++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เวทีนโยบาย:‘ปฏิญญาเยาวชน’ จิตวิญญาณขบถลดอุบัติเหตุ

โดย ภาณุเบศร์ มหาเรือนขวัญ 23 พฤศจิกายน 2552 15:48 น.
ขณะวัยรุ่นไทยไม่น้อยใช้ชีวิตด้วยความประมาทคึกคะนองบนท้องถนน ทั้งขับขี่รวดเร็ว เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย ฝ่าฝืนกฎจราจร จนถึงตั้งแก๊งเด็กแว้น-สกอยส์สร้างอัตลักษณ์ตัวตนจนพลัดหลงก้าวสู่โลกหม่น มืดของอาชญากรรม ระดับโลกผู้นำเยาวชนชาติต่างๆ กลับร่วมกันออกประกาศปฏิญญาเยาวชนฉบับมอสโคว (Youth Declaration Moscow) ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2009 หนึ่งวันก่อนหน้าการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยความปลอดภัยทางถนนครั้งแรก (First Global Ministerial Conference on Road Safety) ที่กรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย

การให้พันธสัญญาของผู้นำเยาวชนนานาชาติว่าจะมีส่วนร่วมแข็งขันใน ทศวรรษแห่งการลงมือปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety) นี้น่าตรึงตาตรึงใจยิ่งนัก เพราะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำในปัจจุบันกับผู้นำในอนาคตในการสร้าง ความปลอดภัยทางถนน รักษาชีวิตเยาวชน และเตรียมพร้อมด้านต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของคนเจนเนอเรชันถัดไป

ในการสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นในระดับประเทศและโลก รวมถึงสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ครอบครัวด้วยการขมีขมันขันแข็งเป็นกำลังหลัก ในการลดอุบัติเหตุจราจรนั้น เยาวชนต้องเปิดใจกว้าง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสลายตัวตนจนสามารถทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ภาคส่วนต่างๆ อย่างราบรื่นเพื่อจะควบคุมผลกระทบของโรคระบาดร้ายแรงที่ลุกลามไปทั่วโลกนี้

อย่างน้อยสุดการตื่นตัวอย่างเร่าร้อนของคนหนุ่มสาวที่จะดำเนิน กิจกรรมต่างๆ ในนามเยาวชนเพื่อความปลอดภัยทางถนน (Youth for Road Safety: YOURS) หลังเสร็จสิ้นการประชุมระดับโลกนี้ทันที ก็น่าจะทำให้จำนวนเยาวชนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลงอย่างมีนัย สำคัญได้ภายในปี 2010-2020 ไม่ให้เหมือนปัจจุบันที่เกือบร้อยละ 40 ของเหยื่ออุบัติเหตุจราจรทั่วโลกเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 25 ปี โดยทุกๆ ปีเยาวชน 4 แสนคนต้องจบชีวิตลง และหลายล้านคนต้องพิการบาดเจ็บ หรือทุกๆ เดือนโลกต้องสูญเสียอนาคตกว่า 3 หมื่นคน หรือทุกๆ วันกว่า 1 พันคน

เพราะการบาดเจ็บจากการประสบอุบัติเหตุทางถนนคือสาเหตุหลักในการเสีย ชีวิตของคนหนุ่มสาวทั่วโลกช่วงอายุ 15-19 ปี ขณะที่ช่วงอายุ 10-14 ปี และ 20-24 ปี อุบัติเหตุจราจรคือสาเหตุลำดับที่สองของการเสียชีวิต โดยส่วนใหญ่ความตายมักถามหาคนเดินเท้า คนขี่จักรยาน คนขี่รถจักรยานยนต์ และผู้โดยสารระบบขนส่งมวลชน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้ถนนที่เปราะบาง (Vulnerable road users)

ใน จำนวนการพลัดพรากสูญเสียที่เกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวันเช่นนี้มีเยาวชนไทยรวม อยู่ไม่น้อยทีเดียว ด้วยเยาวชนไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ถนนที่เปราะบาง ดังสถิติการเสียชีวิตปี 2007 ที่ร้อยละ 70, 8 และ 3 เป็นคนขี่รถจักรยานยนต์ 2 หรือ 3 ล้อ คนเดินเท้า และคนขี่รถจักรยานตามลำดับ ต่างจากคนขับรถยนต์ที่เสียชีวิตร้อยละ 4 และคนโดยสารรถยนต์ที่เสียชีวิตร้อยละ 7

