1 มิถุนายน 2554
เรียน รองศาสตราจารย์ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ผมเป็นคนหนึ่งที่ติดตามผลงานของอาจารย์มาโดยตลอดด้วยความชื่นชม ผมดูรายการมองต่างมุมตั้งแต่สมัยผมเป็นนักเรียน ผมยอมรับว่าอาจารย์เป็นต้นแบบ ของผมคนหนึ่งที่ทำให้ผมอยากเป็นนักเศรษฐศาสตร์ อยากเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และอยากทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับปากท้องของชาวบ้านคนไทย ผมชื่นชมที่อาจารย์ออกหนังสือรู้ทันทักษิณ และร่วมต่อสู้เพื่อต่อต้านทรราช ถึงทุกวันนี้ผลก็ยังติดตามรายการโทรทัศน์และวิทยุของอาจารย์อย่างต่อเนื่อง แต่ระยะหลังโดยเฉพาะวันนี้ผมรู้สึกผิดหวังในการทำงานของอาจารย์ในฐานะสื่อเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าก่อนนี้จะเคยรู้สึกรำคาญผู้จัดรายการร่วมของอาจารย์บางท่าน เช่นในรายการมุมมองของเจิมศักดิ์ ที่คุณจิตรกรเน้นเพียงชงเรื่อง และเออออห่อหมกไปกับอาจารย์ในทุกประเด็น จนทำให้เสน่ห์ของอาจารย์ในรายการเช่น มองต่างมุม หรือ เหรียญสองด้านหายไป แต่นั่นแหล่ะ เมื่อชื่อรายการชื่อ “มุมมองของเจิมศักดิ์” ผมก็เข้าใจรูปแบบของรายการและยอมรับได้
แต่ประเด็นที่ผมรู้สึกผิดหวังกับการทำงานของอาจารย์ในฐานะสื่อสารมวลชนในวันนี้คือ ประเด็นเรื่อง “Vote NO” ที่ทุกวันนี้อาจารย์กำลังเล่นเป็นประเด็นหลัก โดยการนำบทความจากสื่อต่างๆ โดยเฉพาะจากหนังสือพิมพ์แนวหน้าซึ่งอาจารย์ก็ทราบดีว่าจุดยืนของฉบับนี้เข้าข้างพรรคการเมืองใด และการแสดงทัศนคติของอาจารย์ในทำนองที่ว่า เมื่อมีคนเลว กับคนเลวกว่า ทางเลือกที่ดีที่สุดคือเลือกคนที่เลวน้อยที่สุด เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ ดังนั้น Vote No จึงดูจะเป็นทางเลือกซึ่งใช้ไม่ได้ และเมื่อร่วมกับผู้จัดรายการคู่กับอาจารย์แสดงความคิดเห็น Vote No จึงกลายเป็นแนวคิดที่ดูจะโง่เขลาเบาปัญญาอย่างยิ่ง ผมเข้าใจดีว่านี่คือกระบวนทรรศน์แบบเศรษฐศาสตร์ Classical แต่สำหรับอาจารย์ซึ่งมีความสนใจในเรื่องของพุทธศาสนา และได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับพระอาจารย์ที่เป็นอริยสงฆ์มาแล้วเป็นจำนวนมาก ทำไมอาจารย์ไม่พิจารณาตามหลักการของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธบ้างครับ
อุปมาการทำหน้าที่สื่อของอาจารย์ ณ ขณะนี้เหมือน ถ้ามีเหล้าอยู่ 2 ขวด ขวดหนึ่งเป็นเหล้าเถื่อน ชาวบ้านแอบต้มกันเอง ไม่แน่ใจว่าจะอันตรายจากแอลกอฮอล์ที่ไม่สามารถรับประทานได้หรือไม่ กับอีกขวดหนึ่งเป็นเหล้าวิสกี้ชั้นดี นำเข้าจากต่างประเทศ ราคาขวดละหลายพันบาท สิ่งที่อาจารย์กำลังพยายามบอกกับทุกคนตอนนี้คือ กินเหล้าวิสกี้จากต่างประเทศเถอะ
ทำไมอาจารย์ไม่ใช้รายการของอาจารย์ซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดของนิสิต นักศึกษาและปัญญาชนของประเทศนี้ แสดงให้พวกเขาเห็นล่ะครับว่า จะเหล้าขวดไหนมันก็ผิดศีลเหมือนกัน มันเป็นอบายมุขเหมือนกัน เป็นสิ่งเสพติดเหมือนกัน และดื่มเข้าไปก็เป็นผลเสียต่อสุขภาพร่างกายเหมือนกัน ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดคือ ไม่ควรดื่ม หรือไม่เลือกที่จะดื่ม
เรื่องพรรคการเมืองก็เช่นเดียวกัน ถ้าประชาชนบางกลุ่ม บางคนเชื่อว่าพรรคการเมืองที่เป็นตัวเลือกในขณะนี้มันไม่มีพรรคไหนที่ดี ถ้าพรรคไหนเข้ามาเป็นรัฐบาลก็จะเกิดผลเสียต่อประเทศเช่นเดียวกัน การรณรงค์ให้ไม่เลือกใคร แต่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือการ Vote No ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขามิใช่หรือ?
