++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

ASTV แหล่งเพาะพันธุ์ (ว่าที่)นักข่าวไฟแรง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 เมษายน 2553 18:52 น.
เรื่องการฝึกงานเพื่อหาประสบการณ์ของนิสิตนักศึกษา
หลังจากที่ตรากตรำพร่ำเรียนวิชามาเกือบ4 ปี
เราจะได้โอกาสทดลองใช้ความรู้ความสามารถในสนามแห่งนี้ได้อย่างเต็มที่ก่อน
สนามการทำงานจริงของชีวิตในอนาคตข้างหน้าอันใกล้
ดังนั้นหากเราสามารถโชว์ศักยภาพความสามารถได้ดี
ผลงานอาจเข้าตากรรมการช่วยให้เราได้มีงานทำได้ทันทีหลังจากจบการศึกษา

เช่นเดียวกับเหล่า บรรดานัก ศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ทั้งหลาย
ที่กำลังจะก้าวเข้ามาเป็นสื่อมวลชนรุ่นใหม่ก็ขอเข้ามารับการฝึกฝนงานกับ
ASTV ผู้จัดการรายวัน-ออนไลน์ ด้วยเหตุนี้ Life On Campus จึงขออาสา
แอบดูพวกเขาและเธอ ในฐานะ(ว่าที่) ผู้สื่อมวลชนมือใหม่
ถึงกระบวนการทำข่าวที่ต้องลงมือปฏิบัติอะไรกันบ้าง และแตกต่างกันอย่างไร

"แชมป์" ปฐมพงศ์ นิยมศิลป์ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
เริ่มต้นที่ หนุ่มหล่อมาดเข้มอย่าง "แชมป์" ปฐมพงศ์ นิยมศิลป์
นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม หนึ่งในนักศึกษาฝึกงานข่าว
Motoring หรือ โต๊ะข่าวยานยนต์ แชมป์ เผยว่า
หลังจากเรียนทฤษฏีหลักการเขียนข่าวจากมหาวิทยาลัย
และทำหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ "จันทรเกษมโพสต์"
จากนั้นจึงถึงช่วงเวลาของการทำงานจริงในสำนักพิมพ์ต่างๆ ตนจึงไม่รอช้า
เลือกฝึกงาน ณ องค์กรใหญ่ที่มีการผสมผสานทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์
อย่างที่ ASTV ผู้จัดการ

"ทราบ มาก่อนหน้านี้ว่า การทำข่าวออนไลน์นั้น
ไม่ใช่แค่ทำข่าวอย่างเดียว แต่ต้อง เขียนข่าว ถ่ายรูป แต่งรูป
ทำภาพกราฟฟิก อัพข่าวขึ้นเว็บ หรือเรียกง่ายว่า
คนเดียวต้องทำทุกอย่างในเวลาที่รวดเร็ว เพราะว่าเป็นข่าว
ทำให้ผมชื่นชอบและสนุก
ตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้เรียนรู้หลักการทำข่าวแบบนี้
แต่ต้องระมัดระวังเรื่องความถูกต้องของภาษาด้วย" แชมป์
เผยถึงจุดเริ่มต้นของการทำข่าวออนไลน์

จากนั้น เราไม่รอช้า
ขอถามถึงเหตุการณ์วันแรกที่เข้ามาฝึกงานที่นี่ว่าเป็นเช่นไร
แชมป์ทำท่าคิดหนักก่อนจะบอกต่อด้วยสีหน้าอมยิ้มว่า
ถูกใช้งานทันทีแบบไม่ทันตั้งตัว แต่ดีที่พกอุปกรณ์การทำข่าวอย่าง สมุด
ปากกา กล้องถ่ายรูปคู่ใจ พร้อมกำลังใจที่จะทำงานอย่างเต็มที่ "ผล
งานชิ้นแรกของการฝึกงานคือ งานเปิดตัวรถยนต์ มาสด้า 2
ซึ่งรู้สึกเกร็งบ้างแต่โชคดีที่พี่นักข่าวจากโต๊ะข่าวไปด้วย
พร้อมทั้งแนะนำวิธีการทำข่าวในสไตล์การทำข่าวรถยนต์
และชี้แนะให้เราสัมภาษณ์ผู้บริหาร จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มารวมกัน
เพื่อทำข่าวเผยแพร่ในเว็บไซต์และตีพิมพ์"

