++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข่าวคราวสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 ณ 14 ก.ค.2552

ข่าวคราวสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ 2009 ณ 14 ก.ค.2552


สธ. เสริมทีมผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทย์ทั่วไทย
เดินสายดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่ฯ อาการหนัก
พร้อมปฏิบัติการแล้วตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป

from MOPH-ข่าวเพื่อสื่อมวลชน by สำนักสารนิเทศ

กระทรวง สาธารณสุข เสริมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทย์ต่างๆ ทั่วประเทศ
ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ยกเป็นวาระแห่งชาติด้านการแพทย์
พร้อมเดินสายออกให้การช่วยเหลือทีมแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สาย
พันธุ์ใหม่ที่อาการหนัก ร่วมกับโรงพยาบาลในพื้นที่ทั้งรัฐและเอกชน
และผู้ตรวจราชการ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พร้อมขยายสายด่วนไข้หวัดใหญ่ฯ
เพิ่มทางหมายเลข 1422 บริการ 24 ชั่วโมง นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เปิดเผยความคืบหน้าสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช1
เอ็น1 ว่า ในวันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้รับรายงานตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน
2552 - 14 กรกฎาคม 2552
มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ รวมทั้งสิ้น 4,057 ราย
เสียชีวิตเพิ่ม 3 ราย รวมทั้งหมด 24 ราย
เฉพาะในวันนี้ได้รับรายงานผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการพบติดเชื้อไข้
หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ฯ เพิ่ม 176 ราย เสียชีวิต 3 ราย ดังนี้
รายแรกอยู่ในกทม. เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2552 เป็นหญิงอายุ 57
ปี มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวานมานานกว่า 3 ปี
น้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม เริ่มป่วยเมื่อ 5 กรกฎาคม 2552
และเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่โรงพยาบาลเอกชนวันที่ 10 กรกฎาคม 2552
ด้วยอาการไอ หอบเหนื่อย เจ็บคอ ผลการเอ็กซเรย์ปอดพบปอดอักเสบทั้ง 2 ข้าง
รายที่ 2 เป็นหญิงอายุ 67 ปี อยู่กทม. เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม
2552 ด้วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้ายและติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ
เริ่มป่วยวันที่ 5 กรกฎาคม 2552 เข้ารักษาในโรงพยาบาลรัฐเมื่อวันที่ 6
กรกฎาคม 2552 ผลการเอ็กซเรย์ปอดพบปอดบวม แพทย์ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ
และให้ยาปฏิชีวนะ แต่อาการไม่ดีขึ้น รายที่ 3 เป็นหญิงอายุ 32 ปี
อยู่จังหวัดสมุทรสาคร เสียชีวิตเช้าวันนี้ (14 กรกฏาคม 2552)
มีน้ำหนักตัว 120 กิโลกรัม มีประวัติเป็นโรคหอบหืด เริ่มป่วย 5 กรกฎาคม
2552 เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2552 ด้วยอาการไข้
ไอ หอบ ผลเอ็กซเรย์พบปอดบวม
สำหรับผู้เสียชีวิตที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นเด็กชายอายุ 7 เดือน
เริ่มป่วยเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2552 มีอาการปอดบวม เสียชีวิตเมื่อวันที่
9 กรกฎาคม 2552 ขณะนี้จัดอยู่ในข่ายผู้ป่วยสงสัย
ยังไม่ยืนยันว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯหรือไม่
ต้องรอผลการตรวจชันสูตรศพ จะทราบผลในเร็ว ๆ นี้
นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวต่อว่า ในการลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้มีน้อยที่สุด
ขณะนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ได้ร่วมกับคณบดีคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ
ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค จัดเสริมทีมผู้เชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น
เพื่อออกไปช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการวิกฤติในโรงพยาบาลทั้ง
รัฐและเอกชนทั่วประเทศเป็นการเฉพาะ
ร่วมกับผู้ตรวจราชการของกระทรวงสาธารณสุขทั้ง 19
เขตและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในสังกัดกว่า 100 แห่ง
ซึ่งคณะแพทย์ทุกคนยินดีให้ความร่วมมือช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่
และยกเป็นวาระแห่งชาติทางการแพทย์
พร้อมที่จะเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เนื่องจากในรอบ 2
เดือนที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ
ที่มีอาการหนักอยู่ในภาวะวิกฤติหลายรายสามารถรักษาให้หายได้
หากได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ เช่นรายของหญิงวัย 81
ปีที่จังหวัดพิจิตร และรายหญิงวัย 57 ปีที่ปอดบวม 2 ข้าง
และมีปัญหาหลอดลมฉีกขาดก็หายเป็นปกติแล้ว -
ทั้งนี้ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวประกอบด้วย แพทย์ด้านโรคปอด
โรคติดเชื้อและแพทย์เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติ
แบ่งการทำงานดังนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลดูแลภาคใต้ตอนบน
ตั้งแต่จังหวัดนครปฐมถึงประจวบคีรีขันธ์
คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดูแลภาคตะวันออกทั้งหมด
คณะแพทยศาสตร์รพ.รามาธิบดีดูแลส่วนภาคเหนือ เริ่มจากสระบุรีถึงนครสวรรค์
คณะแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น นเรศวร เชียงใหม่ สงขลานครินทร์
ดูแลในพื้นที่ใกล้เคียง และยังมีคณะแพทย์จากวชิระพยาบาล กทม. และกองทัพบก
ที่จะให้การสนับสนุนร่วมทีมดูแลผู้ป่วยด้วย อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากขณะนี้ประชาชนมีความต้องการข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว
จำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุข
ได้ขยายบริการสายด่วนบริการตอบข้อสงสัยประชาชนเพิ่มจากหมายเลข 0 2590
3333 อีก 1 หมายเลข คือ 1422 จำนวน 10 คู่สาย ให้บริการ 24 ชั่วโมง
สำหรับสถานการณ์ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 6
กรกฎาคม 2552 มีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุใหม่ใน 136 ประเทศ รวม
94,512 ราย เสียชีวิต 429 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.45
ประเทศที่มีรายงานตายมากที่สุดได้แก่ สหรัฐอเมริกา 170 ราย เม็กซิโก 119
ราย อาเจนติน่า 60 ราย แคนาดา 25 ราย

