++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รวมคติธรรมดีๆ อีกแล้วครับท่าน

จงรักษาใจ..ให้เหมือน "นาฬิกา" ..
เพราะหน้าที่ของนาฬิกา...
คือ..การอยู่กับปัจจุบันขณะ..
ด้วยสัจจะ และความเที่ยงตรง..



๐ ธรรมแท้ ๆ ! เป็นกลาง ๆ ..
ใคร ? ปล่อยวางได้..ก็.."สบาย"

๐ ธรรมแท้ ๆ ! ไม่มี..สู้!..ไม่มี..หนี!
เพียงแต่..ดู-รู้-ตรง "ปัจจุบัน" นี้
แล้วก็..ปล่อยไป..เท่านั้นเอง!

๐ น้ำไม่ไหล! ขังไว้..ย่อม..เน่า ฉันใด!
จิตที่..รู้เรื่องอะไร ? แล้วไม่ยอมปล่อย
ย่อม "ทุกข์" ฉันนั้น..
......................................................

ปากอย่าไว...ใจอย่าเบา
เรื่องเก่าอย่าไปรื้อฟื้น...
เรื่องอื่นอย่าไปคิด...
กิจที่ชอบในปัจจุบัน...ให้รีบทำ
.....................................................


ยุ่งยาก กับ เยือกเย็น

ในยามที่เราพบกับความยุ่งยาก ต้องพึ่งพาความเยือกเย็น
ค่อย ๆ ย้อนลงไปแยกแยะสาเหตุแห่งปัญหา ที่ทำให้เราเร่าร้อน

เราจะเอาชนะความยุ่งยากของชีวิตได้ ด้วยการเอาชนะความวิตกกังวล
ที่เกิดขึ้นในใจของเราเสียก่อน

จงมองดูความวิตกกังวลของตนเอง มองดูว่ามันทำให้เราเอาชนะปัญหาของเรา
หรือมันทำให้เราหมดพลัง และพ่ายแพ้

ปัญหาต่าง ๆ ของชีวิตผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ความทุกข์ยากที่เราคิดว่ามันแสนสาหัส
สำหรับเราในวันนี้ ในวันข้างหน้าเราอาจรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย..

.....................................................................................................




ความรู้สึกตัว...ที่เกิดขึ้นมาทีละขณะนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับหยดน้ำ
ที่เรากำลังสะสมทีละหยด..ทีละหยด

น้ำหนึ่งหยดนั้น..อาจดูเหมือนทำอะไรไม่ได้มาก
แต่เมื่อจากหนึ่งเป็นสอง..สองเป็นสิบ..สิบเป็นร้อย..มากเข้า ๆ
และเราก็ยังสะสมต่อไปเรื่อย ๆ น้ำหนึ่งหยดก็จะกลายเป็นน้ำหนึ่งถัง
..และเป็นน้ำจำนวนมหาศาลที่สามารถสร้างพลังงาน
สร้างสรรค์ประโยชน์เพิ่มเป็นทวีคูณในไม่ช้า

เช่นกันกับ..ความรู้สึกตัว..ที่เมื่อเราสะสมจนมีความต่อเนื่องมากพอ
ความรู้สึกตัวนี้..ก็จะมีพลังทำให้เราค้นพบชีวิตที่เป็นอิสระ
สามารถอยู่ร่วมกับความรู้สึกต่าง ๆ ได้โดยไม่เจ็บปวด
หรือโดนทำร้ายเหมือนที่เคยเป็น
....................................................................................



๑ ปี เอาเหล็กมาขัดสนิมหนึ่งครั้ง ซ้ำยังไม่ขัดถึงที่สุด..
ไม่ทำถึงจุดที่จะไม่เกิดสนิมสืบต่อไป เหล็กจะวาวขึ้นมาได้อย่างไร??
การขัดเกลาตนของนักปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน..
และสนิมเหล็กเกิดจากเนื้อในเหล็ก กัดกร่อนทำลายเหล็ก ฉันใด..
สนิมใจเกิดจากเนื้อในใจ กัดกร่อนทำลายใจ ฉันนั้น..
......................................................................................................



"การละบาป เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าการทำบุญ
ถ้าทำบาปแลกบุญจะขาดทุนเรื่อยไป"


"ใจจะสงบได้ ก็เพราะความเห็นที่ถูกต้อง"


"ธรรมดาจิตนั้นนะ..มันมีเวลาขยัน และขี้เกียจ
ถ้าทำเพียรด้วยสัจจะ เราต้องทำเรื่อยทั้งที่ขี้เกียจ
ทำจิตให้จิตรู้อยู่ การรู้ภายใน การฉลาดภายในจิตจะเป็นอย่างนี้
การทำทุกวัน บางทีสงบ บางทีไม่สงบ เป็นอนิจจัง"


"เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้นในจิตใจของเราแล้ว
จะมองไปที่ไหน..จะมีแต่ธรรมะทั้งนั้น
เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตลอดเวลา"

ธรรมะโอวาท หลวงพ่อชา
..................................................................................



คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้...ต้องหยุดคิดให้ได้..จึงรู้
แต่ก็ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละ..จึงรู้
คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นผู้ปฏิบัติธรรม
ต้องปฏิบัติถึงสิ่งที่ไม่มี และอยู่กับสิ่งที่ไม่มี..

คติธรรมของ........หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
.........................................................................................




อันการงาน...คือการ...ประพฤติธรรม

พุทธทาส...ท่านย้ำ...ถ้อยคำนี้

หน้าที่ใคร...ตั้งใจ...ทำให้ดี

เพราะธรรมะ...คือหน้าที่...ของทุกคน

............................................................................................................................................................

ยามจะได้...ได้ให้เป็น...ไม่เป็นทุกข์

ยามจะเป็น...เป็นให้ถูก...ตามวิถี

ยามจะตาย...ตายให้เป็น...เห็นสุดดี

ถ้าอย่างนี้...ไม่มีทุกข์...ทุกวันเอยฯ
.................................................................................................................................................
สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรไปทำความผูกพัน
เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง
แม้จะทำความผูกพัน
และมั่นใจในสิ่งนั้นกลับมาเป็นปัจจุบัน..ก็เป็นไปมิได้
ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว
โดยความไม่สมหวังตลอดไป
อนาคตที่ยังไม่มาถึง
ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน
อดีต..ควรปล่อยไว้ตามอดีต
อนาคต..ก็ควรปล่อยไว้ตามกาลของมัน
ปัจจุบันเท่านั้นที่จะสำเร็จประโยชน์ได้
เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้..ไม่สุดวิสัย

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

....................................................................................................................................


ถ้าเขาตบแก้มเรา..เราต้องยื่นแก้มให้เขาตบอีกข้าง
นั่น!..ไม่ใช่สาระสิ้นดี ถ้าคุณจะให้อภัยคน
มันไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเห็นด้วยในสิ่งที่เขาทำ
หรือเชิญชวนให้เขามากระทำแบบเดียวกับที่เคยทำกับคุณอีก

แต่การให้อภัยหมายถึงคุณจะไม่แบกความโกรธเอาไว้..ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกเบาขึ้นต่างหาก


ก้าวย่างแห่งปัญญา...แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
...........................................................................................................


จักทำห้องพระ ทิศใด ตรงไหนเล่า?

ที่จักเข้า ถึงดวงใจ หาใดเหมือน

ห้องพระใด? ประจักษ์แจ้ง ไม่แชเชือน

ให้อยู่..เรือน.. "ในใจ" เล่า จักเฝ้างาม...
..............................................................................................................................................................................


เมื่อไม่มีข้าวเจ้า...รับประทานข้าวเหนียวแทน..ก็ได้
เมื่อไม่มีเสื้อผ้าอาภรณ์สวยหรู..เราปกปิดร่างกายด้วยใบไม้..ก็ได้
เมื่อไม่มีตึกราบ้านช่อง เราปลูกกระต๊อบอยู่อาศัย..ก็ได้
เมื่อไม่มีนาฬิกาบอกเวลา เราอาศัยพระอาทิตย์บอกเวลากลางวัน
พระจันทร์บอกเวลากลางคืน..ก็ได้
เมื่อไม่มีดนตรีของมนุษย์ขับกล่อม เราฟังเสียงจั๊กจั่นเรไรร้องระงมอยู่..ก็ได้
เมื่อไม่มีมิตรสหายที่ถูกใจ..บิดามารดาก็ยังเป็นมิตรแท้ตลอดไป..
แต่เมื่อขาดเสียซึ่ง "ธรรมะ" ..เราไม่อาจจะแสวงหาสิ่งหนึ่งสิ่งใด
มาทดแทนเพื่อยึดถือปฏิบัติ สำหรับทำความเป็นมนุษย์ของเราได้เลย

...........................................................................................................................................

"ความสุข...อาจทำให้ลุ่มหลง
ความทุกข์...ทำให้รู้จักชีวิต
จึงควรขอบคุณความทุกข์บ้าง"

"เพียงคิดช่วยเขา...ใจเราก็สุขแล้ว
เพียงคิดเบียดเบียนเขา...ใจเราก็ทุกข์แล้ว"

"น้ำทำให้เรือลอยได้ ก็ทำให้เรือล่มได้
ทรัพย์สินเงินทอง
ทำให้คนเป็นสุขได้ ทำให้คนเป็นทุกข์ได้"

"การมองข้ามงานเล็กไป
จะทำให้งานใหญ่ไม่สำเร็จ"

"เพ่งโทษตน...เป็นบัณฑิต
เพ่งความผิดคนอื่น...เป็นพาล"

