++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

“Spirit Can Drive” ศูนย์ฝึกสอนเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ" ม.รังสิต




    “มันไม่ได้สำาคัญหรอก กับผลแพ้-ชนะ แชมป์น่ะได้มาก็ดีแต่…เราคืนอะไรกลับไปให้สังคมบ้างล่ะ”คำพูดที่แฝงมากับประโยคที่เป็นมากกว่าคำถามของ “ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์” อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ในปี พ.ศ.2548 เปรียบเสมือนวลีที่จุดประกายให้กับกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่มีใจรักในกีฬาเชียร์ลีดดิ้งได้จัดตั้งศูนย์ฝึกสอนเชียร์ลีดดิ้งขึ้นเพื่อแบ่งปันความรู้ถ่ายทอดเทคนิคแชร์ประสบการณ์ตลอดระยะเวลา16 ปี ความรู้สึกในฐานะนักกีฬาที่ครั้งหนึ่งได้สัมผัสตำแหน่งแชมป์โลก และเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนกีฬาเชียร์ลีดดิ้งให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นศูนย์ฝึกสอนที่มีความพร้อมในเรื่องการฝึกสอนนักกีฬาผู้ฝึกสอนและผู้ตัดสินที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศในโซนเอเชียแปซิฟิก


ศูนย์ฝึกสอนเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ ม.รังสิต

     


นายปภังกร พิชญะธนกร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ ฝ่ายกิจการนักศึกษา ม.รังสิต

       จุดเริ่มต้น “ศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ”
     
       นายปภังกร พิชญะธนกร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ ฝ่ายกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2548 หลังจากที่คว้าแชมป์โลกจากการแข่งขันเชียร์ลีดดิ้งชิงแชมป์โลกที่ประเทศอังกฤษ พอกลับมาเมืองไทยก็ได้รับการติดต่อจากประเทศมาเลเซียเชิญให้ไปสอนและเป็นวิทยากรในการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกีฬาเชียร์ลีดดิ้ง
     
       นอกจากนี้ยังมีประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศต่างๆ จากชมรมเชียร์ลีดดิ้งจึงได้พัฒนาจัดตั้งเป็นศูนย์ฝึกสอนเชียร์ลีดดิ้ง มหาวิทยาลัยรังสิตขึ้นมา โดยมีทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จมาทรงเปิดศูนย์ฝึกสอนเชียร์ลีดดิ้ง ร่วมกับศูนย์ RSU Friend’s Corner ด้วยพระองค์เองก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติในปัจจุบัน โดยจดทะเบียนขึ้นเป็นสหพันธ์กีฬาเชียร์ลีดดิ้งแห่งประเทศไทยสังกัดอยู่กับสหพันธ์กีฬาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ (International Federation of Cheerleading: IFC) ที่มีสมาชิกกว่า40 ประเทศทั่วโลก


ฝึกซ้อมนักกีฬา โค้ช และคณะกรรมการ

       “หลังจากคว้าแชมป์โลกก็เดินทางกลับประเทศไทยในตอนนั้นสมาชิกในทีมเตรียมแยกย้ายกลับไปทำางานในสายอาชีพของแต่ละคน ซึ่ง ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีฯ มองเห็นว่า พวกเราทำาได้ แต่คนอื่นทำไม่ได้แล้วทำาไมถึงจะเลิกทำาสิ่งเหล่านี้ไปท่านจึงให้โอกาสในการจัดตั้งศูนย์ฝึกสอนเชียร์ลีดดิ้งขึ้นมา เพื่อทำให้เกิดเป็นมาตรฐานในประเทศไทย ทำงานวิชาการด้านเชียร์ลีดดิ้ง ทำงานบริการวิชาการแก่สังคม สร้างหลักสูตรการฝึกสอนเชียร์ลีดดิ้งให้แก่นักกีฬา โค้ช รวมถึงกรรมการ เพื่อน้องๆ เยาวชนจะได้เล่นกีฬาเชียร์ลีดดิ้งอย่างถูกวิธี มีรูปแบบมาตรฐานและถูกต้องตามกฎกติกา แต่เราไม่ได้ทำแค่ในประเทศเพียงอย่างเดียว เรายังส่งต่อความรู้ให้กับต่างประเทศ โดยการออกไปสอนตามประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากวันแรกที่จัดตั้งศูนย์จนมาถึงวันนี้ประมาณ8 ปีแล้ว ซึ่งในเอเชียอาจจะเรียกได้ว่าเราเป็นศูนย์ฝึกสอนแห่งแรกที่เป็นส่วนกลางไม่ได้ฝึกสอนแค่ในประเทศ แต่ยังแบ่งปันให้แก่ต่างประเทศอีกด้วย"
     
