++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อินแปง" ตัวอย่างความยั่งยืนที่แท้จริง

', ' ในขณะที่มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง เข้าไปตัดไม้ทำลายป่า
เพียงเพื่อหวังประโยชน์ส่วนตนนั้น เราได้พบว่าอีกซอกเหลือบหนึ่ง
ยังมีกลุ่มที่รักป่าเป็นชีวิตจิตใจ คนกลุ่มที่ว่านี้เรียกขานตัวเองว่า
"อินแปง"

"อินแปง" คืออะไร? แปลตามหลักพระพุทธศาสนา คำว่า "อิน" แปลว่า ผู้ใหญ่
คำว่า "แปง" แปลว่า สร้าง ความหมายโดยรวมก็คือ
เราเป็นผู้ใหญ่เราควรสร้างสิ่งต่างๆ ไว้เพื่อลูกเพื่อหลาน
น่าจะเป็นคำแปลที่เข้าท่ามากที่สุด
ผู้เขียนได้มีโอกาส ไปนั่งร่วมวงสนทนา กับคณะกรรมการบริหารกลุ่มที่นั่น
ได้ทราบความเป็นมาจากคำบอกเล่าของ "พ่อเล็ก" หรือ นายเล็ก กุดวงศ์แก้ว
ผู้นำกลุ่มอินแปง พ่อเล็ก เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาเป็นอินแปงนั้น
เดิมทีแล้วมีชื่อว่า "กลุ่มกองทุนพันธุ์ไม้พื้นบ้าน" แต่ภายหลัง
พ่อบัวศรี ศรีสูง
ปราชญ์ชาวบ้านมหาสารคามผู้ล่วงลับไปแล้วได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "อินแปง"
มี นายธวัชชัย กุณวงษ์ อาสาสมัครเป็นผู้จัดการศูนย์"

"อินแปง" เป็นชนเผ่ากะเลิง ที่อพยพมาจากจีนตอนใต้
มาตั้งหลักปักฐานอยู่ที่ ชุมชนบ้านบัว ต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร
เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ซึ่งก่อนนี้ชาวบ้านอยู่กันอย่างเรียบง่าย
แต่เมื่อความเจริญเข้ามา ทำให้บ้านบัวและหมู่บ้านใกล้เคียง
ซึ่งตั้งอยู่ที่ตีนเขาภูพานนั้นได้ลดความอุดมสมบูรณ์ลงไปมาก
เนื่องจากชาวบ้านเข้าไปถางป่าปลูกปอปลูกมันกัน

"เมื่อมันเป็นเช่นนี้ ชาวบ้านจึงเกิดคำถามว่า
การพัฒนาที่พูดถึงกันนี้แปลก เพราะคำว่าพัฒนาน่าจะแปลว่าเจริญขึ้น ดีขึ้น
มีความสุขขึ้น แต่นี่พัฒนาอย่างไรไม่ทราบ แทนที่จะรวยขึ้น กลับจนลง
เป็นหนี้เป็นสิน ไม่มีเงินพอซื้อข้าวกิน ลูกหลานหนีเข้าเมืองไปรับจ้าง
เป็นทุกข์กันทั้งบ้านทั้งเมือง"