อาจารย์กำลังวิตกกังวลเรื่อง ล้มหล่อเพื่อช่วยเหลี่ยม มากเกินไปหรือไม่ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ การ Vote No ซึ่งเป็นการไม่เลือกทั้งหล่อ และทั้งเหลี่ยมนั้น โดยทางอ้อมอาจจะทำให้คะแนนของหล่อหายไป แต่คะแนนของเหลี่ยมยังอยู่ครบ แต่มันก็ได้เป็นการแสดงให้คนทั้งโลกได้เห็น ทำให้ประวัติศาสตร์ต้องบันทึก และเป็นจุดเปลี่ยนทางสังคมมิใช่หรือว่าประชาชนชาวไทยกลุ่มหนึ่งเริ่มตื่นตัวทางการเมือง เริ่มคิดเป็นว่าถ้าตัวเลือกไม่ดี คนไทยก็มีสิทธิที่จะไม่เลือก ถ้าคนที่เสนอตัวเข้ามาให้เลือกไม่มีคุณธรรม ก็อย่าไปเลือก อย่างน้อยที่สุดระบบคุณธรรม จิตสำนึกที่ดีทางการเมืองในระบบประชาธิปไตยก็เกิดขึ้น
หน้าที่ของสื่อมวลชน ซึ่งอาจารย์ก็เป็นหนึ่งในนั้น คือการต้องเอาความจริงมาเผยแพร่ ทำไมอาจารย์ไม่ใช้โอกาสนี้นำเสนอให้ประชาชนได้รู้ทัน ทั้ง “รู้ทันหล่อ” และ “รู้ทันเหลี่ยม” ล่ะครับ นายกรัฐมนตรีบางคนหน้าตาดี ภาพพจน์ดี การศึกษาดี เป็นคนดี แต่กำลังพายเรือให้โจรนั่ง ในขณะที่อีกตัวเลือกก็เป็นร่างทรงของอดีตนายกฯ ที่อาจารย์ได้ทำการรู้ทันไปแล้ว ผมเชื่อว่าอาจารย์เองก็มีประเด็นในเรื่องเหล่านี้มาตีแผ่ นำประเด็นเหล่านี้มาเปรียบเทียบ มาวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่สิ่งที่ผมเห็นและได้ยินจากรายการของอาจารย์ไม่ได้เป็นอย่างนั้นครับ
ผมเห็นอาจารย์น้ำตาซึมในรายการเมื่อมีภาพข่าวขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างไรก็ตาม อาจารย์อย่าลืมพระบรมราโชวาทของในหลวงที่ว่า “ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
ในทัศนคติหรือในมุมมองของผม VOTE NO คือการทำหน้าที่นี้ครับ!