ล่า สุดหมายข่าวที่ทำให้แชมป์ตื่นเต้น
และหัวใจโตลมตามประสาหนุ่มๆทั่วไป ต้องยกให้ งานเปิดตัว "บางกอกฯ
มอเตอร์โชว์ 2010"ที่มีแต่สาวพริตตี้มากมาย
แต่ด้วยเลือดของนักข่าวมือใหม่ ทำให้เขาปฏิบัติหน้าที่นักข่าวที่ดี
ด้วยการขออนุญาตถ่ายรูป และรวบรวมประวัติสาวๆ เหล่านั้น
เพื่อนำกลับไปให้พี่นักข่าว ประมวลภาพ เพื่อเผยแพร่ข่าวบนเว็บไซต์ทันที "
รู้สึกเขินมาก เพราะผมต้องคอยเก็บข้อมูล ประวัติของพริตตี้
อีกทั้งยังต้องกดชัตเตอร์ เพื่อเก็บภาพบรรยากาศมาเพื่อทำข่าว
ซึ่งได้รับคำแนะนำจากพี่นักข่าว ถึงเรื่องมุมกล้อง
ทำอย่างไรจะให้ภาพรถยนต์ และพริตตี้ออกมาดูดี
เพราะรูปภาพเป็นส่วนสำคัญในการนำเสนอข่าวผ่านเว็บไซต์
อีกยังทราบถึงผลตอบรับจากคนอ่านข่าว ทำให้เรารู้ถึงข้อดีข้อเสียได้ทันที"


"แพ็ต" ภานุมาศ สายสำเภา นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มาต่อกันที่ "แพ็ต" ภานุมาศ สายสำเภา
นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ที่มาพร้อมกับความมั่นใจเต็มเปี่ยมกับการฝึกทำข่าวโต๊ะอาชญากรรม
ด้วยบุคลิกที่ตัวเล็ก บอบบางทำให้พี่นักข่าวหลายคน ตั้งข้อครหาว่า
"แน่นอนแล้วใช่ไหมที่จะทำข่าวอาชญากรรม ต้องเจอกับข่าวฆ่ากันตาย
พร้อมสภาพศพที่ไม่น่าดู" แพ็ตตอบทันทีว่า "หนูชอบความตื่นเต้น
และมั่นใจว่าทำข่าวอาชญากรรมได้แน่นอน"

"เรา อาจจะเคยทำข่าวหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติของมหาวิทยาลัย
"บ้านกล้วย" ที่เน้นข่าวสังคม การเมือง เศรษฐกิจ
บันเทิงที่มีผลกระทบต่อนักศึกษา
แต่ไม่มีข่าวแนวข่าวอาชญากรรมที่ให้เราศึกษาได้เลย
แต่แพ็ตก็พอจะมีพื้นฐานมาบ้าง เพราะเป็นคนที่ชอบอ่านข่าวอาชญากรรม
และค่อยตั้งคำถามว่า ทำไมเขาต้องฆ่ากัน
ปัญหาหรือปมความขัดแย้งมันเกิดจากอะไร"
แพ็ตเผยจึงแรงบันดาลใจที่ทำให้เธอเลือกฝึกงานข่าวอาชญากรรม

เริ่มต้นวันแรกของการฝึกงาน แพ็ตบอกว่า
ได้รับความกรุณาจากพี่นักข่าวให้ศึกษาแนวการเขียนข่าว ทั้งวิธีการพาดหัว
โปรยข่าว เนื้อข่าว และลักษณะของการถ่ายภาพข่าว
ซึ่งเป็นข้อมูลที่ละเอียดและถูกต้อง และรวดเร็ว
พร้อมที่จะทำข่าวขึ้นเว็บไซต์ภายในเวลา 15-20นาที "เรา
ไม่เคยเห็นการทำข่าวที่รวดเร็วแบบนี้ สำหรับแพ็ต ถ้าจะให้เขียนข่าว
คงต้องขอเวลา 1 ชั่วโมงกว่าจะเขียนเสร็จ
แถมไม่ใช่แค่นั่งรอข่าวเข้ามาเท่านั้น เราต้องลงพื้นที่ตามสถานีตำรวจ
เพื่อสอบถามข่าวหรือคดีต่างๆที่เกิดขึ้นรายวัน
หรือไม่ก็อยู่ที่สมาคมผู้สื่อข่าว-ช่างภาพอาชญากรรม
เพื่อรอสัญญาณแจ้งข่าว และรีบไปยังที่เกิดเหตุเพื่อทำข่าวทันที
แต่ไม่ใช่ว่าไปถึงแล้วจะทำข่าวได้เลย ต้องรอให้ตำรวจมาก่อน
ระหว่างที่รอเราก็ต้องหามุมถ่ายภาพ
และสอบถามเวลาแจ้งเหตุหรือผู้พบเห็นเหตุการณ์
เพื่อนำมาเป็นเนื้อข่าวเพิ่มเติม"

