++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

"คำว่าวิปัสสนา หมายถึง การรู้แจ้ง รู้จริง ไม่ใช่รู้จำ รู้จัก




พอเพียง มาก

“คำว่าวิปัสสนา หมายถึง การรู้แจ้ง รู้จริง ไม่ใช่รู้จำ รู้จัก

คือ ...มันรู้มาจากจิตสำนึกจริงๆ วิปัสสนาเป็นเพียงชื่อเท่านั้นเอง

แต่ตัวจริงของวิปัสสนานั้น ตามตัวหนังสือแปลว่า

รู้แจ้ง รู้จริง รู้แล้วต่างจากเก่า ล่วงภาวะเดิม ว่าอย่างนั้น

หากรู้แจ้ง รู้จริง เราจะไปเสียเคราะห์ ดูฤกษ์งามยามดี

ไปไหว้ผี ไหว้เทวดากันทำไม

ถ้ารู้แจ้ง รู้จริงแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวฤกษ์งามยามดี

เพราะว่ามันทำอะไรเราไม่ได้

จึงไปตรงกับคำที่พ่อแม่สอนเราไว้ว่า “ให้ทำดี”

ไม่ใช่ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

แต่ทำดีมันดี ไม่ใช่ได้ดี ทำชั่วมันชั่ว

คนใจดีจึงทำดีได้

คนใจชั่วแล้วจะทำดีไม่ได้ ทำดีได้ก็เพราะอด (ทน) เอาเท่านั้นเอง

วิปัสสนา เห็นธรรม เห็นอะไร

วิปัสสนา คือ การเห็นแจ้ง รู้จริง เห็นอะไร ก็เห็นตัวเองนี่เอง

ที่กำลังนั่งพูดอยู่ พูดอยู่ในขณะนี้ เห็นจิตใจ มันนึกคิดอยู่เดี๋ยวนี้

อันนี้แหละเป็นวิปัสสนาจริงๆ รู้จริง รู้เข้ามาที่ตรงนี้

จึงสมกับที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระวักกลิว่า

“ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นไม่เห็นเรา

แม้จับชายจีวรหรือจับนิ้วมือเราอยู่ ก็ไม่ชื่อว่าเห็นเราตถาคต

เพราะไม่เห็นธรรม”

ธรรมะคือ คน คนทุกคนนี่แหละเป็นธรรมะ

ทำนา ทำสวน ทำการซื้อขาย ก็เป็นเรื่องของคนทำ

อันนี้แหละเป็นศีลเป็นธรรม”

หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

วัดสนามใน จังหวัดนนทบุรี
++++++++++++++++++++//////////////
อานิสงส์การสวดมหาปัฏฐาน 3

(ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://board.palungjit.)
คัมภีร์มหาปัฏฐาน ชั้นมหาอภิธรรมิกเอก

***********
รวบรวม โดย พระอาจารย์ สุรชัย ปณฺฑิตธมฺโม
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงณราชวิทยาลัย
****************************
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
--------------------------------------------------------

๑. ปจฺจยุทฺเทส
เหตุปจฺจโย... อารมฺมณปจฺจโย... อธิปติปจฺจโย... อนนฺตรปจฺจโย
สมนนฺตรปจฺจโย... สหชาตปจฺจโย... อญฺญมญฺญปจฺจโย... นิสฺสยปจฺจโย
อุปนิสฺสยปจฺจโย... ปุเรชาตปจฺจโย... ปจฺฉาชาตปจฺจโย... อาเสวนปจฺจโย
กมฺมปจฺจโย... วิปากปจฺจโย... อาหารปจฺจโย... อินฺทฺริยปจฺจโย
ฌานปจฺจโย... มคฺคปจฺจโย... สมฺปยุตฺตปจฺจโย... วิปฺปยุตฺตปจฺจโย
อตฺถิปจฺจโย... นตฺถิปจฺจโย... วิคตปจฺจโย... อวิคตปจฺจโย ติ.
ปจฺจยุทฺเทโส... นิฏฐิโยติ

พระบาลีและคำแปล

เหตุปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นเหตุ
อารมฺมณปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นอารมณ์
อธิปติปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นอธิบดี
อนนฺตรปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น
สมนนฺตรปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่นที่เดียว
สหชาตปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเกิดพร้อมกัน
อญฺญมญฺญปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความแก่กันและกัน
นิสฺสยปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นที่อาศัย
อุปนิสฺสยปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นที่อาศัยที่มีกำลังมาก
ปุเรชาตปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเกิดก่อน
ปจฺฉาชาตปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเกิดทีหลัง
อาเสวนปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเสพบ่อยๆ
กมฺมปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความปรุงแต่งเพื่อให้กิจต่างๆสำเร็จลง
วิปากปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นวิบาก คือเข้าถึงความสุกและหมดกำลังลง
อาหารปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นผู้นำ
อินฺทฺริยปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นผู้ปกครอง
ฌานปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นผู้เพ่งอารมณ์
มคฺคปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นหนทาง
สมฺปยุตฺตปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นผู้ประกอบ
วิปฺปยุตฺตปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นผู้ไม่ประกอบ
อตฺถิปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นผู้ยังมีอยู่
นตฺถิปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นผู้ไม่มี
วิคตปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็นผู้ปราศจากไป
อวิคตปจฺจโย ธรรมที่ช่วยอุปการะ โดยความเป็น ผู้ยังไม่ปราศจากไป


