++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการบริจาคร่างกาย

...การให้ที่ยิ่งใหญ่คือการให้ต่อไปไม่รู้จบ
แม้กระทั่งเราไม่มีลมหายใจในโลกใบนี้แล้ว...
                                    N.T.
 
รวบรวมมาให้นิดนึงเดี๋ยวเบื่ออ่านกัน
พอดีจบจากยูแถวนี้ก็เลยเอาของใกล้ๆตัวมาจ้า
 
ขั้นตอนการบริจาคร่างกาย


กรอกแบบฟอร์ม ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ระบุผู้แจ้งการถึงแก่กรรม
(ผู้แจ้งการถึงแก่กรรมหมายถึงผู้ที่เต็มใจจะรับเป็นธุระในการแจ้งให้ภาควิชาฯ ไปรับศพ
ของผู้บริจาคร่างกาย มิได้เกี่ยวข้องกับมรดกอื่นใดของผู้บริจาคร่างกาย)
แบบฟอร์มที่กรอกแล้ว แต่ขาดรูปถ่าย กรุณาส่งให้ทางไปรษณีย์มาที่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
โรงพยาบาลศิริราช บางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 เขียนที่มุมซองว่า บริจาคร่างกาย
ผู้บริจาคร่างกายจะได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคทางไปรษณีย์ภายใน 1 เดือน หากผู้บริจาคร่างกาย ต้องการรับบัตรเอง
 ติดต่อขอรับได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2419 7036, 0 2411 2007 ต่อ 21
หากทำบัตรหายกรุณาโทรแจ้งภาควิชาฯ ที่เบอร์โทรศัพท์ 0 2419 7036
หากผู้บริจาคเปลี่ยนแปลงที่อยู่กรุณาแจ้งภาควิชาฯ ทราบด้วย
ท่านที่ต้องการยกเลิกพินัยกรรมฉบับนี้ ไม่ต้องแจ้งให้ภาควิชาทราบ จะไม่ถือว่าเป็นความผิดแต่ประการใด

ข้อปฏิบัติเมื่อผู้บริจาคร่างกายเสียชีวิต
ห้ามฉีดยากันศพเน่า
โทร. แจ้งเจ้าหน้าที่ภาควิชาฯ ไปตรวจสภาพศพ และฉีดยาหลังจากเสียชีวิต ภายใน 24 ชม.
ที่เบอร์โทรศัพท์ 0 2419 7028, 0 2419 7030, 0 2411 2007
ญาติต้องดำเนินการเรื่องใบมรณบัตรและจัดหาหีบศพเอง

ข้อปฏิบัติเมื่อได้รับศพของผู้บริจาคร่างกาย
บริการฉีดยาและรับศพหลังจากเสร็จพิธีหลังจากเสร็จพิธี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
ให้ญาติสวดตามประเพณีนิยมได้ไม่เกิน 5 วัน
ศพของผู้บริจาคร่างกายจะจัดเก็บที่อาคารกายวิทยาทาน ต.ศาลายา จ.นครปฐม
ออกหนังสือรับรองการรับรองศพของผู้บริจาคร่างกายภายใน 2 วัน
จัดส่งใบอนุโมทนาบัตร หลังจากการรับศพของผู้บริจาคร่างกายภายใน 1 เดือน

ข้อแนะนำในการร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ
จัดพิธีทำบุญทุก ๆ ปี ประมาณเดือนเมษายน
ญาติเข้าร่วมพิธีได้ไม่เกิน 4 คน
ภาควิชาฯ มีรถบริการให้ญาติที่เข้าร่วมพิธีจากโรงพยาบาลศิริราช ไปที่อาคารกายวิทยาทาน ต.ศาลายา จ.นครปฐม
ญาติสามารถนำศพของผู้บริจาคร่างกายที่ศึกษาเสร็จแล้วไปประกอบพิธีทางศาสนาเองได้
จัดเก็บอัฐิของผู้บริจาคร่างกายไม่เกิน 5 ปี เอกสารที่ใช้ประกอบการทำหนังสือที่ระลึกใน พิธีพระราชทานเพลิงศ
รูปถ่ายของผู้บริจาคร่างกาย ขนาด 1 หรือ 2 นิ้ว จำนวน 1 ใบ
ประวัติส่วนตัวของผู้บริจาคร่างกาย
คำไว้อาลัยของญาติ
 