แพ็ตบอกต่อว่า หลายคนอาจจะคิดว่า
นักศึกษาผู้หญิงคงไม่เหมาะกับการทำข่าวแนวนี้ได้
แต่เมื่อใจชอบและมีความกล้าพอ
ก็สามารถทำให้หยิบปากกาเขียนข่าวฆาตกรรมและถ่ายรูปได้อย่างสบาย "แพ็ต
ตั้งใจกับการฝึกงานครั้งนี้มาก
เราอยากที่จะเรียนรู้งานให้ได้เกือบทุกอย่าง ทั้งลงพื้นที่ รายงานข่าว
ถ่ายรูป และอัพข่าวขึ้นเว็บไซต์ เขียนสกู๊ปลงหนังสือพิมพ์
เพราะรู้สึกการเรียนรู้ไม่หยุดอยู่แค่นี้ เริ่มต้นฝึกงาน สิ้นสุดวันฝึก
และพร้อมที่จะเริ่มเป็นนักข่าวมืออาชีพในวันข้างหน้าให้ได้"

"แอ๊น" ฐิติรัตน์ โกมลสุรกุล นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยรังสิต
มาต่อกันสองสาวเพื่อนซี้ "แอ๊น" ฐิติรัตน์ โกมลสุรกุล และ "นุ๊ก"
วัลยา ปลั่งประยูร นักศึกษาจาก
มหาวิทยาลัยรังสิตที่แท็กทีมจับจองตำแหน่งน้องฝึกงานข่าวท่องเที่ยวทันที
หลังได้รับคำแนะนำจากรุ่นพี่ในสถาบัน ให้เลือกฝึกทำข่าวที่ชอบและถนัด
อีกทั้งยังต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อเตรียมพร้อมทำข่าวหนังสือพิมพ์ใน
เทอมหน้า

แอ๊น ถือโอกาสเริ่มต้นเล่าก่อนว่า เหตุผลที่ตนเลือกฝึกงานที่นี้
ไม่ใช่ว่าชอบสีเหลือง หรือเกลียดสีแดง แต่เพราะที่นี่คือ
องค์กรใหญ่ที่ทำหน้าที่สื่อมวลชน ครอบคลุมทุกอย่าง ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์
ออนไลน์ และนิตยสาร ทำให้ไม่ต้องคาดหวังว่าจะได้อะไรจากการฝึกงานที่นี่
เพราะทุกอย่างมันสะท้อนให้เห็นว่า
ผลที่รับมันเป็นมากกว่าประสบการณ์แน่นอน

"เข้า มาฝึกงานวันแรก ภาพที่เห็นตรงข้ามกับที่จินตนาการไว้
เพราะมันไม่น่ากลัว จากที่คิดว่า สภาพแวดล้อมจะต้องเครียด
มีแต่พี่นักข่าวนั่งเขียนข่าว รับข่าวกันให้วุ่นวาย แต่จริงๆ
กลับไม่ใช่เลย ถึงเวลาพักเที่ยง หลายคนจะหัวเราะพูดคุย
มีส่วนน้อยที่จะเห็นนั่งหน้าเครียด จ้องหน้าคอมพิวเตอร์
เขียนข่าวแบบไม่สนใจใคร ทำให้รู้สึกว่า งานข่าวอาจจะมีเครียดบ้าง
แต่เราก็สามารถผ่อนคลายได้"

