว่า
มีพระมหากษัตริย์องค์ใดในโลกที่คนในประเทศยังให้ความรักและเคารพได้ขนาดนี้
และด้วยพระปรีชาสามารถอันยิ่งใหญ่นี้ทำให้องค์การสหประชาชาติ
ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล "ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์" ( Lifetime
Achievement in Human Development Award ) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยรางวัลดังกล่าวเป็นรางวัลที่สหประชาชาติจัดทำขึ้นใหม่เพื่อเทิดพระ
เกียรติ

From copy
Seine

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น