++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ท้าวแสนปม มิได้เป็นโรคท้าวแสนปม... @ โรคท้าวแสนปมเป็นโรคพันธุกรรม

ท้าวแสนปม มิได้เป็นโรคท้าวแสนปม...
@ โรคท้าวแสนปมเป็นโรคพันธุกรรม
โรคท้าวแสนปม หรือ Neurofibromatosis นี้ เป็นโรคที่รู้จักกันมานานนัก 150 ปีแล้ว แบ่งเป็น 2 ชนิด
ชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่พบบ่อย พบประมาณ 1 ใน 2,500 ถึง 3,500 คน สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ โดยพบอาการอย่างน้อย 2 ใน 7 อาการต่อไปนี้คือ
1 ปานสีกาแฟใส่นมอย่างน้อย 6 ตำแหน่ง,
2 พบก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง 2 ตุ่มขึ้นไป,
3 พบกระที่บริเวณรักแร้ หรือขาหนีบ,
4 พบเนื้องอกของเส้นประสาทตา,
5 พบเนื้องอกของม่านตา 2 แห่งขึ้นไป,
6 พบความผิดปกติของกระดูก
7 มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
ที่สถาบันโรคผิวหนังมีผู้ป่วยใหม่ชนิดนี้เฉลี่ย 10-15 รายต่อปี ประมาณว่าทั้งประเทศมีผู้ป่วยราว 20,000คน
ชนิดที่ 2 พบได้น้อยคือ พบราว 1 ใน 50,000 ถึง 120,000 คน ชนิดนี้จะไม่มีอาการทางผิวหนัง วินิจฉัยโรคได้ โดยพบเนื้องอก ของหูชั้นใน และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
- โรคทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นโรคทางพันธุกรรม ถ่ายทอดโดยโครโมโซมคู่ 22 ถ่ายทอด แบบลักษณะเด่น ท้าวแสนปม ซึ่งน่าจะหมายถึงชนิดแรก อาจพบตุ่มเนื้องอกได้ถึง 9 พันตุ่ม ผู้ป่วยร้อยละ 5 อาจพบมะเร็งของตุ่มที่ผิวหนัง หรือมะเร็งเม็ดเลือด
@ ท้าวแสนปมเองไม่ได้เป็นโรคท้าวแสนปม
ตำนานของนครไตรตรึงษ์ อีกเรื่องหนึ่ง เล่าว่า เจ้านครองค์นี้มีพระธิดา นามว่า อุษา มีรูปโฉมงดงามร่ำลือไปถึงเมืองศิริไชยเชียงแสน เจ้าชายชินเสนจึงปลอมตนเป็นชายอัปลักษณ์ เนื้อตัวมีปุ่มปมขึ้นเต็มไปหมด แล้วเข้าไปขออาศัยอยู่กับตายายที่เฝ้าอุทยานท้ายวังนครไตรตรึงษ์ได้ชื่อเรียกว่า "แสนปม"
วันหนึ่งนางอุษาออกมาชมสวน แสนปมแอบมาดูนางแล้วเกิดความรักจึงนำผักที่ปลูกไว้ไปถวาย เมื่อนางอุษาเห็นแสนปมก็นึกรักเช่นเดียวกัน จึงให้พี่เลี้ยงนำหมากไปให้เป็นของตอบแทน แสนปมได้สลักมะเขือเป็นสารเกี้ยวพาราสีนางแล้วส่งไปถวายอีก นางอุษาก็ตอบสารในทีรับรักใส่ในห่อหมากแล้วฝากมาให้แก่แสนปม แสนปมจึงทราบว่านางก็รักตนเช่นเดียวกัน คืนหนึ่งแสนปมลอบเข้าไปหานางในวัง แล้วทั้งสองก็ได้อยู่ร่วมกันโดยไม่มีใครทราบเรืองจนกระทั่งนางอุษาตั้งครรภ์
ต่อมาแสนปมได้ทราบข่าวว่าพระเจ้าศิริชยเชียงแสนประชวรหนัก จึงเดินทางกลับบ้านเมืองโดยไม่ทราบว่านางอุษาตั้งครรภ์ เวลาผ่านไปนางอุษาให้กำเนิดกุมารหน้าตาน่ารัก ยังความทุกข์ใจมาให้แก่เจ้านครไตรตรึงษ์ยิ่งนัก เพราะนางอุษาไม่ยอมบอกความจริง เจ้านครไตรตรึงษ์จึงหาวิธีที่จะให้รู้แน่ว่าใครเป็นบิดาของกุมาร จึงป่าวประกาศให้เจ้าเมืองต่างๆ รวมทั้งทวยราษฎร์มาพร้อมกันที่หน้าพระลานพร้อมทั้งให้นำขนมนมเนยติดมือมาด้วย ถ้ากุมารรับขนมจากมือผู้ใดก็ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นบิดาของกุมารและจะได้อภิเษกกับนางอุษา
พระชินเสนได้ข่าวก็เตรียมรี้พลมา ตั้งพระทัยจะอภิเษกกับนางอุษาให้ได้ แล้วปลอมตัวเป็นแสนปมพร้อมทั้งนำข้าวเย็นมาก้อนหนึ่งเพื่อให้กุมารเลือก ครั้นถึงเวลาที่กำหนดจึงให้กุมารเลือกขนมจากบรรดาผู้ที่นำมา ปรากฎว่ากุมารรับข้าวเย็นจากแสนปมไปเคี้ยวกินอย่างเอร็ดอร่อย ท้าวไตรตรึงษ์รู้สึกอับอายอย่างมากด้วยความโกรธจึงขับไล่นางอุษาออกจากเมืองโดยทันที แสนปมจึงแสดงตนให้รู้ว่าตนเองคือ พระชินเสน แล้วพานางอุษาและกุมารเดินทางกลับอาณาจักรศิริไชยเชียงแสนและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ขอบคุณข้อมูลจาก พ.ญ.ปรียา กุลละวณิชย์ น.พ.ประวิตร พิศาลบุตร และ http://acttifact.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น