<----
สธ. ยันผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการหนักรักษาตัวที่ร.พ.นพรัตน์ฯ 5 ราย
อาการปลอดภัยกลับบ้านได้แล้ว

from MOPH-ข่าวเพื่อสื่อมวลชน by สำนักสารนิเทศ

รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยันผู้ป่วยอาการหนัก 5
รายที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯและรักษาที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
ขณะนี้รักษาหาย อาการปลอดภัยแพทย์ให้กลับบ้านได้แล้ว
ส่วนมาตรการการควบคุมร้านเกม รร.กวดวิชา ที่อยู่ระบบได้ข้อยุติแล้ว
ได้รับความร่วมมือจากเจ้าของสถานประกอบการอย่างดี
เร่งจัดระเบียบส่วนที่อยู่นอกระบบที่มีกว่าสองหมื่นแห่งทั่วประเทศ
ให้เข้าสู่ระบบเดียวกัน นายวิทยา แก้วภราดัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์เรวัต วิศรุตเวช
อธิบดีกรมการแพทย์ เยี่ยมผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช 1
เอ็น 1 จำนวน 5 ราย
ที่มีอาการหนักและพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กทม.
ซึ่งในวันนี้ทุกรายได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติทั้งหมด สามารถกลับบ้านได้
ซึ่งในผู้ป่วยอาการหนักทั้ง 5 ราย มี 4 รายที่มีโรคประจำตัว ได้แก่
หญิงตั้งครรภ์ 3 เดือนและเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคถุงลมโป่งพอง
วัณโรค และเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จนหายเป็นปกติ
และกลับบ้านได้ เหลือเพียงโรคประจำตัวที่ต้องดูแลต่อไป นายวิทยา กล่าวว่า
ในวันนี้ ผู้แทนจากสมาคมโรงเรียนกวดวิชา
ได้มาเข้าพบหารือมาตรการในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรค
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1 ในโรงเรียนกวดวิชา
ซึ่งพร้อมจะให้ความร่วมมือในการสร้างระบบการป้องกันโรคให้ได้มาตรฐาน
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ ได้แก่ 1.เด็กที่ป่วยไม่ต้องให้เข้าเรียน
2.ก่อนเข้าเรียนให้วัดไข้นักเรียนทุกคน หากมีไข้ให้กลับบ้าน
3.ล้างมือด้วยเจลก่อนเข้าเรียน
4.ระหว่างเรียนสวมหน้ากากอนามัยทั้งเด็กและครูที่สอน
4.ล้างมือด้วยเจลก่อนกลับบ้าน
หากทำได้จะเป็นการป้องกันเทียบเท่ามาตรฐานโรงพยาบาล
และกระทรวงสาธารณสุขพร้อมจะปรับลดเวลาการปิดโรงเรียนให้น้อยลง
โดยในวันพรุ่งนี้จะได้ชี้แจงให้ครม.ทราบแนวทางการปฎิบัติในเบื้องต้น
และในรายละเอียดต้องรอการประชุมระหว่างกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงศึกษาธิการและสมาคมโรงเรียนกวดวิชา ในวันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฏาคม
2552 นี้ก่อน นายวิทยากล่าวต่อว่า
ที่เป็นห่วงคือโรงเรียนกวดวิชาที่อยู่นอกระบบ
กระทรวงศึกษาธิการต้องเข้ามากวดขันดูแล รวมทั้งร้านเกมที่มีอยู่ประมาณ 5
หมื่นแห่งซึ่งร้อยละ 50 อยู่นอกระบบการดูแลของกระทรวงวัฒนธรรม
จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจจะเป็นกระทรวงมหาดไทยหรือ
อื่นๆ เข้ามาดำเนินการ เพื่อให้เข้าสู่ระบบเดียวกัน
ผู้ใช้บริการมีความมั่นใจ
และไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ทั้งนี้
หากการวางมาตรการป้องกันโรคในโรงเรียนกวดวิชาสำเร็จ
จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่สังคม โดยในวันพรุ่งนี้ 14 กรกฏาคม 2552 เวลา
13.00 น. จะมีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมสถานการณ์
การระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ที่ทำเนียบรัฐบาลด้วย
จะมีการนำเสนอมาตรการเรื่องนี้ในที่ประชุมด้วย
**************************** 13 กรกฏาคม 2552

