++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ - วรรณคดีไทยสมัยสุโขทัย



        ประวัติ - สันนิษฐานว่าจารึก ๒ ครั้ง ครั้งแรก จารึกตามพระบรมราชโองการของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ครั้งที่สองคงจารึกภายหลังรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง เพราะเป็นข้อความพระบารมีของพ่อขุนรามคำแหง และใช้ตัวอักษรผิดกับครั้งแรกมาก
            เจ้าฟ้าชายมงกถฏ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ขณะผนวชอยู่วัดราชาธิวาส ทรงนำศิลาจารึกหลักที่ ๑ จากบริเวณพระราชวังเก่ากรุงสุโขทัยลงมากรุงเทพฯ พร้อมกับ พระแท่นมนังคศิลา เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๗ เวลานี้ศิลาจารึกหลักที่ ๑ อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
                ทำนองแต่ง - แต่งเป็นร้อยแก้ว แต่บางตอนมีสัมผัส
            ข้อคิดเห็น - ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีค่าทางอักษรศาสตร์เป็นอันมาก ทำให้ทราบลักษณะภาษาไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า ส่วนมากเป็นคำไทยแท้ มีคำภาษาอื่นปะปนอยู่บ้าง นิยมใช้คำคล้องจองกัน บางตอนใช้คำซ้ำกัน ส่วนใหญ่เป็นคำสำนวนสั้นๆหมดจด ไม่นิยมใช้คำเชื่อมคำต่อ นอกจากนี้ศิลาจารึกนี้ให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์และขนบประเพณี เช่น กล่าวถึงพระราชประวัติและพระราชจริยวัตร ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  สภาพความเป็นอยู่ นิสัยใจคอและการทำมาหาเลี้ยงชีพของประชาชน การปกครอง การนับถือศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย ความอุดมสมบูรณ์และอาณาเขตของบ้านเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น