ทั้งนี้ ความเป็นไปได้ในการลดจำนวนเยาวชนที่เสียชีวิตจากจราจร ผู้นำในปัจจุบันที่มีอำนาจตัดสินใจเชิงนโยบายของประเทศต่างๆ รวมถึงไทย จะต้องขานรับแนวทางปฏิญญาเยาวชนฉบับมอสโควไปปฏิบัติ นับแต่ศึกษาสถานการณ์แง่มุมการใช้รถใช้ถนนของเยาวชน และนำประเด็นที่ค้นพบมาพูดคุยคลี่คลายปัญหา กำหนดนโยบายและโครงการความปลอดภัยที่มีเยาวชนเป็นศูนย์กลางและสามารถดึงดูด เยาวชนให้เข้าร่วมวางแผนและติดตามประเมินผล รวมถึงลงทุนในเยาวชนโดยการสร้างเสริมศักยภาพเยาวชน และส่งเสริมการริเริ่มกิจกรรมเพื่อความปลอดภัยทางถนนของเยาวชน

ตลอดจนสนับสนุนพันธกิจของ YOURS โดยการประสานกับผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างความปลอดภัยทางถนนระดับท้องถิ่น และกลุ่มเยาวชนต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ จัดหาความรู้เทคนิคเฉพาะด้านและสนับสนุนทางการเงิน

การรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนทั่วโลกตลอดช่วงทศวรรษหน้าน่าจะทำให้ไทย ไม่สูญเสียทรัพยากรของชาติมหาศาลดังเดิม ด้วยนอกจากทางตรงจะกระตุ้นเตือนให้ผู้กุมอำนาจรัฐกำหนดแนวนโยบายสร้างเสริม ความปลอดภัยทางถนน และเท่าทวีความแข็งแกร่งแก่องค์กรสถาบัน รวมถึงกลไกในการประสานงานที่เกี่ยวข้องระดับชาติและท้องถิ่นแล้ว ทางอ้อมยังสามารถเหนี่ยวนำต้นทุนสังคมไทยมาส่งเสริมพัฒนาเยาวชนให้มีความรับ ผิดชอบต่อความปลอดภัยทางถนนมากขึ้นด้วย

กระบวนการนำทุนไทยทั้งทรัพยากร กลไก และสถาบันสังคมทุกระดับมาสร้างเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายเยาวชนลด อุบัติเหตุนั้นน่าจะทำให้วิกฤตอุบัติเหตุจราจรของเยาวชนที่สลับซับซ้อนทอน ทุเลาเบาบางลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเด็กแว้น-สกอยส์ ที่จะไม่ถูกคิดบนฐานคติที่จัดการโดยกฎหมายเพียงลำพัง หากแต่ต้องดำเนินมาตรการทางสังคมอย่างกว้างขวางควบคู่กันไป

ด้วย ในที่สุดแล้วรากเหง้าการพัฒนาแก้ไขปัญหาเยาวชนเกี่ยวกับอุบัติเหตุจราจรต้อง การความอ่อนโยนมากกว่าแข็งกร้าว เพราะเกี่ยวพันกับคุณค่าความเป็นมนุษย์ของเยาวชนผู้ถูกสถาบันนับแต่ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน จนถึงสังคมกระทำรุนแรงทั้งทางกายภาพ โครงสร้าง และวัฒนธรรม จนต้องหาทางออกด้วยความเร็วแรง แข่งกันสร้างอัตลักษณ์ผ่านการกราดเกรี้ยวของเสียงเครื่องยนต์

ทั้งนี้ เมื่อเยาวชนไทยที่เป็น ‘ปัจจัยเสี่ยง’ ถูกควบคุมและเปลี่ยนแปรเป็น ‘ปัจจัยป้องกัน’ ด้วยมาตรการกฎหมายบวกการขับเคลื่อนต้นทุนทางสังคมมิติต่างๆ แล้ว ท้ายสุดสถิติอุบัติเหตุโดยรวมก็จะลดลงจนเกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญตาม มา ไม่เฉพาะไทยที่เป็นกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางที่มีเยาวชนเสียชีวิตจาก อุบัติเหตุจราจรสูงเท่านั้น หากส่งผลต่อทั้งโลก เพราะเยาวชนไทยที่เคยตกเป็นเหยื่อโดยคิดว่าตนเองไม่มีคุณค่าก็กลับมาใช้ ชีวิตอย่างมีความหมาย ไม่ขับขี่ประมาทคึกคะนอง