       ปั้นน้องใหม่เชียร์ลีดดิ้ง สู่ประชาคมโลก
     
       สำหรับหน้าที่ของศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ นอกจากการฝึกสอน การอบรมให้ความรู้แก่นานาชาติ การพัฒนาหลักสูตรในการฝึกสอนแล้ว ยังมีหน้าที่ในการจัดการแข่งขันเชียร์ลีดดิ้ง ซึ่งมี 2 รายการได้แก่ รายการชิงแชมป์ประเทศไทย ที่มีตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงอุดมศึกษา และรายการเอเชียน-ไทยแลนด์ เชียร์ลีดดิ้งอินวิเทชั่นแนล ซึ่งเป็นการแข่งขันในระดับนานาชาติที่มีทีมชั้นนำจากต่างชาติเข้าร่วมการแข่งขัน สิ่งต่อมาคือ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาเยาวชนและการผลักดันกีฬาเชียร์ลีดดิ้งให้ก้าวสู่ความเป็นสากล
     
       " ศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติมีบุคลากรที่ผ่านการอบรมและได้รับการรับรองจากสหพันธ์กีฬาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ (IFC)ที่คอยทำาหน้าที่ในการอบรมให้ความรู้ ดูแลหลักสูตร และพัฒนาคู่มือการอบรมนักกีฬาผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับระดับโลก" ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ กล่าวเสริม


นายชานนท์ ประดิษฐ์ รองผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ ฝ่ายกิจการนักศึกษา ม.รังสิต

       “Spirit Can Drive” สโลแกนชาวเชียร์ลีดดิ้ง
     
       นายชานนท์ ประดิษฐ รองผู้อำานวยการศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ ฝ่ายกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า กีฬาเชียร์ลีดดิ้งเป็นกีฬาที่มีวัฒนธรรมของการสร้างสปิริต ความมีน้ำใจความสามัคคี การดูแลซึ่งกันและกัน ความไว้ใจต่อกัน ความมีระเบียบวินัย จึงได้สอดแทรกเรื่องราวของการแบ่งปันสิ่งดีๆ แบบนี้ลงไปในการแข่งขัน เพราะเยาวชนเหล่านี้เมื่อเติบโตไปจะได้นำสิ่งที่เรียนรู้จากกีฬาเชียร์ลีดดิ้งไปประยุกต์ใช้กับการใช้ชีวิตในสังคมต่อไปในอนาคต
     
       “จากประสบการณ์ที่คลุกคลีอยู่กับกีฬาเชียร์ลีดดิ้งเกือบ16ปีเต็ม ต้องยอมรับว่ากีฬาเชียร์ลีดดิ้งเป็นกีฬาที่ต้องเล่นเป็นกลุ่มหนึ่งทีมมีผู้เล่นจำานวนตั้งแต่ 2-16คน ซึ่งเด็กจะได้เรียนรู้เรื่องการทำางานเป็นทีมว่าต้องทำาอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จต้องมีความสามัคคีแบบไหน ต้องเสียสละตัวเองอย่างไร ต้องมีความเชื่อใจและไว้ใจต่อกัน นอกจากนี้กีฬาเชียร์ลีดดิ้งยังเต็มไปด้วยคำว่า สปิริต มีแต่คำว่าให้ ถึงแม้จะเป็นคู่แข่งในสนาม แต่พอออกนอกสนามแข่งก็มาเชียร์ให้กำาลังใจคู่แข่งอยู่ข้างๆ สนาม ผลแพ้ชนะก็แค่รางวัลเพราะสุดท้ายแล้วพอจบการแข่งขันทุกคนก็เป็นเพื่อนกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นวัฒนธรรมของเชียร์ลีดดิ้ง ดังสโลแกน Spirit Can Drive หรือพลังใจสามารถขับเคลื่อนได้ทุกสิ่ง หมายถึง การที่เรามีแรงใจ ได้รับแรงเชียร์และได้รับกำลังใจจากผู้อื่น ถือเป็นสิ่งขับเคลื่อนให้คนเราสามารถทำาได้ทุกสิ่ง”



