เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเขียนเรื่อง “เข้าสู่ยุควิบัติเต็มอัตรา”
เนื้อหาของเรื่องส่วนใหญ่มาจากรายการ “คนเคาะข่าว”
ของเอเอสทีวีประจำคืนวันที่ 11 เมษายน
ในค่ำคืนนั้นเราพูดกันถึงนโยบายประชานิยมแบบเข้มข้นในตอนต้นของรายการ
หลังจากนั้นเราพูดกันถึงทางตันของโลกซึ่งในขณะนี้ไม่มีแนวคิดทางเศรษฐกิจที่
เหมาะสมกับโครงสร้างของสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ
ก่อนพูดถึงเรื่องนั้นขอทบทวนว่าเพราะอะไรผมจึงมองว่าเมืองไทยเดินเข้าสู่
ภาวะวิบัติแบบเต็มอัตราแล้ว
ปัจจัยพื้นฐานของการเดินเข้าสู่ภาวะวิบัติได้แก่คนไทยส่วน
ใหญ่ยึดความเลวทรามแทนความดีซึ่งมีอาการออกมาให้เห็นอยู่เป็นประจำ เช่น
การยอมรับความฉ้อฉลหากตนได้รับผลประโยชน์ด้วยการเลือกคนที่มีประวัติด่าง
พร่อยถึงระดับเป็นถ่อยในสังคมให้เป็นผู้แทนในรัฐสภา
การพากันไปกราบกรานนักโทษหนีคุกไทยถึงในต่างประเทศ
และการบูชาผู้ใช้นโยบายประชานิยมทั้งที่มันจะทำให้ประเทศล่มจมต่อไป
สังคมโลกเดินเข้าสู่ทางตันด้านเศรษฐกิจมาเป็นเวลานานพอๆ
กับไทยเราเดินเข้าสู่ภาวะวิบัติ
อาการหนึ่งของการเดินเข้าสู่ทางตันได้แก่ภาวะเศรษฐกิจซบเซาในประเทศก้าว
หน้าที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2551 และตอนนี้มีข้อมูลบ่งชัดแล้วว่า
เศรษฐกิจของอังกฤษและสเปนกลับมาถดถอยอีกครั้งหลังทำท่าว่าจะฟื้นคืนชีพอยู่
ชั่วระยะหนึ่ง ในสเปนมีคนว่างงานสูงถึงเกือบ 25%
ซึ่งเป็นอัตราที่อาจเรียกได้ว่าเป็นภาวะหายนะของประเทศ
เพราะอะไรประเทศเหล่านั้นจึงแก้ปัญหาไม่ได้ทั้งที่มีนัก
เศรษฐศาสตร์ชั้นนำจำนวนมาก เช่น ในสหรัฐอเมริกา
มหาวิทยาลัยชิคาโกเพียงแห่งเดียวมีนักเศรษฐศาสตร์ชั้นรางวัลโนเบลถึง 26 คน
คำตอบสั้นๆ คือ
โครงสร้างทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไปส่งผลให้นโยบายซึ่งออกมาจากแนวคิดเก่าๆ
ใช้ไม่ได้ผล
โครงสร้างที่เปลี่ยนไปสะท้อนออกมาในปรากฏการณ์ต่างๆ
หลายอย่างด้วยกัน เช่น
เทคโนโลยีใหม่และความสัมพันธ์ทางการค้าร่วมสมัยทำให้โลกใบนี้แทบไม่มีพรมแดน
เหลืออยู่
การตัดสินใจทำอะไรของแต่ละคนในจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
จนกระทั่งเกิน 7 พันล้านคนส่งผลกระทบไปทั่วโลก
ส่วนผลกระทบจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับว่าเขาทำอะไร
บางคนสามารถโยกย้ายเงินตราได้นับหมื่นล้านดอลลาร์เพียงในพริบตาเดียว
การโยกย้ายเช่นนั้นอาจมีผลทำให้คนตกงานนับพันคนในเวลาในต่อมา
ปัญหาที่เกิดขึ้นมุมหนึ่งของโลกจะลุกลามไปถึงส่วนอื่นได้อย่างรวดเร็ว
แต่การดำเนินนโยบายของประเทศนับร้อยยังอยู่ในสภาพต่างคนต่างทำและมักไม่เป็น
ไปในแนวเดียวกัน ฉะนั้น มันจึงไม่ได้ผลตามความต้องการของประเทศที่มีปัญหา
ลักษณะของการดำเนินนโยบายเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของอำนาจซึ่งสะท้อน
ขนาดและภาวะทางเศรษฐกิจและการเมือง
สหรัฐอเมริกาซึ่งเคยเป็นเจ้าหนี้ใหญ่ที่สุดในโลกได้กลายมาเป็นลูกหนี้ใหญ่
ที่สุดในโลก บรรดาประเทศก้าวหน้าทั้งหลายส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้กันจนล้นบ่า
ไม่เฉพาะประเทศเท่านั้นที่เป็นหนี้กันจนขยับตัวแทบไม่ได้
ประชาชนส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้อย่างหนักอึ้งแบบทั่วถึงกัน
จีนซึ่งมีประชากรกว่าพันล้านคนและเคยเป็นประเทศยากจนมาก่อนตอนนี้มีเศรษฐกิจ
แข็งแกร่งจนได้กลายเป็นหมายเลขสองของโลกแทนญี่ปุ่นและเป็นเจ้าหนี้ใหญ่ที่