จึงเรียนมาเพื่อทราบ และโปรดพิจารณาปรับปรุงแนวทางการจัดรายการของอาจารย์ให้เป็นแบบที่น่าศรัทธา น่าเชื่อถือ และเป็นพุทธะแบบ อาจารย์คนเดิมที่เป็นบุคคลตัวอย่างของผมด้วยครับ
ด้วยความเคารพ
อาจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรียน ดร. ปิติ ศรีแสงนาม
ตอบลบตอบผมทีว่า ต้องการอะไรกัน แล้วสุดท้ายเมื่อ เลือก vote no แล้ว ประเทศชาติจะเป็นอย่างไร และมีจุดมุ่งหมายอะไร นอกจาก " เป็นการแสดงให้คนทั้งโลกได้เห็น ทำให้ประวัติศาสตร์ต้องบันทึก และเป็นจุดเปลี่ยนทางสังคม" แล้ว ประเทศจะเป็นอย่างไร ต่อไป ช่วยบอกคนที่จะกา vote no เขาด้วย แล้ว ท่านจะให้โลกทั้งโลกเห็น หรือประวัติศาตร์ บันทึก ไปทำไมหรือครับ เมือทั้งโลกได้เห็นสมใจท่านแล้วผลที่ตามมาคือ
1. ถ้า คนไทย 80 % ของผู้มีสิทธิ ออกไปเลือก vote no กัน ก็ไม่สามารถรับรองผลการเลือกตั้งได้ ประเทศชาติก็จะอยู่ในภาวะสูญญากาศ ผู้คนสับสนวุ่นวาย และอาจมี การปฎิวัติตามมา ถ้าไม่สามารถจัดการเลือกตั้งขึ้นอีกครั้งได้ ถึงต้องนี้ก็เป็น "รัฐที่ล้มเหลว" 3 สถาบัน ก็จะถูกล้มกระดาน แล้วก็จะมีคนๆหนึ่งได้รับอภัยโทษ กลับเข้ามา มีอำนาจ ในไทยได้อีกครั้ง
2. ถ้าคนไทย 10 - 20 % กา vote no ก็รับรองผลการเลือกตั้งได้ โดย กลุ่มที่เลือก vote no เป็นการ "ตัดแต้ม" พรรค ปชป ส่วนเพื่อไทยคะแนนไม่หายไป (เรื่องนี้ ต้องชี็แจงยาว เพราะกลุ่ม 40-50 % ที่ยังไม่ตัดสินใจ ไม่ใช่เสื้อแดง หากท่านไม่เห็นด้วยจะขอชี้แจงภายหล้ง)
ไม่ว่าผลจะเป็น 1 หรือ 2 vote no ก็เป็นผลดีต่อคนๆหนึ่ง .......... อย่าให้ผมพูดเลย
ในสังคมประเทศประชาธิปไตยที่เจริญแล้ว เขาจะพยายามให้ประชาชนเลือกข้าง (แม้ว่าจะไม่อยากเลือกใครก็ตาม) การ Vote no ในต่างประเทศ เขาไม่ได้ Vote no เพราะนักการเมืองเลวทุกพรรค แล้วไม่รู้จะเลือกใครดี แต่ เขา Vote no กัน ในความหมายอื่น อย่างเช่น การ VOTE ‘NO’ ในประเทศอังกฤษ ประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นประเทศต้นแบบประชาธิปไตย กระแส VOTE NO ก็มาแรงเหมือนกัน ไม่แพ้ประเทศไทย VOTE NO ใช้กันแพร่หลาย เป็นประชาธิปไตย และมีความเป็นสากล การโหวตโนของไทยและอังกฤษแตกต่างกันด้วยความหมายและสภาวะการณ์ การ Vote No ของไทยคือการปฏิเสธที่จะเลือกนักการเมืองที่ฉ้อฉล ส่วน Vote No ของอังกฤษ คือการปฏิเสธระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ โดยการรณรงค์ VOTE NO ของอังกฤษนั้น เป็นการรณรงค์ เพื่อที่จะต่อต้านการลงคะแนนเสียงแบบใหม่ ของอังกฤษ ซึ่งเป็น โหวตโน ที่ No to AV หมายถึง ปฏิเสธการเลือกตั้งแบบทางเลือกที่เรียกว่า Alternative Vote หรือ AV ซึ่งเป็นระบบเลือกตั้งที่ซับซ้อน เป็นการสกัดกั้นผู้สมัครที่ไม่เป็นที่รู้จัก และสร้างความลำบากให้กับพรรคเล็ก