"อะไรที่อยู่ในป่าพอขายได้ก็เอาไปขายหมด ตั้งแต่ไม้ที่ลักลอบตัด
สัตว์ป่าที่ลอบล่า ไปถึงพืชผักป่านานาชนิด เช่น ยอดหวาย หน่อไม้ ผักหวาน
ไข่มดแดง เห็ด ผลไม้ป่า
และผักป่าทุกชนิดที่เอาไปขายได้ก็เก็บกันไปหมดไม่มีเหลือ
เก็บไม่ทันใจก็ตัดโค่นไม้ลงมา อยากได้ปลา แทนที่จะเอาแหไปทอด
เอาเบ็ดไปตกไม่ ทันใจก็เอาไฟฟ้าไปช็อต"
"เก็บกินก็น่าจะพอ แต่ถ้าหาและเก็บขายจะไม่ มีวันพอขาย หากินกันล้าง
ผลาญแบบนี้ ธรรมชาติผลิตตามไม่ทัน ไม่นานป่าก็เตียน อาหารธรรมชาติในป่า
ซึ่งเป็นตลาดหรือซุปเปอร์มาร์เกต ใหญ่ของชาวบ้านก็เริ่มร่อยหรอ
อยากได้ยอดหวายสักสองยอด ผักหวานสักกำมาแกงก็ต้องเดินเป็นครึ่งๆ วัน.."
ความคิดที่ชาวบ้านได้มาตั้งวงสนทนากัน
สิ่งเหล่านี้เองได้สะท้อนให้เห็นปัญหาที่กำลังรุนแรงขึ้น
ชาวบ้านจึงเกิดแนวความคิดร่วมกัน ในการที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
กับตนเองและชุมชน จึงได้รวมกลุ่มกันขึ้น
ช่วงแรกชาวบ้านเหล่านี้ได้ไปศึกษาดูงานการเพาะพันธุ์หวายพื้นบ้าน
แล้วกลับมาเพาะขยายพันธุ์เอง มีการจัดตั้งเป็นกองทุนกลาง มีการเลี้ยง
หมูดำเพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม โดยได้รับการสนับสนุน
จากมูลนิธิหมู่บ้าน ไปซื้อหมูมาแจก ให้แก่สมาชิกเลี้ยง
และให้ส่งลูกหมูคืนเพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่สมาชิกคนอื่นๆ ต่อไป
ซึ่งได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี

หลักการอันแน่วแน่ ในการที่จะพัฒนาชนบท
อย่างยั่งยืนในพื้นที่รอบป่าเทือกเขาภูพาน ได้ถูกสืบทอดด้วยยุทธวิธีต่างๆ
คนรุ่นใหม่ที่อยู่ในชุมชน เข้ามาทำหน้าที่ประสานงาน
ให้แก่กลุ่มอินแปงและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในท้องถิ่นมากขึ้น
โดยเริ่มประสานงานกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเกษตรกรรม (ส.ป.ก.),
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ ชุมชนที่ 3, สถาบันวิจัยและฝึกอบรม
การเกษตรสกลนคร และได้ประสานความร่วมมือกันเป็นเครือข่ายเกษตรกรรมนิเวศน์ภูพาน
โดยมีชุมชนที่เข้าร่วมเครือข่าย 22 ชุมชน จำนวน 289 คน
โดยส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืน
การศึกษาและวิจัยการขยายพันธุ์ไม้พื้นบ้านที่มีอยู่รอบเทือกเขาภูพานและการแปรรูปพืชผักผลไม้พื้นบ้าน
โดยเฉพาะไวน์มะเม่าที่ราชมงคลสกลนคร (รม.) นำมาถ่ายทอดให้แก่กลุ่ม
แม่บ้านอินแปง เวลานี้ผลิตขายทำรายได้กว่า 70,000 บาท/เดือน

ในปีต่อๆ มา กลุ่มก็เพิ่มความเข้มแข็งขึ้นไปอีก เมื่อหน่วยงานต่างๆ
ได้เข้ามาให้การสนับสนุนไม่ว่าจะเป็น การผลิตยา
สมุนไพรพื้นบ้านจากญี่ปุ่น จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวิทย์ฯ จากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (UNDP) จากกระทรวงเกษตรฯ
และจากกองทุนทางสังคม (MENU 5) ปัจจุบันเครือข่ายอินแปง
ได้ขยายเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี\'42
มีสมาชิกในเครือข่ายพื้นที่รอบป่าเทือกเขาภูพาน 3 จังหวัด คือ สกลนคร
กาฬสินธุ์ และอุดรธานี รวม 600 ครอบครัว และยังมีการขยายเครือข่าย
ต่อไปเรื่อยๆ

นับเป็นกรณีตัวอย่างของกระบวนการเรียนรู้
และการพัฒนาแบบพอเพียงและยั่งยืนที่แท้จริง การพัฒนาที่เริ่มด้วย
การสร้างปัญญา การพัฒนาที่เอาปัญญามาก่อนเงิน
from thairath

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น