<----

รมช.สธ. เยี่ยมชมระบบคัดกรองเด็กป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ของโรงเรียน

from MOPH-ข่าวเพื่อสื่อมวลชน by สำนักสารนิเทศ

รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เยี่ยมชมระบบการคัดกรองเด็กป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ในโรงเรียน
เพื่อสกัดกั้นหากมีการระบาดของโรค
ชี้หากพบเด็กป่วยให้ครูพาไปพบแพทย์โรงพยาบาล และแจ้งผู้ปกครองไปรับ
ให้พักอยู่บ้านจนกว่าหาย
พร้อมประสานกระทรวงศึกษาธิการไม่นับเป็นวันขาดเรียน เช้าวันนี้ (13
กรกฎาคม 2552) นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เดินทางไปตรวจเยี่ยมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
และเยี่ยมชมระบบคัดกรองเด็กป่วย ที่โรงเรียนปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี นายมานิต ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมว่า
ในวันนี้ได้ไปให้ความรู้การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ หน้าเสาธง
และให้โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนนำร่องในการคัดกรองเด็กป่วยไข้หวัดใหญ่สาย
พันธุ์ใหม่ 2009
โดยให้ครูประจำชั้นช่วยคัดกรองเด็กนักเรียนทุกคนทั้งเช้าและบ่ายก่อนเข้า
ชั้นเรียน และให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการวัดไข้
โดยได้สนับสนุนปรอทวัดไข้ให้โรงเรียนด้วย เมื่อพบเด็กป่วยเป็นหวัด มีไข้
ไอ ทางโรงเรียนจะส่งเด็กไปให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดที่โรงพยาบาล
และจะติดต่อผู้ปกครองมารับเด็กที่โรงพยาบาล
พร้อมทั้งให้คำแนะนำผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ
และในช่วงหยุดเรียน จะประสานงานกระทรวงศึกษาธิการไม่นับเป็นวันขาดเรียน
จะให้โรงเรียนสอนชดเชยในวันเสาร์-อาทิตย์เพื่อให้เรียนทันเพื่อนๆ
โดยจะขยายผลวิธีคัดกรองนี้ในโรงเรียน ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ทุกโรงเรียนหากพบเด็กป่วยเป็นไข้หวัดจะรายงานเด็กป่วยไปที่สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษานั้นๆ ด้วย *********************************** 13
กรกฎาคม 2552

