++

...+

Theขี้ฝุ่นริมทาง

วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

เกือบทศวรรษกับ"ปลากัดไทย\'\' จุดตลาดงานอดิเรกกลายเป็นอาชีพเสริม

ช่วงนี้บรรดาเซียนปลาทั้งหลาย คง กำลังขะมักเขม้นขุนปลาสวยงาม เพื่อเตรียมส่งเข้าประกวดในงาน "วันประมงน้อมเกล้าฯ" ที่จะมีขึ้นในระหว่าง 7-15 มิ.ย.46 ณ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งเวลาก็งวดเข้ามาทุกที ฉะนั้นวันนี้ขอเขียนถึงภาพกว้างของ "ปลากัด" ปลาที่ยังคงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันสักวัน ปลากัดแบ่งง่ายๆ ออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ "กัดหม้อ" กับ"กัดจีน" การพัฒนาพันธุ์ส่วน ใหญ่ใช้วิธีการ ผสมพันธุ์เองโดยการเลือกลักษณะปลา วงจรชีวิตของปลาชนิดนี้อยู่ได้ประมาณ 2 ปี ซึ่งหากให้ ข้อมูลอย่างนี้คงจะไม่มีอะไรให้ตื่นเต้น แต่ถ้าบอกว่า เวลานี้คนไทยสามารถพัฒนาปลากัดได้เท่าเทียมกับต่างประเทศแล้ว คงทำให้หลายคนตื่นตัวขึ้นอีกเยอะ โดยถ้าใครมีโอกาสแวะเวียนไปชม การประกวดปลาสวยงามที่คณะประมง ในงานวันเกษตร แห่งชาติปี\'46 ที่ผ่านมา ก็จะเห็นว่าจริงตามที่ รศ.ดร.ยนต์ มุกสิ คณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ข้อมูลไว้ คือปลาที่ส่งเข้าประกวด มีการพัฒนาไปมากทั้งรูปร่าง และสีสันความสวยงาม ต่างจากเมื่อสิบปีก่อน ทั้งนี้ อาจเพราะมีผู้ให้ ความสนใจ พัฒนาสายพันธุ์กันจริงจัง ทำให้ปลากัดไทยก้าวไปเทียบชั้น กับต่างประเทศได้สบาย และเมื่อสวยขึ้น ราคาก็ย่อม ขยับตามไปด้วย จากเคยขายกันตัวละ 2-3 บาท ก็ขึ้นเป็นพันเป็นหมื่น ราคาเฉลี่ยเวลานี้ 100-200 บาท โดยส่วนใหญ่เป็นลูก ผสม

รศ.ดร.ยนต์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะสม เรามีศักยภาพที่จะผลิตส่งออกได้ ปัจจุบัน สหภาพยุโรป อเมริกา สิงคโปร์ ยังต้องนำเข้าจากไทย จะเห็นว่าตลาดยังเปิดกว้างอีกมาก ต่างประเทศนิยมซื้อไปเลี้ยงดูเล่น เพราะนอกจากจะมีสีสันสวย แสดงอารมณ์ด้วยการเปลี่ยนสีแล้ว ยังเลี้ยงง่ายตายยากอีกด้วย และหากมองภาพรวมของ อุตสาหกรรมปลาสวยงามทั้งระบบ มีมูลค่าเป็นหมื่นๆ ล้านบาท ช่วงสองสามปีที่ผ่านมา "ปลากัด" เป็นอีกหนึ่ง ชีวิตที่เข้ามาปลุกวงการปลาสวยงามให้คึกคัก จนทำให้เกิดเซียนปลามือใหม่อีกหลายราย และจากที่จุดตลาดเลี้ยงเป็นงาน อดิเรก ก็กลายมาเป็นอาชีพเสริม ประเดิมรายได้ให้กับรายเล็กๆ ไม่ มากไม่น้อย แค่อาทิตย์ละแสนกว่าบาทเท่านั้น!!!

ดวงแก้ว ผุงเพิ่มตระกูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น