สุดในโลก
ส่วนอินเดียซึ่งเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีประชากรกว่าพันล้านคนก็ไล่หลังจีนมา
ติดๆ และเป็นเจ้าหนี้ขนาดใหญ่เช่นกัน ยิ่งกว่านั้น สองประเทศขนาดยักษ์นี้ยังมีอาวุธนิวเคลียร์อีกด้วย ฉะนั้น ใครจะมาสั่งพวกเขาทำอะไรไม่ง่ายดังก่อนอีกแล้ว
ส่วนในประเทศก้าวหน้าซึ่งใช้ระบอบประชาธิปไตยและระบบตลาดเสรีก็มีความเป็น
ประชาธิปไตยและความเป็นเสรีน้อยลงเนื่องจากอำนาจผูกขาดของเงิน
บริษัทขนาดใหญ่ใช้เงินจ้างนักวิ่งเต้นซึ่งมักเป็นนักการเมืองเก่าให้โน้ม
น้าวรัฐบาลให้ออกนโยบายไปในทางของตน
จะเห็นว่าในช่วงที่เศรษฐกิจประสบปัญหาล่าสุดนี้
แทบไม่มีบริษัทขนาดใหญ่ในอเมริกาล้มละลายเพราะต่างได้เงินสนับสนุนจากรัฐบาล
นับหมื่นล้านดอลลาร์
กองทุนเพื่อเก็งกำไรขนาดใหญ่ไม่ถูกควบคุมทั้งที่มีส่วนสร้างความเสียหายใหญ่
หลวงก็เพราะเหตุผลเดียวกัน
ผู้มีเงินและบริษัทขนาดใหญ่มีบทบาทสูงมากในกระบวนการเลือกตั้ง
นักการเมืองที่มีทีท่าว่าจะเป็นปฏิปักษ์ต่อพวกเขาจะถูกใส่ร้ายป้ายสีสารพัด
จนมักหมดโอกาสชนะการเลือกตั้ง
สภาพดังกล่าวนี้มีความฉ้อฉลเป็นฐานของการกระทำซึ่งนัก
เศรษฐศาสตร์ชั้นนำระดับได้รับรางวัลโนเบลโจเซฟ สติกลิตซ์ เรียกว่าเป็นการ
“ขาดดุลทางศีลธรรมจรรยา” (Moral Deficit)
ผู้ต้องการอ่านรายละเอียดอาจหาอ่านได้ในหนังสือของเขาชื่อ Freefall:
America, Free Markets, and the Sinking of the World Economy
ท่ามกลางโครงสร้างที่เปลี่ยนไป นโยบายที่ประเทศต่างๆ
ใช้ยังออกมาจากแนวคิดเก่าซึ่งเกิดจากการคละเคล้ากันของแนวคิด
“เศรษฐกิจโบราณแบบใหม่” (Neoclassical Economics) และของจอห์น เมย์นาร์ด
เคนส์
แนวคิดเศรษฐกิจโบราณแบบใหม่วางอยู่บนสมมติฐานสามข้อซึ่งตอนนี้ถูกโจมตีว่า
ไม่เป็นความจริง นั่นคือ ทุกฝ่ายมีข้อมูลชนิดสมบูรณ์แบบอย่างเท่าเทียมกัน
ทุกคนใช้เหตุผลในการตัดสินใจโดยไม่มีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ทุกองค์กรและทุกคนแสวงหาผลประโยชน์สูงสุดเพื่อตนเองเท่านั้น
ส่วนเคนส์บอกให้ทำงบประมาณขาดดุลและกระตุ้นการใช้จ่ายในภาวะเศรษฐกิจซบเซา
ซึ่งใช้ได้ผลมาเป็นเวลาราว 70 ปี แต่ตอนนี้แทบไม่มีผลดีแล้ว
จะเห็นว่าประเทศก้าวหน้าที่ประสบปัญหาล้วนใช้นโยบายแนวเคนส์มาเป็นเวลากว่า
สามปีแต่แทบไม่มีผลดีดังต้องการ
ท่ามกลางทางตันนี้มีแนวคิดร่วมสมัยที่มีคำตอบให้แก่ชาวโลกชื่อว่าเศรษฐกิจพอเพียง แต่
เนื่องจากมันเป็นแนวคิดของคนไทยที่มีความลึกซึ้งคนไทยจึงมองไม่เห็นค่าจน
กว่าฝรั่งจะนำไปขยายความซึ่งเขาเริ่มทำกันแล้ว เช่น
ในรายงานของราชสมาคมแห่งอังกฤษชื่อ People and Planet
ซึ่งเพิ่งพิมพ์ออกมาเมื่อเดือนเมษายนเพื่อจะใช้ในการประชุมสุดยอดขององค์การ
สหประชาชาติเรื่อง “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ณ กรุงรีโอเดจาเนโรระหว่างวันที่
20-22 มิถุนายนนี้
มีเนื้อหาจำนวนมากเป็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแม้เขาจะไม่ได้ใช้คำนี้ก็ตาม
ส่วนรัฐบาลไทยในช่วง 15
ปีที่ผ่านมาได้แต่ผายลมทางปากว่าจะน้อมนำแนวคิดนั้นมาใช้โดยไม่มีความเข้าใจ
หรือจริงใจแม้แต่น้อย
ฉะนั้น
โลกจะตกอยู่ในทางตันอีกนานเท่าไรและเมืองไทยจะตกอยู่ในภาวะวิบัติอีกนาน
เท่าไรผมจึงมิได้ฟันธงในค่ำคืนนั้น แต่ขอย้ำคำแนะนำที่ว่า
จงพยายามทำตัวทำใจกันไว้
สภาวะทั้งภายนอกและภายในเมืองไทยจะเลวร้ายต่อไปแน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น