     


อบรมและตัดสินนักกีฬาเชียร์ลีดดิ้ง ที่ประเทศมาเลเซีย

       ก้าวต่อไป “ศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ”
     
       นายปภังกร พิชญะธนกร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ทางศูนย์ฯพัฒนาเรื่องของมาตรฐานได้ดีในระดับสากลแล้ว เป้าหมายต่อไปคือขยายตัวไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม เพื่อแบ่งปันความรู้และ ผลักดันให้กีฬาเชียร์ลีดดิ้งเป็นที่รู้จัก และเกิดการสร้างทีมที่มากขึ้นในต่างประเทศ รวมถึงการเพิ่มจำานวนของทีมเชียร์ลีดดิ้งภายในประเทศไทย โดยการสร้างทีมในระดับยุวชนในรุ่นอนุบาลและประถมการกระจายศูนย์ฝึกสอนตามภูมิภาคต่างๆของประเทศเพื่อให้มีความพร้อมและกลายเป็นศูนย์กลางตามภูมิภาคนั้นๆ
     
       นายชานนท์ ประดิษฐ รองผู้อำานวยการศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ กล่าวเสริมว่า การที่เราเป็นนักกีฬาและผันตัวสู่การเป็นผู้ฝึกสอนประสบการณ์ที่สั่งสมมาทำาให้เราได้เรียนรู้ผิดถูกด้วยตัวเอง สิ่งต่างๆหล่านี้เราได้นำามาถ่ายทอดและจัดอบรมให้แก่เยาวชนที่สนใจกีฬาเชียร์ลีดดิ้งทั้งในและต่างประเทศรวมถึงสร้างเครือข่ายออกไปในประเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาเยาวชนในประเทศเหล่านั้นต่อไป
     
       “ตอนนี้เราเป็นศูนย์กลางในโซนเอเชียแปซิฟิก เราก็อยากจะพัฒนาในเรื่องของการฝึกซ้อม การพัฒนาอย่างมีระบบ เพื่อให้กลายเป็นศูนย์กลางในเอเชียหรือระดับโลก ไม่แน่วันหนึ่งคนทั่วโลกอาจจะต้องมาที่เมืองไทยเพื่อมาเรียนเชียร์ลีดดิ้งกับเราอย่างที่เกิดขึ้นกับกีฬามวยไทย และหน้าที่สำาคัญในการผลักดันให้กีฬาเชียร์ลีดดิ้งเข้าไปอยู่ในกีฬาซีเกมส์ หรือกีฬาโอลิมปิกเกมส์ต่อไปในอนาคต ท้ายที่สุดต้องขอขอบคุณท่านอธิการบดี ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ที่เปิดโอกาสให้พวกเราได้ทำาในสิ่งที่รัก ขอบคุณผู้ใหญ่ทุกท่านและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนที่อยู่เคียงข้างให้การสนับสนุนและเป็นกำาลังใจอยู่เสมอ”
     


ผลผลิตจากศูนย์ฝึกสอนเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ

       นายปภังกร กล่าวเสริม ไม่ว่าสุดท้ายแล้วเป้าหมายจะอยู่ไกลเพียงใด แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาศูนย์พัฒนาเชียร์ลีดดิ้งนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิตได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความตั้งใจจริงที่จะพัฒนาและผลักดันกีฬาเชียร์ลีดดิ้งเพื่อเยาวชนอย่างแท้จริง“มากกว่าการแข่งขัน คือ การแบ่งปัน”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น