๑. กวางสี่ตัว หมายถึง มหาสติปฏฐาน ๔, สติปัฏฐาน ๔ ได้แก่
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติตามกำหนดรู้กายในกาย
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติตามกำหนดรู้เวทนาในเวทนา
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติตามกำหนดรู้จิตในจิต
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การม ีสติตามกำหนดรู้ธรรมในสภาวธรรม
๒. กวางมีหัวเดียว หมายถึง ทางเดียว
เป็นทางเดียวที่บุคคลผู้ละการเกี่ยวข้องกับหมู่คณะ ไปประพฤติธรรมอยู่ผู้เดียว เป็นทางเดียวที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำให้เกิดขึ้น เป็นทางของบุคคลผู้เดียว คือพระผู้มีพระภาค เพราะทรงกระทำให้เกิดขึ้น เป็นทางปฏิบัติในศาสนาเดียว คือพระพุทธศาสนา
๓. ธรรมจักร หมายถึง อริยสัจจ์ ๔ ได้แก่
ทุกข์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ และการมีอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕
สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ (ตัณหา ๓ - กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภวตัณหา)
นิโรธ ความดับทุกข์
มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มีองค์ ๘ ประการ ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
สัมมาวาจา เจรจาชอบ
สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ
สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ
สัมมาสติ ความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ
การนำตราสัญลักษณ์ดังกล่าวมาใช้ เพื่อต้องการจะสื่อความหมายให้แก่ผู้ปฏิบัติด้วยการอาศัยฐานทั้ง ๔ คือสติปัฏฐาน มาเป็นที่ตั้งหรืออารมณ์ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสามารถเกิดญาณหยั่งรู้ในลำดับต่างๆ ของญาณ บรรลุถึง มรรค ผล นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น