++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เอไอทำนายภาวะเศรษฐกิจ/ดร.ชิต เหล่าวัฒนา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 พฤศจิกายน 2552 10:31 น.
สัปดาห์ ที่แล้วผมได้พาลูกศิษย์ไปที่ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เพื่อไปหาความรู้เพิ่มเติมด้านเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะ โมเดล Dynamic Diamons-5 และหาโอกาสในการประยุกต์ใช้ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพื่อการทำนายเศรษกิจของประเทศไทย

ที่ผ่านมาขึ้นอยู่กับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์มากมาย บางครั้งข้อมูลไม่ชัดเจนยากที่คนทั่วไปประมวลผลได้ เราเชื่อว่า ระบบนิวโรฟัสซี่ (NeuroFuzzy)
ที่เราใช้ประโยชน์ในวงการหุ่นยนต์ สามารถช่วยเราเข้าใจระบบเศรษบกิจเชิงซับซ้อนนี้ได้จนคาดการ์ล่วงหน้าได้พอสมควร
เศรษฐกิจโลกซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เอเชีย โดยมีจีนเป็นหัวจักรสำคัญ และประเทศอื่นๆ ในโลก ระบบเศรษฐกิจของทั้ง 5 กลุ่มนี้ มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ผ่านการค้าสินค้าและบริการที่แท้จริง รวมทั้งการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกัน ก็มีความเชื่อมโยงผ่านระบบการเงินระหว่างประเทศ เปรียบเสมือนระบบเศรษฐกิจที่มีสินค้าและบริการเป็นน้ำหล่อเลี้ยง

และมีเงินทุนเป็นน้ำมันหล่อลื่นให้การหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจมี ความคล่องตัวขึ้น ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลก จัดอยู่ในกลุ่มเอเชีย ประกอบไปด้านอุปสงค์ ได้แก่ ความต้องการบริโภค (consumption) ความต้องการลงทุน (investment) การใช้จ่ายของภาครัฐ (government expenditure)
ทั้งด้านการบริโภคและลงทุน ตลอดจนความต้องการส่งออกสินค้าและบริการ (exports) ซึ่งเชื่อมโยงมาจากความต้องการนำเข้าสินค้าและบริการจากประเทศต่างๆ ในโลก

และอีกด้านหนึ่ง คือ ด้านอุปทาน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งวัดโดยผลบวกของมูลค่าเพิ่ม (GDP) และความต้องการนำเข้าสินค้าและบริการ (imports) ซึ่งเชื่อมโยงกับความต้องการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศอื่นๆ ในโลก รายได้ที่ได้จากการผลิตสินค้าและบริการภายในประเทศ ซึ่งวัดจากมูลค่าเพิ่ม (value added) ของภาคการผลิตต่างๆ (เกษตร อุตสาหกรรม บริการ)
เมื่อหักภาระภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ถ้าไม่ได้นำไปใช้จ่ายในการบริโภคก็จะถูกเก็บเป็นเงินออม และเป็นแหล่งเงินทุนที่จะนำไปสู่การลงทุนเพื่อสร้างโรงงาน สาธารณูปโภคพื้นฐาน และการศึกษาของประชาชนต่อไป

หากเปรียบเทียบเทียบแต่ละส่วนที่กล่าวข้างต้นเป็นถังบรรจุน้ำมีท่อ ต่อถึงกัน ดังนั้นท่อของถังน้ำต่างๆ จะต้องมีวาล์วกำกับอยู่เป็นจุดๆ แสดงถึงเครื่องมือในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล (government policy instruments)
ว่าจะยอมให้น้ำไหลเข้ามากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการดำเนินนโยบายของหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน ฯลฯ เป็นต้น

ในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐจะต้องมีเป้าหมายและมีข้อจำกัด ซึ่งจริงๆ แล้วมีจำนวนมาก แต่ในที่นี้ เลือกเฉพาะที่สำคัญมาพิจารณา 8 ตัวด้วยกัน (ซึ่งขอให้รายละเอียดในบทความหน้าครับ) โดยจะต้องกำหนดเกณฑ์ด้วยว่า สำหรับแต่ละตัว ต้องมีค่าเท่าใดถึงจะถือว่าปกติ ต้องมีค่าเท่าใดถึงจะถือว่าควรระมัดระวัง
และต้องมีค่าเท่าใดถึงจะถือว่าอยู่ในภาวะอันตราย สำหรับประเทศไทย เราอาศัยการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา (2535-2547)
ซึ่งข้อมูลค่อนข้างมาก เราจึงใช้นิวรอน (Neuron Network) ในการทำนายพารามิเตอร์ด้าน Macroeconomics

ในอนาคต เพื่อสร้างเป็น input เข้าสู่โมเดล Dynamic Diamond-5 ข้อดีคือพารามิเตอร์เหล่านี้เป็น time series data สามารถถูกแบ่งกลุ่มและ train ได้ง่าย
ผลที่ได้สามารถเปรียบเทียบได้กับค่าจริงและเงื่อนไขจริงได้โดยง่าย อย่างไรก็ตามจุด อ่อนคือระบบจะสามารถตรวจจับความเปลี่ยนไปของ Dynamic Diamond-5 ตามพลศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้เลยงานขั้นต่อไปที่ยากขึ้นคือการผสมผสานกับ Fuzzy Logics ในการปรับเปลี่ยน Dynamic Diamond-5 อย่างอัตโนมัติ

ท่านผู้อ่านสามารถส่งข้อคิดเห็น/เสนอแนะมาที่ผู้เขียนที่ djitt@fibo.kmutt.ac.th

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000142276

1 ความคิดเห็น:

  1. พูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ที่มีรากเหง้ามาจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของโลกที่รวดเร็วด้วยประการหนึ่ง สามารถเข้าพิจารณารายละเอียดที่เกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าวได้ที่

    http://www.ainews1.com/modules.php?name=Web_Board&file=view&No=125

    ตอบลบ