<----

สธ. คุมเข้มเจลล้างมือ หากพบปลอมแปลง จะลงโทษขั้นเด็ดขาด

from MOPH-ข่าวเพื่อสื่อมวลชน by สำนักสารนิเทศ

รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข
สั่งอย.และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ คุมเข้มเจลล้างมือ
หากพบมีการปลอมแปลงจะลงโทษขั้นเด็ดขาด โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ชี้การใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันแพร่เชื้อ
ขณะโดยสารรถสาธารณะหรืออยู่ในที่สาธารณะ เป็นสิ่งที่ดี
ถือว่าผู้ใส่เป็นฮีโร่ ไม่ใช่บุคคลอันตราย สามารถโดยสารรถได้ตามปกติ
จากกรณีมีกระแสข่าวว่า มีผู้โดยสารรถตู้ที่ใส่หน้ากากอนามัย
ร้องเรียนว่าถูกกีดกันไม่ให้โดยสารรถ หากจะโดยสารให้ถอดหน้ากากอนามัยออก
เพื่อไม่ให้ผู้โดยสารรายอื่นหวาดกลัวนั้น ความคืบหน้าเรื่องดังกล่าว
นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า
การใส่หน้ากากอนามัย โดยเฉพาะในรายที่มีอาการของไข้หวัด ไอ มีน้ำมูก
เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่น เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องที่สุด
ถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม ไม่ใช่เป็นบุคคลอันตราย
สามารถใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับคนที่ไม่ป่วยได้ตามปกติ
จึงขอความร่วมมือผู้ประกอบการรถตู้ รถโดยสารทุกชนิด
อย่ากีดกันผู้ใส่หน้ากากอนามัยไมให้โดยสารรถ
เพราะการไม่ใส่หน้ากากอนามัยระหว่างที่เป็นไข้หวัด
จะสามารถแพร่เชื้อสู่บุคคลรอบข้างได้ ทั้งนี้ ได้ประสานกรมการขนส่ง
กระทรวงคมนาคม สนับสนุนหน้ากากอนามัยให้ผู้ประกอบการรถตู้
และขอความร่วมมือไม่ให้มีการกีดกันผู้ใส่หน้ากากอนามัยขึ้นรถโดยสาร
รวมทั้งให้มีการทำความสะอาดเบาะนั่ง มือจับที่ประตู
ด้วยน้ำผสมผงซักฟอกทั่วไป ก่อนวิ่งรับผู้โดยสารด้วย นายวิทยา
กล่าวต่อไปว่า ที่น่าห่วงอีกประการหนึ่งคือ
มีการผลิตเจลแอลกอฮอล์ปลอมออกมาวางขาย
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง
เพราะการล้างมือเป็นวิธีการกำจัดเชื้อโรคทุกชนิดไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย
ที่ได้ผลกว่าร้อยละ 80 โดยเฉพาะเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ
จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการพบว่า ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่
ติดมาจากการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนในสารคัดหลั่งของผู้ป่วยทางมือ
มากกว่าการติดทางการหายใจ
ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้เน้นมาตรการการใส่หน้ากากอนามัยและการล้างมือ
เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการต่อสู้ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สาย
พันธุ์ใหม่ฯ โดยสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ออกตรวจสอบและสอดส่อง
หากพบมีการทำผิดให้ลงโทษอย่างเด็ดขาด ด้านนายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า
ผลิตภัณฑ์ล้างมือที่ไม่ต้องใช้น้ำ มีทั้งแบบที่เป็นเจลและแบบสเปรย์
หากต้องการประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ ต้องเลือกที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม
ควรเลือกซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอนเชื่อถือได้
เพราะหากมีปัญหาสามารถติดต่อหาผู้รับผิดชอบได้ และต้องมีฉลากภาษาไทย
แสดงชื่อผลิตภัณฑ์ สารที่ใช้เป็นส่วนผสม
ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า วันเดือนปีที่ผลิต
วิธีใช้และปริมาณสุทธิ ทั้งนี้ ผู้ที่ผลิตเจลหรือสเปรย์ปลอม
จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ
***********************************13 กรกฎาคม 2552
<----

สธ.เร่งตรวจสอบข้อมูลผู้มีโรคประจำตัว 2.4 ล้านคน กลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่
2009 ให้เสร็จเร็วที่สุด