ถึงแม้น ‘จิตวิญาณขบถ’ กฎระเบียบสังคมคงอยู่ แต่ก็สามารถเปลี่ยนผ่านพลังพวยพุ่งเหล่านั้นเป็นการริเริ่มกิจกรรมสร้าง สรรค์ความปลอดภัยทางถนนมากมายได้ กระทั่งไม่เพียงชีวิตตนเองจะปลอดภัยเพราะไม่ขับขี่ด้วยความเร็วแรงเท่านั้น ทว่าภาพรวมทุกคนในสังคมยังมีความสุข มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้วยเยาวชนเรียนรู้ที่จะเคารพคนอื่น อันมีจุดเริ่มต้นจากการเคารพกฎจราจรเป็นสำคัญ

คุณภาพการจราจรที่ดีขึ้น โดยมีเยาวชนเป็นพลังเปลี่ยนผ่านสำคัญเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้จริงก็ต่อเมื่อผู้ กุมอำนาจรัฐเปิดกว้างให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนคิดค้น กำหนด จนถึงประเมินผลกิจกรรม โครงการ หรือนโยบาย เพื่อการตัดสินใจที่ดีกว่าและสอดคล้องสถานการณ์กว่ามาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนบทบาทกฎหมายจากเดิมมุ่งควบคุมเข้มข้นลงโทษรุนแรงให้เป็น การยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามเพราะตระหนักถึงความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น

ในขณะเดียวกันนั้นก็ต้องบ่มเพาะจิตวิญญาณขบถต่อขนบโครงสร้างสังคมและ วัฒนธรรมที่เอื้อให้เกิดอุบัติเหตุจราจรตั้งแต่ระดับโลกลงมาจนถึงตัวตนของ เยาวชนที่ต้องไม่เชื่อมต่อระบบทุนนิยมที่ตีกรอบการคิดว่าทุกสิ่งต้องตีค่า ราคาได้ ต้องมีแบรนด์ (Brand) เอกลักษณ์จุดขายความต่างถึงจะประสบความสำเร็จ ซึ่งถึงที่สุดแล้วเยาวชนไทยไม่น้อยใช้การครอบครองรถจักรยานยนต์ที่เร็วแรง เป็นพาหนะสร้างที่หยัดยืนในสังคมบนฐานความรุนแรงรูปแบบต่างๆ นานา

ปฏิญญาเยาวชนฉบับมอสโคสว่าด้วยความปลอดภัยทางถนนถึงเป็นเพียงคํามั่น สัญญาที่มีความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง ไร้ทั้งอำนาจบังคับหรือลงโทษทัณฑ์ ทว่าถ้าไทยเรียนรู้แนวทางแก้ไขปัญหาที่ริเริ่มโดยเยาวชนชาติต่างๆ อย่างจริงจัง ก็จะสามารถนำมาเป็นหลักการในการกำหนดนโยบายเพื่อความปลอดภัยทางถนนได้ไม่ น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแตกหักรื้อถอนโครงสร้างระบอบเก่าที่ทำให้อุบัติเหตุทาง ท้องถนนเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเมาแล้วขับ ขับเร็วเกินกฎหมายกำหนด หรือการบังคับใช้กฎหมาย เหมือนดังปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่หลักการแห่งการอยู่ร่วมกันของมวล มนุษยชาติถูกบรรจุไว้ในกฎหมายสูงสุดของประเทศไทยและอื่นๆ เพื่อคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

จิต วิญญาณขบถที่ร้อนเร่าในปฏิญญาเยาวชนว่าด้วยความปลอดภัยทางถนนจะสร้างรากฐาน ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกเดินทางปลอดภัยเพราะอนาคตคนกลุ่มที่ร่างปฏิญญานี้จะ เติบโตเป็นผู้นำที่พลิกผันประวัติศาสตร์ความปลอดภัยทางท้องถนนได้

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น