++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วิจัยสาหร่ายสไปรูลิน่าให้ปลากิน...เย้ยคนรวย

', ' ในประเทศไทย สาหร่ายสไปรูลิน่า หรือ สาหร่ายเกลียวทอง รู้จักกันดี
ในการนำมา ใช้เป็นอาหารเสริม สำหรับ ผู้รักสุขภาพ ชนิดที่นิยม เพาะเลี้ยง
ในประเทศไทยมีชื่อว่า Spirulina platensis เป็น ชนิดหนึ่งของสาหร่าย
สีเขียวแกม น้ำเงินที่พบมากในน้ำจืด สาหร่ายชนิดนี้มีคลอโรฟิลล์ช่วยใน
การสังเคราะห์แสง มีลักษณะเป็นเส้นเกลียว
เจริญเติบโตได้ดีทั้งในน้ำสะอาดและน้ำเสีย
เป็นสาหร่ายเซลล์เดียวที่มีโปรตีนสูงมาก จากคุณค่าที่น่าสนใจนี้เอง
ทำให้คนเราพยายามที่จะหาวิธีเพาะเลี้ยงและเก็บเกี่ยวคล้ายๆ กับการปลูกพืช
นอกจากนี้ เซลล์ที่มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับสาหร่ายชนิดอื่นๆ
การเก็บเกี่ยวจึงทำได้ง่ายและ ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีสูง เพียงแต่ใช้
กรองด้วยผ้า ไม่ต้องใช้เครื่องปั่นตกตะกอน ดังนั้นต้นทุนการผลิตจึงต่ำ
ปัจจุบันมีการนำมาแปรรูปอัดใส่แคปซูล จำหน่ายกันด้วยสนนราคา ที่สูงลิบ
โดยหารู้ไม่ว่า ต้นทุนในการผลิตนั้น แสนถูก!!! และสาหร่ายชนิดเดียวกับ
ที่คนกิน ราคาแพงๆ นั้นเองที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เขาเพาะเลี้ยงแล้วนำไปเป็นอาหารปลา เย้ยคนมีเงินเล่นซะยังงั้นล่ะ...
ใครจะทำไม?

การเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า เป็นงานวิจัยของ รศ.เพ็ญรัตน์
หงษ์วิทยากร อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
ที่ได้นำสาหร่ายสไปรูลิน่ามาทดลอง เพาะเลี้ยงในน้ำเสีย ผสมกับสารเคมี
บางชนิด เป็นเวลา 15-20 วัน ก็สามารถ เก็บเกี่ยวได้
และเมื่อนำไปวิเคราะห์พบว่า มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะ โปรตีนสูงมาก
ใกล้ เคียงกับปลาป่น ซึ่งเป็นตัวหลักสำคัญ ในการผลิต อาหารสัตว์น้ำ
จากการทดลองนำไปเลี้ยงปลาทอง ด้วยอาหาร 3 สูตร คืออาหารผสมปลาป่น
อาหารผสม สาหร่ายสไปรูลิน่า และสาหร่ายสไปรูลิน่า ล้วนๆปรากฏว่า 2
สูตรหลังช่วยให้ปลา มีอัตราการ รอดตาย และ สีของปลาทองดีกว่าสูตรแรก
เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกับ การทดลอง ในปลาแฟนซีคาร์พ
คือช่วยเพิ่ม การเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย อัตราน้ำหนัก
และสารแคโรทีนอย ที่สะสมในเนื้อปลา ดีกว่าอาหารสำเร็จรูป จากผลการวิจัย
เราจึงสามารถใช้สาหร่าย สไปรูลิน่า ทดแทนปลาป่นได้ ทำให้ผู้เลี้ยง
ปลาสวยงาม และปลาเศรษฐกิจ ทั้งหลาย ไม่ต้องไปผูกติดกับการขึ้นๆ ลงๆ
ของราคาปลาป่น และขณะนี้ได้มีการนำมา ผลิตเป็น
รูปอาหารเม็ดสำเร็จรูปแล้วด้วย เพื่อให้ได้สัมผัสกับ งานวิจัยชิ้นนี้
ถึงในระดับปากบ่อ ทางรายการร่วมแรงร่วมใจวิจัย วิชาการเกษตร
สถานีวิทยุแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้จัดกลุ่มไป ทัศนศึกษางาน
ที่นั่น ในวันที่ 12-14 ธันวาคมที่จะถึงนี้ สนใจร่วมสังฆกรรม
โทร.0-2570-7901, 0-2570-6052 และ 0-1656-3672
ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ.

ดวงแก้ว ผุงเพิ่มตระกูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น