from MOPH-ข่าวเพื่อสื่อมวลชน by สำนักสารนิเทศ

กระทรวง สาธารณสุข เร่งตรวจสอบข้อมูลผู้มีโรคประจำตัว
ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ซึ่งมีประมาณ 2.4 ล้านคน
ให้เสร็จเร็วที่สุด
เพื่อจัดลำดับความจำเป็นที่ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์
ใหม่ฯ พร้อมทั้งเปิดสายด่วนหมายเลข 1422 อีก 10 คู่สาย บริการตลอด 24
ชั่วโมง นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เปิดเผยความคืบหน้าสถานการณ์ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ของไทย
ว่า ตั้งแต่ 28 เมษายน 2552-13 กรกฎาคม 2552 มีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 3,883
ราย เสียชีวิต 21 ราย
เฉพาะวันนี้ได้รับรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการยืนยันผู้ป่วยรายใหม่
328 ราย มีผู้ป่วยอาการหนักต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด 10 ราย
โดยผู้เสียชีวิตที่ได้รับรายงานวันนี้ 3 ราย
ล้วนเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ดังนี้ รายที่ 19
เป็นชาย อายุ 13 ปี น้ำหนักตัว 120 กิโลกรัม
ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกทม. เมื่อ 29 มิถุนายน 2552
แพทย์ให้ยาและให้สังเกตอาการที่บ้าน ต่อมาวันที่ 3 กรกฎาคม 2552
อาการหนักขึ้น ตรวจพบมีปอดอักเสบรุนแรง และเสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 6
กรกฎาคม 2552 ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ
กระทรวงสาธารณสุขได้รับรายงานเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2552 รายที่ 20
เป็นหญิงอายุ 53 ปี อยู่กทม. เริ่มป่วยมีไข้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552
ไปรับการรักษาที่คลินิก ต่อมาไข้สูง หายใจหอบ
ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน แพทย์ตรวจพบปอดอักเสบรุนแรงทั้ง 2 ข้าง
รับไว้รักษาในโรงพยาบาล และเสียชีวิตในวันที่ 12 กรกฎาคม 2552
ผู้เสียชีวิตรายนี้มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาหลายปี รายที่ 21
เป็นหญิง อายุ 46 ปี อยู่จังหวัดสกลนคร
มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมา 6 ปี
เริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2552
แต่ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลชุมชนด้วยอาการไข้สูง ไอ หายใจติดขับ
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2552 เอ็กซ์เรย์พบปอดบวม
ส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลศูนย์วันที่ 11 กรกฎาคม 2552 ต่อมาอาการทรุดลง
เสียชีวิตวันที่ 12 กรกฎาคม 2552 นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า
ในวันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งรัดจัดทำข้อมูลรายชื่อผู้มีโรคประจำตัว
2.4 ล้านคน ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจะเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรง
หากป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ
ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์
ใหม่ฯ ก่อน โดยมอบให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขทั้ง 19 เขต
รวบรวมจากสถานพยาบาลในพื้นที่รับผิดชอบ และตรวจสอบกับฐานข้อมูลของสปสช.
ซึ่งจะทำให้ผู้ที่มีโรคประจำตัวกลุ่มนี้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง
โดยให้แล้วเสร็จเร็วที่สุด เพื่อให้ความรู้
คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ผู้ที่มีโรคประจำตัว
และให้ทันเวลาที่การทดสอบวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ เสร็จสิ้น
พร้อมฉีดให้กับกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนต่อไป
เนื่องจากขณะนี้มีประชาชนสอบถามข้อมูลโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ
ทางหมายเลข 0-2590-1994 และ 0-2590-3333 วันละกว่า 500
ส่วนใหญ่ถามเรื่องอาการ วิธีป้องกัน การรักษาพยาบาล และวัคซีน
แสดงให้เห็นว่าประชาชนให้ความสนใจและต้องการข้อมูลที่หลากหลาย
กระทรวงสาธารณสุขจึงเปิดสายด่วนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ เพิ่มอีก 10
คู่สายทางหมายเลข 1422 และให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ
จัดบริการสอบถามข้อมูลทางโทรศัพท์แก่ประชาชนในพื้นที่ร่วมด้วย
**************************************13 กรกฎาคม 2552
<----

สธ.เตือนผู้ปกครองดูแลสุขภาพป้องกันโรคเต็มที่
หวั่นเป็นกลุ่มติดเชื้อต่อจากเด็กนักเรียน