อันนี้เป็นของสภากาชาดไทยจ้า
 ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
บริจาคอวัยวะ
คุณประโยชน์
                 
ปัจจุบันมีผู้ป่วยในระยะสุดท้ายอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ทุกข์ทรมานจากการที่อวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด ฯลฯ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
วิธีรักษาทางการแพทย์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ คือ การปลูกถ่ายอวัยวะใหม่ ด้วยอวัยวะของผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งได้แสดงเจตนารมณ์ในการบริจาคอวัยวะ
 หรือได้จากญาติที่มีความประสงค์จะบริจาคอวัยวะของบุคคลนั้น เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นมาปลูกถ่าย จึงจะช่วยให้ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายมีชีวิตอยู่เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว
และสังคมต่อไปได้ อวัยวะใหม่ที่สามารถนำมาปลูกถ่าย ได้แก่ หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด, ตับอ่อน, กระดูก ฯลฯ ซึ่งได้มาจากการนำอวัยวะใหม่
เปลี่ยนแทนอวัยวะเดิมที่เสื่อมสภาพ จนไม่สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ และการผ่าตัดนั้นจะเป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยในระยะสุดท้าย
เพื่อให้อวัยวะใหม่นั้นทำงานแทนอวัยวะเดิม

ขั้นตอนการบริจาค
1.
กรอกรายละเอียดในใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะให้ชัดเจน ที่อยู่ควรจะตรงกับทะเบียนบ้าน (หากต้องการให้ส่งบัตรประจำตัวไปยังสถานที่อื่น กรุณาระบุ)
2.
พิมพ์ใบแสดงความจำนงบริจาค ส่งเอกสารมายังศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ตามที่อยู่ด้านล่าง และเมื่อศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ
ได้รับใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะของท่านแล้ว ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ จะส่งบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะให้ตามที่อยู่ที่ได้ระบุไว้
3.
หลังจากที่ท่านได้รับบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ แล้ว อย่าลืมกรอกชื่อ และรายละเอียดการบริจาคลงในบัตร
4.
กรุณาเก็บบัตรประจำตัวผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้กับตัวท่าน หากสูญหายกรุณาติดต่อกับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย

คุณสมบัติของผู้บริจาคอวัยวะ
1.
ผู้บริจาคอวัยวะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
2.
เสียชีวิตจากสภาวะสมองตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ
3.
ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง
4.
ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา
5.
อวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายต้องทำงานได้ดี
6.
ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ
7.
กรุณาแจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะแก่บุคคลในครอบครัวหรือญาติให้รับทราบด้วย

สถานที่ติดต่อ
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5
ถ.อังรีดูนังต์ ปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330
โทร. 1666
 
บริจาคดวงตา
คุณประโยชน์
                 
ช่วยผู้ป่วยกระจกตาพิการ ซึ่งอาจแบ่งเป็น
                 -
กระจกตาขุ่นเป็นฝ้าขาว เช่น เป็นแผลเป็น หรือกระจกตาบวมจากอุบัติเหตุสารเคมี การติดเชื้อ โรคกระจกตาที่เป็นแต่กำเนิด เป็นต้น
                 -
กระจกตามีความโค้งนูนผิดปกติ
                 -
กรณีฉุกเฉิน เช่น เป็นโรคติดเชื้อรุนแรง ไม่สามารถควบคุมด้วยการใช้ยารักษาได้ หรือรายที่กระจกตากำลังทะลุ
หรือทะลุแล้ว สาเหตุใดก็ตาม ต้องรีบตัดกระจกตาส่วนที่ติดเชื้อ แล้วใส่กระจกตาบริจาคแทนที่เพื่อรักษาดวงตาไว้ก่อน
                 -
ทำเพื่อความสวยงามเป็นการทำให้ฝ้าขาวที่ตาดำหายไปโดยไม่คำนึงว่ามองเห็นหรือไม่ วิธีนี้ไม่นิยมทำในเมืองไทย
เพราะดวงตาบริจาคมีน้อย จำเป็นต้องเก็บไว้ทำการผ่าตัดให้ผู้ที่ทำแล้วจะทำให้เห็นดีขึ้นเท่านั้น