ผมจึงหวังว่า ท่านจะสนับสนุนให้ การเมืองของไทย ดำเนินไปในทิศทางที่ ควรจะเป็น
ด้วยความเคารพ
เขย จุฬาฯ
จากคุณ : เขย จุฬาฯ (ชยพ)
เขียนเมื่อ : 14 มิ.ย. 54 21:16:37
เรียน ดร. ปิติ ศรีแสงนาม
ตอบลบตอบผมทีว่า ต้องการอะไรกัน แล้วสุดท้ายเมื่อ เลือก vote no แล้ว ประเทศชาติจะเป็นอย่างไร และมีจุดมุ่งหมายอะไร นอกจาก " เป็นการแสดงให้คนทั้งโลกได้เห็น ทำให้ประวัติศาสตร์ต้องบันทึก และเป็นจุดเปลี่ยนทางสังคม" แล้ว ประเทศจะเป็นอย่างไร ต่อไป ช่วยบอกคนที่จะกา vote no เขาด้วย แล้ว ท่านจะให้โลกทั้งโลกเห็น หรือประวัติศาตร์ บันทึก ไปทำไมหรือครับ เมือทั้งโลกได้เห็นสมใจท่านแล้วผลที่ตามมาคือ
1. ถ้า คนไทย 80 % ของผู้มีสิทธิ ออกไปเลือก vote no กัน ก็ไม่สามารถรับรองผลการเลือกตั้งได้ ประเทศชาติก็จะอยู่ในภาวะสูญญากาศ ผู้คนสับสนวุ่นวาย และอาจมี การปฎิวัติตามมา ถ้าไม่สามารถจัดการเลือกตั้งขึ้นอีกครั้งได้ ถึงต้องนี้ก็เป็น "รัฐที่ล้มเหลว" 3 สถาบัน ก็จะถูกล้มกระดาน แล้วก็จะมีคนๆหนึ่งได้รับอภัยโทษ กลับเข้ามา มีอำนาจ ในไทยได้อีกครั้ง
2. ถ้าคนไทย 10 - 20 % กา vote no ก็รับรองผลการเลือกตั้งได้ โดย กลุ่มที่เลือก vote no เป็นการ "ตัดแต้ม" พรรค ปชป ส่วนเพื่อไทยคะแนนไม่หายไป (เรื่องนี้ ต้องชี็แจงยาว เพราะกลุ่ม 40-50 % ที่ยังไม่ตัดสินใจ ไม่ใช่เสื้อแดง หากท่านไม่เห็นด้วยจะขอชี้แจงภายหล้ง)
ไม่ว่าผลจะเป็น 1 หรือ 2 vote no ก็เป็นผลดีต่อคนๆหนึ่ง .......... อย่าให้ผมพูดเลย
ในสังคมประเทศประชาธิปไตยที่เจริญแล้ว เขาจะพยายามให้ประชาชนเลือกข้าง (แม้ว่าจะไม่อยากเลือกใครก็ตาม) การ Vote no ในต่างประเทศ เขาไม่ได้ Vote no เพราะนักการเมืองเลวทุกพรรค แล้วไม่รู้จะเลือกใครดี แต่ เขา Vote no กัน ในความหมายอื่น อย่างเช่น การ VOTE ‘NO’ ในประเทศอังกฤษ ประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นประเทศต้นแบบประชาธิปไตย กระแส VOTE NO ก็มาแรงเหมือนกัน ไม่แพ้ประเทศไทย VOTE NO ใช้กันแพร่หลาย เป็นประชาธิปไตย และมีความเป็นสากล การโหวตโนของไทยและอังกฤษแตกต่างกันด้วยความหมายและสภาวะการณ์ การ Vote No ของไทยคือการปฏิเสธที่จะเลือกนักการเมืองที่ฉ้อฉล ส่วน Vote No ของอังกฤษ คือการปฏิเสธระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ โดยการรณรงค์ VOTE NO ของอังกฤษนั้น เป็นการรณรงค์ เพื่อที่จะต่อต้านการลงคะแนนเสียงแบบใหม่ ของอังกฤษ ซึ่งเป็น โหวตโน ที่ No to AV หมายถึง ปฏิเสธการเลือกตั้งแบบทางเลือกที่เรียกว่า Alternative Vote หรือ AV ซึ่งเป็นระบบเลือกตั้งที่ซับซ้อน เป็นการสกัดกั้นผู้สมัครที่ไม่เป็นที่รู้จัก และสร้างความลำบากให้กับพรรคเล็ก
ผมจึงหวังว่า ท่านจะสนับสนุนให้ การเมืองของไทย ดำเนินไปในทิศทางที่ ควรจะเป็น
ด้วยความเคารพ
เขย จุฬาฯ