from MOPH-ข่าวเพื่อสื่อมวลชน by สำนักสารนิเทศ

รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เตือนผู้ปกครองอาจเป็นกลุ่มติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
กลุ่มต่อไปจากเด็กนักเรียน เน้นย้ำให้ดูแลสุขภาพ
ป้องกันไม่ให้ติดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จากนักเรียนที่ป่วยและพักรักษา
ตัวที่บ้าน และในวันพฤหัสบดีนี้
จะประชุมกับกระทรวงศึกษาธิการและโรงเรียนกวดวิชากว่า 300 แห่ง
วางมาตรการป้องกันโรค วันนี้ (13 กรกฎาคม 2552) นายวิทยา แก้วภราดัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ปราชญ์
บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เยี่ยมผู้ป่วยเด็กที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ
ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรุงเทพฯ
และเปิดการรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลใส่หน้ากากอนามัย
ที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี นายวิทยา กล่าวว่า
กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการรณรงค์ 2 ส่วน
เพื่อช่วยชะลอการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ
เป็นการเสริมสร้างทางวินัย
โดยให้เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ
สวมหน้ากากอนามัย
รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยในโรงพยาบาลด้วย
เพื่อลดการติดเชื้อมาสู่บุคลากรทางการแพทย์
และป้องกันการแพร่เชื้อให้ผู้มารับบริการด้วยกัน
อีกส่วนหนึ่งได้ขอความร่วมมือไปยังกระทรวงศึกษาธิการ
ให้โรงเรียนทุกแห่งคัดกรองเด็กที่ป่วยหน้าเสาธง หากพบเด็กป่วยให้กลับบ้าน
และให้หลักประกันในเรื่องการเรียนเพื่อลดความกังวลของเด็กและผู้ปกครองหาก
หยุดเรียน เมื่อเข้าห้องเรียนให้ครูประจำชั้นร่วมกับแพทย์พยาบาลที่ประจำในโรงเรียน
โรงเรียนใดที่ไม่มีก็จะจัดแพทย์พยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข
เข้าไปช่วยในการคัดกรองเด็กอีกครั้ง "เมื่อเด็กกลับไปพักที่บ้าน
ต้องระมัดระวังไม่ให้มีการติดเชื้อเพิ่มในบ้าน
เนื่องจากนักระบาดวิทยาคาดการณ์ว่า
ผู้ติดเชื้อกลุ่มต่อไปจะเป็นกลุ่มผู้ปกครอง หากไม่มีการป้องกันตัวที่ดี
จึงขอให้ผู้ปกครองดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ
เช็ดทำความสะอาดบ้านเรือน แยกของใช้ไม่ให้ปะปนกัน เช่น แก้วน้ำ
ผ้าเช็ดตัว ใช้ช้อนกลางตักอาหาร และให้เด็กที่ป่วยคาดหน้ากากอนามัย
ล้างมือฟอกสบู่บ่อยๆ ไม่คลุกคลีกับสมาชิกในครอบครัว" นายวิทยากล่าว
นายวิทยา กล่าวต่อว่า
ขณะนี้พบว่าประชาชนตอบรับการใส่หน้ากากอนามัยมากขึ้น
โดยเฉพาะในกรณีคอนเสิร์ต
มีผู้เข้าชมคอนเสิร์ตใส่เพิ่มจากอาทิตย์ที่ผ่านมา ร้อยละ 30 เป็นร้อยละ
70 ในอาทิตย์นี้ นับเป็นสัญญาณที่ดีมาก
ต้องขอความร่วมมือจากผู้จัดคอนเสิร์ตทุกครั้งด้วย
พรุ่งนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการระดับชาติ ที่พลตรีสนั่น ขจรประศาสตร์
เป็นประธาน ที่ทำเนียบรัฐบาล ก็จะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมด้วย
สำหรับมาตรการที่ให้ปิดสถาบันกวดวิชาเป็นเวลา 2 สัปดาห์นั้น
ยืนยันว่ากระทรวงสาธารณสุขได้ระมัดระวังในการใช้มาตรการต่างๆ
ซึ่งแต่ละขั้นตอนนักระบาดวิทยาได้กำหนดความรุนแรง
และต้องดูว่าความรุนแรงที่อยู่ในระดับใดที่จะสามารถประกาศใช้มาตรการบังคับ
ใช้กฎหมายได้ ขณะนี้ความรุนแรงของการระบาดในประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 2
ใช้มาตรการความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งนี้
จากการหารือกับนายกสมาคมครูและนักเรียน โรงเรียนกวดวิชาและตัวแทน
เมื่อเช้าวันนี้ ได้ข้อสรุปว่า
จะมีการจัดทำมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคและมาตรการที่ชัดเจนร่วมกัน
ซึ่งจะประชุมในวันพฤหัสบดีนี้ ระหว่างสาธารณสุข ศึกษาธิการ
และโรงเรียนกวดวิชาที่อยู่ในกทม.และปริมณฑล กว่า 300 แห่ง
ที่กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งหากโรงเรียนทั้งในระบบและนอกระบบ
ดำเนินการป้องกันได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
คาดว่าจะไม่ต้องปิดโรงเรียนในระบบหรือโรงเรียนกวดวิชาอีกต่อไป
*******************************13 กรกฎาคม 2552
<---

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น