 มหาปัฏฐาน เป็นคำภีร์ที่ยิ่งใหญ่ หรือประเสริฐยิ่ง เพราะเนื้อความมหาปัฏฐานนี้ ท่านแสดงถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นของสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในสากลโลก มหาปัฏฐาน จึงเป็นคัมภีร์ที่มีความสลับซับซ้อนสุขุมลุ่มลึก เพราะเต็มไปด้วยเหตุผล จึงเป็นของยากที่วิสัยของสามัญชนจะหยั่งรู้ให้แจ่มแจ้ง  ดังท่านอุปมาความกว้างขวางลึกซึ้งคำภีร์นี้ว่า เปรียบประดุจแม่น้ำมหาสาคร ๔ ประการ
๑. สังสารสาคร หมายความว่า ในมหาปัฏฐานนี้มีเนื้อความวนเวียนกว้างขวางที่สุด เหมือนความวนเวียนท่องเที่ยวไปของขันธ์ อายตนะ ธาตุ ไม่มีสิ้นสุดเพราะกำหนดเบื้องต้นและที่สุดมิได้
๒. นัยสาคร มีนัยมากมายพิสดารกว้างขวางที่สุด เพราะแจกธรรมเป็นอนันตนัยนับไม่ถ้วน  ด้วยพระสัญญุตญาณ
๓. ชลสาคร มีความสุขุมลุ่มลึกที่สุดเหมือนน้ำที่ไหลอยู่ในมหาสมุทร ใครๆไม่อาจวัดตวงได้ฉันนั้น
๔. ญาณสาคร เป็นเหตุให้บังเกิดความรู้กว้างขวางที่สุด เหมาะสมแก่พระสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้เหตุผลของธรรมทั้งปวงอย่างละเอียดลึกซึ้งกว้างขวางที่สุด ที่เปรียบเหมือนปลาใหญ่มีตัวยาว ๑.๐๐๐ โยชน์ท่องเที่ยวอยู่ในมหาสมุทรลึก ๘๔.๐๐๐  โยชน์ได้โดยสะดวก
เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาคัมภีร์นี้ได้เกิด ปิติร่าเริงในธรรมยิ่งกว่าคัมภีร์อื่นๆทั้งหมด เพราะพระองค์สามารถพิจารณาธรรมได้อย่างลึกซึ้งกว้างขวางที่สุด เหมาะสมแก่สัพพัญญุตญาณ เป็นเหตุให้เกิดฉัพพรรณรังสี ๖ ประการ มีสีเขียว ขาว แดง เหลือง ม่วง และสีเลื่อมพราย ซ่านออกจากพระวรกายของพระองค์  แผ่ไปถึงอัชฎากาศหาประมาณที่สุดมิได้

ลองพิจารณาดูว่าบุคคลที่ได้สาธยายมนต์บทนี้จะมีอานิสงส์มากมายขนาดไหน คนที่จะเข้าใจในบทสวดนี้ถ้าเรียนพระอภิธรรมเบื้องต้นมาก็พอจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น
                                   ..............................................................................

(ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://art-culture.cmu.ac.th)

สัททาวิมาลาปเภทา (สททาวิมาลาบเภทา) ว่าด้วยเรื่องคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่

มีลักษณะเป็นเรื่องเบ็ดเตล็ดหรือปกิณกะ มีลักษณะการแต่งเป็นร้อยแก้ว เนื้อเรื่องเริ่มด้วยบท

ปณามคาถา สรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า ๑๐๘ แล้วจึงกล่าวถึงสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๔๐ ทัศ

คาถาพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ธรรมเนียมการสวดพระอภิธรรมงานศพ

มหาภูติ ๔ มหากัจจายนเถรเจ้า ตัวอักษรและเจตสิก ความเป็นมาของอักษร และ ๑๒ นักษัตรที่

กล่าวว่าปีเกิดของคน ๑๒ นักษัตรนั้นมีความเป็นมาอย่างไร คัมภีร์นี้นอกจะเป็นวรรณกรรมที่

รวมสาระเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ แล้ว ยังทำให้รู้ถึงธรรมเนียมประเพณีในการสวด

พระอภิธรรมว่า เมื่อตายวันอาทิตย์ให้สวดพระสังคิณี วันจันทร์ พระวิภังค์ วันอังคาร พระธาตุ

กถา วันพุธ พระปุคคลบัญญัติ วันพฤหัสบดี พระกถาวัตถุ วันศุกร์ พระยมก และตายวันเสาร์ให้

สวดพระมหาปัฏฐาน โดยเชื่อว่าจะช่วยให้ผู้ตายพ้นจากบาป และผู้ที่เข้าร่วมฟังการสวด

พระอภิธรรมนั้นจะได้อานิสงส์เป็นอันมาก  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น