"ก้าวแรก ก้าวต่อๆไป
และก้าวสุดท้ายสำคัญพอๆกัน
ขาดก้าวใดก้าวหนึ่ง ชีวิตจะถึงที่หมายไม่ได้"

"คลื่นลมทำให้ทะเลสวย
อุปสรรคทำให้ชีวิตงาม
บุคคลจึงไม่ควรยอมแพ้เมื่อพบอุปสรรค"

"หากครั้งนี้ล้มเหลว
ครั้งต่อๆไปต้องสำเร็จ
เพราะความสำเร็จ
มักมาหลังจากความล้มเหลวเสมอ"

"ความวิตกกังวลใจเป็นโรคร้ายของชีวิต
ถ้าปล่อยก็ว่าง ถ้าวางก็จะเบา ถ้าเอาก็จะหนัก
ความยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นอุบายสร้างสันติ"

"THE BASIC RULES FOR SUCCESS MAY BE
DEFINED AS FOLLOWS: KNOW WHAT YOU
WANT, FIND OUT WHAT IT TAKES TO GET IT,
AND ACT ON IT AND PERSEVERE

กฎของความสำเร็จมีดังนี้ รู้ว่าตนเองต้องการอะไร
ค้นหาว่าต้องทำอย่างไรเพื่อให้ได้สิ่งนั้น
และกระทำตามนั้นอย่างบากบั่นไม่ย่อท้อ"

......................................................................................................................
"โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม" เรื่องโลกมีแต่เรื่องยุ่งของคนอื่นทั้งนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด
เราไปแก้ไขเขาไม่ได้ ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด..มาจบที่ตัวเรา ให้มาไล่ดูตัวเองแก้ไขตัวเอง
ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง

ถ้าเป็นโลกแล้ว..จะมีแต่ส่งออกไปข้างนอกตลอดเวลา แต่ถ้าคิดสิ่งที่เป็นธรรมแล้ว
ต้องวกกลับเข้ามาหาตัวเอง เพราะธรรมแท้ย่อมเกิดในตัวของเรานี้ทั้งนั้น
รอให้แก่เฒ่า หรือจวนตัวแล้วจึงสนใจภาวนา
ก็เหมือนคนหัดว่ายน้ำเอาตอนเรือหรือแพใกล้แตก มันจะไม่ทันการณ์

หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมโญ







บุญกุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่นไกล...
ก็ได้แก่ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมีนี้แหละ
ทานก็รู้อยู่แล้ว คือการ "สละ" หรือการละ การวาง
ผู้ใดละมาก วางได้มาก ก็เป็นผลานิสงส์มาก
ผู้ใดวางได้น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อย


หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
..............................................................................................

ความสุข หรือ ความทุกข์

บางครั้งอยู่ที่..'ท่าที'..ในการเผชิญของเราเป็นสำคัญ

ถ้า..'รู้เท่าทัน'..สิ่งที่อยู่ตรงหน้าอย่างมีสติ

ทุกข์ อาจกลายเป็น..สุข..

ปัญหา อาจกลายเป็น..ปัญญา..

วิกฤติ อาจถูกแปรเป็น..โอกาส ..


ว.วชิรเมธี
.................................................................................


ติผู้อื่น ยกตัวเอง - เป็นคนหลงตัวอย่างหนัก
ติผู้อื่น ติตัวเอง - จุดสูงสุดจะเป็นนักวิจารณ์ชั้นดี
ชมผู้อื่น ชมตัวเอง - เป็นนักชม มองโลกได้น่ารื่นรมย์
ชมผู้อื่น ติตัวเอง - เป็นนักพัฒนามีสิทธิ์เป็นยอดคน

เมื่อมีปัญหา คนเรามักมองออกไปภายนอกเสมอ
โทษคนนั้นคนนี้ โทษสิ่งนั้นสิ่งนี้
เพราะมองออกนอกตัวจนเป็นนิสัย
แต่เมื่องานสำเร็จ คนเรามักชื่นชมตัวเองปลื้มกับตัวเอง
เรื่องอย่างนี้มักคิดเข้าหาตัวอยู่เสมอ

ความผิดของผู้อื่นจึงเห็นง่าย
ความผิดของตนจึงเห็นยากแม้ผิดเรื่องเดียวกัน
มักจะมองว่า ผู้อื่นผิดมาก ตนเองผิดน้อย
ดังคำที่ว่า "โทษผู้อื่นเท่าภูเขา โทษของเราเท่าปลายเข็ม"

"ผู้อื่นผิดแค่นิด คิดไปใหญ่โต
ตนเองผิดมากโข โอ้โฮกลับไม่เห็น"

เมื่องานผิดพลาด อย่ามัวโทษผู้อื่น
เมื่องานสำเร็จ อย่ามัวชื่นชมตัวเอง
เมื่องานผิดพลาด จงมองตัวเอง
เมื่องานสำเร็จ จงมองผู้อื่น
.........................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น