วิธีการ
                 
ภายหลังถึงแก่กรรม ดวงตาจะเริ่มเสื่อมคุณภาพและเน่าเปื่อยเหมือนอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย ดังนั้นจำเป็นต้องรีบเก็บดวงตาให้เร็วที่สุด
อย่างช้าไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมง ถ้าช้าเกินไปดวงตาจะใช้ไม่ได้ และไม่ควรอนุญาตให้ฉีดน้ำยากันเน่าเปื่อยของศพ ก่อนที่จะผ่าตัดเก็บดวงตา
                 
ขั้นตอนการแสดงความจำนงอุทิศดวงตา
                 1.
กรอกรายละเอียดในใบแสดงความจำนงอุทิศดวงตาให้ชัดเจน
                 2.
เมื่อศูนย์ดวงตา สภากาชาดไทย ได้รับใบแสดงความจำนงอุทิศดวงตาจากท่านแล้ว ศูนย์ฯจะส่งบัตรประจำตัวให้ตามที่อยู่ที่ระบุไว้
                 3.
หากย้ายที่อยู่หรือเปลี่ยนสถานภาพใดๆ กรุณาแจ้งศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
                 
ข้อควรปฏิบัติภายหลังการอุทิศดวงตา
                 1.
แจ้งสมาชิกในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดให้รับทราบ
                 2.
เก็บบัตรอุทิศดวงตาไว้กับตัวหรือในที่หาง่าย
                 3.
ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ควรปรึกษาจักษุแพทย์
สถานที่ติดต่อ
                 
ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย
                 
อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน) ชั้น 7
                 
ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
                 
โทรศัพท์ 0-2252-8131-9 , 0-2258-8181-9, 0-2256-4039 และ 0-2256-4040
                 
ต่อศูนย์ดวงตา ตลอด 24 ชั่งโมง
                 E-mail: eyebank@redcross.or.th

บริจาคโลหิต
โลหิต เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตในร่างกาย โดยกำลังสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต
 คือ ไขกระดูก โลหิตแบ่งได้ 2 ส่วน คือ เม็ดโลหิต ซึ่งมี 3 ชนิด คือ เม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว เกล็ดโลหิต
 ส่วนที่ 2 คือ พลาสมา (Plasma) คือส่วนที่เป็นของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตทั้งหลายลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำสีเหลือง
ปัจจุบันยังไม่สามารถหาสารประกอบใด ที่มาใช้ทดแทนโลหิตได้ดี ฉะนั้นเมื่อยามที่ร่างกายเสียโลหิตจากอุบัติเหตุ ผ่าตัด
หรือโรคที่จำเป็นต้องรักษาด้วยโลหิต
จึงจำเป็นต้องรับบริจาคโลหิตจากบุคคลหนึ่งเพื่อนำไปให้อีกบุคคลหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือชีวิตให้ทันท่วงที
 
ความจำเป็นต้องใช้โลหิต
โลหิต 77% ที่ได้รับบริจาคถูกนำไปใช้เพื่อทดแทนโลหิตที่สูญเสียไปในภาวะต่างๆ อาทิ อุบัติเหตุ การผ่าตัด โรคกระเพาะอาหาร การคลอดบุตร ฯลฯ
อีก 23 % เป็นการนำโลหิตไปใช้เฉพาะโรค อาทิ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เกล็ดโลหิตต่ำ ฮีโมฟีเลีย เป็นต้น
ความต้องการโลหิต
ปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ต้องจัดหาโลหิตให้ได้วันละ 1,500 ยูนิต เดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 42,000 ยูนิต
จึงจะเพียงพอจ่ายให้กับผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ
โดยแบ่งเป็น หมู่โลหิตที่จำเป็นต้องจัดหาโลหิตในแต่ละวัน ดังนี้คือ
หมู่ A
วันละ
400
ยูนิต
หมู่ B
วันละ
400
ยูนิต
หมู่ O
วันละ
600
ยูนิต
หมู่ AB
วันละ
100
ยูนิต

การบริจาคโลหิต
การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาค
เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ ร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้
โลหิตสามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไปไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทน
ให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม
ถ้าไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว เพราะหมดอายุออกมาทางปัสสาวะ อุจจาระ
กระบวนการบริจาคโลหิตตั้งแต่เริ่มลงทะเบียน จนกระทั่งบริจาคโลหิตเสร็จสิ้น ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเลือกเจาะโลหิตที่เส้นโลหิตดำ
 บริเวณแขน แล้วเก็บโลหิตบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.blooddonationthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น