ทั้งนี้ แอ๊น ยกประสบการณ์การทำข่าวครั้งแรกด้วยหมายข่าวต่างหวัด
หลังจากได้รับคำสั่งให้ทำสารคดีท่องเที่ยวในงาน "ว่าวไทย"
จังหวัดเพชรบุรี แต่กลับมีเหตุให้เธอไม่สามารถทำข่าวได้อย่างที่ตั้งใจ
เพราะสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย
ทำให้ว่าวไม่สามารถลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าได้อย่างที่คาดหมาย"พยายาม
แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการโทรรายงานสถานการณ์กับพี่ๆ ที่โต๊ะข่าวทันที
เพราะเราไม่สามารถตัดสินใจเองได้ อธิบายเหตุผลว่าทำไมเราถึงทำข่าวไม่ได้
พร้อมทั้งเสนอวิธีแก้ไขปัญหา เพราะเราต้องเต็มที่กับงานที่ได้รับมอบหมาย
ถึงแม้ว่าพี่ๆ เขาจะปูทางไว้ให้แล้ว แต่เมื่อพบประเด็นที่สามารถนำเสนอได้
เราก็ควรทำ เพื่อประโยชน์ต่อตัวเราและผลงานชิ้นแรก"


"นุ๊ก" วัลยา ปลั่งประยูร นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยรังสิต
เช่นเดียวกับ นุ๊ก ที่เอ่ยเพิ่มถึงประสบการณ์การฝึกงานมากว่า 3
สัปดาห์ว่า จากที่เรียนทฤษฏีจากในตำราเรียนหรือที่อาจารย์สอนมา
อาจจะนำมาใช้ในทำงานจริงไม่ได้เกือบทั้งหมด
แต่สามารถประยุกต์ใช้และรู้จักวิธีแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าในเวลาที่คิด
ประเด็นไม่ได้หรือการทำข่าวไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย

"เรา อาจจะต้องโละทุกอย่างที่เป็นทฤษฎี
เพราะทฤษฏีกับปฏิบัติไม่เหมือนกัน ทุกอย่างต้องเริ่มจากการเรียนรู้ใหม่
เพราะแต่ละสำนักพิมพ์จะมีสไตล์การเขียนที่แตกต่างกัน
ถือว่าโชคดีที่ได้พี่ๆ นักข่าวให้คำแนะนำตลอด ทั้งวิธีการเขียน
และการนำเสนอ อีกทั้งยังค่อยชี้แนะวิธีการเขียนสารคดีท่องเที่ยวอย่างไรให้น่าอ่าน
สำหรับเป้าหมายของการฝึกงานครั้งนี้
นอกจากประสบการณ์ที่ต้องได้แน่นอนอยู่แล้ว
เรายังมีโอกาสได้รู้จักผู้ใหญ่หลายท่านที่อยู่ในวงการท่องเที่ยวอีกมากมาย
"

ทิ้งท้ายด้วย ปุ๋ย-สุธาวณี ศิลาทอง จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ
"เพลง" ชนิการนต์ เกตุแก้ว จากมหาวิทยาลัยรังสิต 2 สาวที่โคจรมาพบกับ ณ
โต๊ะข่าวบันเทิง ทั้งปุ๋ยและนุ๊กต่างให้เหตุผลเป็นเสียงเดียวกันว่า
"หนูชื่นชอบดารา และชอบอ่านข่าวซุบซิบของดารา
และที่สำคัญอยากรู้ความจริงที่เกิดขึ้นจากข่าวนั้น
เป็นจริงมากน้อยแค่ไหน"


"ปุ๋ย"-สุธาวณี ศิลาทอง นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ปุ๋ย บอกว่า ในฐานะ(ว่าที่)
นักข่าวมือใหม่อาจจะต้องเจอกับปัญหามากมาย แถมยังต้องเกาะติดสถานการณ์ว่า
ใครกำลังดัง ใครมีเรื่องอื้อฉาวอย่างไร "อย่างเวลาไปงาน เรารู้แค่ชื่องาน
แต่ไม่รู้ว่าใครมาบ้าง ถ้าเป็นยังงั้น เราก็ถามพี่นักข่าวบันเทิงด้วยกัน
ว่าคนนี้มีประเด็นอะไรที่น่าใจหรือบางทีเจอปัญหาดาราพูดเร็ว พูดไม่ชัด
เช่น ไม่กับใช่ เราแทบจะฟังไม่ออก ถ้าเราเขียนคำพูดของเขาผิดไป
มันตีคนละความหมาย มันอาจเกิดการฟ้องร้องได้ จึงต้องตั้งสติ
ตั้งใจฟังและหากไม่ชัดเจน เราอาจจะถามจากพี่นักข่าวที่สัมภาษณ์ด้วยกัน
หรือ ย้อนฟังจนกว่าจะมั่นใจ "
นี้คือวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของ(ว่าที่)นักข่าวมือใหม่อย่างปุ๋ย

ส่วนอีกหนึ่งปัญหาที่ตามมานั้น คงต้องยกให้เหล่าบรรดาแฟนคลับดารา
งานนี้ เพลง ไม่รอช้าขอชี้แจงทันทีว่า
ปัญหาใหญ่ๆอีกปัญหาหนึ่งที่แก้ยังไงก็ไม่หาย แต่สามารถทำได้
เพราะถ้าช้าอาจจะไม่ได้ทำข่าว "โดย เฉพาะดารา
นักร้องที่มาจากการประกวดจากเวทีต่างๆ แฟนคลับเยอะมาก
ทำให้เราเวลาเข้าสัมภาษณ์จะลำบาก บางที่ก็ต้องมุดเข้าไป
หรือไม่ก็ตามพี่นักข่าวจากสำนักพิมพ์อื่นๆ เข้าไป"

"เรา พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด
พี่นักข่าวที่นี้ และสำนักพิมพ์อื่น เขาไม่รังเกียจเด็กฝึกงาน
แถมยังให้คำแนะนำอีกว่า ทฤษฏีที่ได้จากตำราเรียน กับการทำงานจริง
มันแตกต่างกัน บางทีที่เราเรียนมาอาจไม่ได้เอามาใช้กับการทำงานจริงๆก็ได้"


"เพลง" ชนิการนต์ เกตุแก้ว จากมหาวิทยาลัยรังสิต
สาวน้อยทั้งสองคนสารภาพทิ้งท้ายว่า เมื่อก่อนเคยคิดว่า
การได้ทำงานใกล้ๆ กับบุคคลที่มีชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็นดารา นักร้อง
อาจจะประหม่ามีอาการตื่นเต้น ทำอะไรไม่ถูก แต่ในความเป็นจริงแล้ว
กลับไม่เป็นเช่นนั้น "มัน คนความรู้สึกกัน เมื่อก่อนเราอาจจะตื่นเต้น
ร้องกรี๊ดอยู่ในใจ แต่เมื่อมาฝึกงาน เราต้องทำหน้าที่นักข่าว
จึงรู้สึกเฉยๆ ด้วยเหตุที่ว่า เราสามารถเข้าถึงตัวเขาได้ง่าย
ไม่ต้องฝ่าฟันกับฝูงชนเหมือนเมื่อก่อน
และอีกอย่างเราทำงานจะมามัวบ้าดาราคงไม่ได้
อีกอย่างดาราก็เหมือนคนธรรมดาทั่วไป เขาทำงาน เราก็ทำงาน
พวกเราก็ต่างทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ขอแค่เราชอบ ทำอะไรมันก็สำเร็จ
แต่ถ้าเราไม่ชอบ พยายามแค่ไหน มันก็ได้แค่นั้น มันทำให้เรารู้ว่า
สังคมนักข่าว คือสังคมของการช่วยเหลือกัน"

เป็นยังไงกันบ้างกับเหล่านักศึกษาตัวน้อย
ที่เข้ามาฝึกหาประสบการณ์ กับเหล่า พี่ๆนักข่าวที่ ASTV
ผู้จัดการรายวัน-ออนไลน์ นอกจากเขาเหล่านี้แล้ว
ยังมีนักศึกษาจากโต๊ะข่าวต่างๆ อีกเยอะที่พกความมุ่งมั่น
และการใฝ่หาความรู้ เพื่อนำเอาไปใช้ในอนาคตข้างหน้า
บางคนอาจไม่ได้ทำงานในสายที่ตัวเองฝึก บางทำอาจได้ทำ
แต่สิ่งที่ทุกคนได้เหมือนกัน
คือประสบการณ์การทำงานที่เราไม่สามารถหาได้จากในห้องเรียน

รายงานโดย: ฐิตะวัน นาสมพืช นักศึกษาฝึกงาน จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9530000046076

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น